ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฏีแรงสนับสนุนทางสังคม ด้วยทีมสหวิชาชีพในการจัดการรายกรณีเพื่อดูแลผู้ป่วยภายใต้คลินิกเบาหวาน ที่ควบคุมยาก โรงพยาบาลโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ณัฐวุฒิ มาสาซ้าย
  • จุฑามาศ มุสิกสูตร

บทคัดย่อ

เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสำคัญ ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตและภาวะเศรษฐกิจ ผู้ป่วยและครอบครัวควรได้รับความรู้ข้อมูลอย่างเพียงพอ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม1

วัตถุประสงค์ของการศึกษา : เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษา

วิธีวิจัย : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ด้วยการประยุกต์ใช้ทฤษฏีแรงสนับสนุนทางสังคมโดยทีมสหวิชาชีพในการจัดการรายกรณีเพื่อดูแลผู้ป่วยภายใต้คลินิกเบาหวานที่ควบคุมยาก โรงพยาบาลโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 83 คน ประกอบด้วยการ ให้ความรู้การออกกาลังกาย ภาวะโภชนาการ การใช้ยาและ
นาฬิกาชีวิตโดยเข้าร่วมกิจกรรมทุกเดือน ใน 6 เดือนแรกและทุกๆ 2 เดือน จำนวน 3 ครั้ง มีการตรวจระดับ HbA1 C ในเดือน ที่ 1, 6, 12 ดำเนินการ ตุลาคม 2556 - กันยายน 2559 เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.87 และแบบบันทึกผลตรวจ HbA1 C สถิติที่ใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired t - test กำหนดนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ 0.052

ผลการศึกษา : หลังได้รับโปรแกรมกลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 93.98 มีพฤติกรรมการดูแลตนเองมากขึ้นอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ(p<0.001) ไม่มีภาวะซึมเศร้าร้อยละ93.98ถึงแม้ว่าระดับ HbA1 C
ลดลงอย่างไม่มีนัยสาคัญทางสถิติแต่พบว่าแนวโน้มระดับ HbA1 C ดีขึ้นเรื่อย ๆ มากถึง ร้อยละ 25.3

คำสำคัญ : โปรแกรมสุขศึกษา, แรงสนับสนุนทางสังคม, การจัดการรายกรณีโดยทีมสหวิชาชีพ

 

References

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2557.กรุงเทพมหานคร : หจก.อรุณการพิมพ์; 2557

สุมัทนา กลางคารและวรพจน์ พรหมสัตยพรต. หลักการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 6. มหาสารคาม :สารคามการพิมพ์-สารคามเปเปอร์ ; 2553.

ชื่นพันธ์ วิริยะวิภาค. สถานการณ์โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเขตสุขภาพที่ 7. www.healtharea.net/wp-content/uploads/2015/08/6-NCD_58.ppsx. (สืบค้นเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2556).

ระพีพรวาโยบุตร, พิมภาสุตรา.การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน บ้านหนองโดนอาเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. ํ วารสารกองการ พยาบาล; ปีที่41ฉบับที่2 พฤษภาคม -สิงหาคม 2557 : 72 - 83.

โรงพยาบาลโกสุมพิสัย.สรุปรายงานผลการดำเนินงานคลินิกโรคเรื้อรัง. มหาสารคาม : โรงพยาบาล โกสุมพิสัย ; 2556.

ยุทธกร ชมวงษ์. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการดูแลตนเองและแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาโส่ อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร. (ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต) .มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2555.

จิรัชญา ไขประภาย. การประยุกต์ใช้กระบวนการกลุ่มร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ตำบลสร้างค้ำ อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร. (ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ; 2555.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-15