สถานการณ์ของภาวะไขมันพอกตับและความสัมพันธ์กับภาวะอ้วน ในประชาชนอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • บัณฑิต พิทักษ์

บทคัดย่อ

บทนำ : ภาวะไขมันพอกตับ (fatty liver) เป็นการสะสมไขมันในตับ บ่งชี้ถึงปัญหาสุขภาพด้านอื่นๆ และเป็นสาเหตุของโรคตับเรื้อรังที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงจากไขมันพอกตับ ซึ่งภาวะดังกล่าวมีอุบัติการณ์และความชุกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันที่ก่อให้เกิดปัญหาสาธารณสุขทั่วโลก

วัตถุประสงค์ : การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสถานการณ์ของภาวะไขมันพอกตับและความสัมพันธ์กับภาวะอ้วนในประชาชนที่อาศัยอยู่ในอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม

วิธีการศึกษา : รูปแบบการศึกษา cross-sectional study โดยใช้ข้อมูลจากแบบบันทึกข้อมูลในประชาชนอายุ 40 ปี ขึ้นไปที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลบรบือ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2559 ถึง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2559 จำนวน 3,280 คน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีเลือกแบบเจาะจงได้จำนวน 329 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกการ ทบทวนเวชระเบียนของผู้ป่วย และแบบบันทึกผลการตรวจด้วยทำการอัลตราซาวด์ โดยทีมแพทย์โรงพยาบาลบรบือ วิเคราะห์ ความสัมพันธ์กับภาวะอ้วนและควบคุมผลกระทบจากปัจจัยอื่นๆที่มีผล โดยใช้สถิติ multiple logistic regression รายงานผลด้วยค่า Adjusted OR และ 95% ช่วงความเชื่อมั่น

ผลการศึกษา : ประชากรกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป จำนวน 329 ราย พบภาวะไขมันพอกตับถึง ร้อยละ 37.7 ผลการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์คราวละหลายปัจจัยโดยใช้สถิติ multiple logistic regression พบว่า หลังจากควบคุมผลของปัจจัยด้านอายุ เพศ การเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูงและโรคตับอักเสบ ผลคือ ภาวะอ้วนสัมพันธ์
กับการเกิดภาวะไขมันพอกตับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Adj.OR = 3.56, 95%CI = 2.14 to 5.91, P-value<0.001)

สรุปและข้อเสนอแนะ : จากการศึกษาพบว่าภาวะอ้วนมีความสัมพันธ์อย่างมากในการเกิดภาวะไขมันพอกตับ ซึ่งจะนำมาซึ่งโรคเรื้อรังอื่นๆ จากข้อมูลครั้งนี้ควรมีการกำหนดนโยบายทางสาธารณสุขในการตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงนี้เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อไป

คำสำคัญ : ภาวะไขมันพอกตับ ภาวะอ้วน

 

References

Francque S, Graaff DV &Kwanten WJ.Nonalcoholic fatty liver disease and cardiovascular risk: Pathophysiological mechanisms and implications. Journal of Hepatology. 2016; 65: 425-443.

Kim JY, Lee C, Oh M, Im JA, Lee JW, Chu SH, Lee W &Jeon JY.Relationship between nonalcoholic fatty liver disease, metabolic syndrome and insulin resistance in Korean
adults: A cross-sectional study. ClinicaChimicaActa. 2016; 458: 12 - 17.

ณัฐฐาภคณิตา รพีพงษ์พัฒนา, มาศ ไม้ประเสริฐ, พัฒนาเต็งอำนวน. อุบัติการณ์ของภาวะไขมันพอกตับและความสัมพันธ์กับกลุ่มภาวะเมตะบอลิกในประชากรไทยที่รับการตรวจร่างกายที่โรงพยาบาลพญาไท 2 กรุงเทพฯ. [ออนไลน์] 2554 [อ้างเมื่อ 9 พฤษภาคม 2560].จากhttp://www.mfu.ac.th/school/anti-aging/File_PDF/Research_PDF54/4.pdf.

Wong VW. Nonalcoholic fatty liver disease in Asia: a story ofgrowth. J GastroenterolHepatol. 2013;28:18-23.

Lazo M, Hernaez R, Eberhardt MS, Bonekamp S, Kamel I, Gual-lar E, et al. Prevalence of nonalcoholic fatty liver disease in theUnited States: the Third National Health and Nutrition Exami-nation Survey, 1988-1994. Am J Epidemiol. 2013;178:38 - 45.

Vernon G, Baranova A, Younossi ZM. Systematic review: the epidemiology andnatural history of non-alcoholic fatty liver disease and nonalcoholic steatohepatitisin adults, Aliment. Pharmacol.Ther. 34 (2011) 274–285.

Huang HL, Lin WL, Lee LT, Wang HH, Lee WJ &Huang KC. Metabolic syndromeis related to nonalcoholic steatohepatitis in severely obese subjects, Obes. Surg. 2007; 17:
1457 - 1463.

Baharvand-Ahmadi B, Sharifi K &Namdari M. Prevalence of non-alcoholic fatty liver disease in patients withcoronary artery disease. ARYA Atheroscler. 2016; 12(4):
201 - 205.

Chen CH, Huang MH, Yang JC, Nien CK, Yang CC, Yeh YH and Yueh SK. Prevalence and risk factors of nonalcoholic fatty liver disease in an adult population of taiwan: metabolic significance of nonalcoholic fatty liver disease in nonobese adults.J ClinGastroenterol. 2006; 40(8):745-752.

Petrovic G, Bjelakovic G, Stojanov DB,Nagorni A, Brzacki V &Markovic-Zivkovic B.Obesity and metabolic syndrome as risk factors for the development of non-alcoholic fatty liver disease as diagnosed by ultrasound. Vojnosanit Pregl. 2016; 73(10): 910–920.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-15