การศึกษาเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นของหัวใจระหว่างการใช้ atropine 0.75 มก และ glycopyrrolate 0.5 มก. ร่วมกับ neostigmine 2.5 มก. ในการแก้ฤทธิ์ยาหย่อนกล้ามเนื้อกลุ่ม non-depolarized

ผู้แต่ง

  • ขนิษฐา นาครินทร์
  • นิยดา ไปใกล้
  • วิชุดา ภาโนมัย

บทคัดย่อ

บทนำ : การระงับความรูสึกแบบทั่วไปนั้น มีการใช้ยาหย่อนกล้ามเนื้อกลุ่ม non-depolarized ร่วมด้วย (Balanced general anesthesia) เมื่อการผ่าตัดเสร็จสิ้น ยาหย่อนกล้ามเนื้อจะถูกทำให้หมดฤทธิ์ไป โดยใช้ยากลุ่ม anticholinesterase ได้แก่ neostigmine 2.5 มก. ร่วมกับ atropine 1.2 มก. หรือ glycopyrrolate 0.5 มก. atropine ขนาดสูงทำให้เกิดหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะเกิดอันตรายได้ แต่ glycopyrrolate มีราคาสูงและในโรงพยาบาลบางแห่งไม่มี glycopyrrolate

วัตถุประสงค์ : วัตถุประสงค์หลัก เพื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นของหัวใจหลังได้รับการแก้ฤทธิ์ยา หย่อนกล้ามเนื้อด้วย atropine 0.75 มก. และ glycopyrrolate 0.5 มก. ร่วมกับ neostigmine 2.5 มก. วัตถุประสงค์รอง เพื่อเปรื่ยบเทียบปริมาณสารคัดหลั่งในช่องปาก อุบัตการณ์การเกิดภาวะหัวใจเตันผิดจังหวะและผลต่อความดันเลือดของทั้งสองกลุ่ม

วิธีการศึกษา : ศึกษาแบบสุ่มไปข้างหน้า อำพรางสองฝ่ายและมีกลุ่มควบคุม (prospective randomized double-blind controlled trial) ในผู้ป่วยอายุ 18-64 ป ASA classification   1 - 2 ที่มารับการผ่าตัดแบบไม่เร่งด่วน ในโรงพยาบาลกุมภวาปี ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 2562 จํานวน 60 คน กลุุ่มละ 30 คน ได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วไปและได้รับยาหย่อนกล้ามเนื้อกลุ่ม non-depolarized แบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มที่ได้รับ atropine 0.75 mg และ glycopyrrolate 0.5 mg ร่วมกับ neostigmine 2.5 mg เพื่อแก้ฤทธิ์ยาหย่อนกล้ามเนื้อ บันทึกอัตราการเต้นของหัวใจและความดันเลือดทุก 1 นาที เป็นเวลา 10 นาที จากนั้นบันทึกทุก 5 นาที จนครบ 60 นาที

ผลการศึกษา : การเปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นของหัวใจเฉลี่ยของกลุ่มที่ได้รับ atropine 0.75 มก. มีการเปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นของหัวใจน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับ glycopyrrolate 0.5 มก. ในนาทีที่ 2, 3, 5, 6, 7, 8, 9, 10, 15, 20, 25, 30 และ 40 อย่างมีมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) การเพิ่มขึ้นสูงสุดของอัตรการเต้นของหัวใจเฉลี่ย 5.21% และ 20.67% ในกลุ่ม atropine และ glycopyrrolate ตามลําดับ พบผู้ป่วย 3 ราย ในกลุ่ม atropine และ 2 ราย ในกลุ่ม glycopyrrolate มีภาวะหัวใจเต้นช้า (อัตราการเต้นของหัวใจ < 50 ครั้ง/นาที) ความดันเลือดและ secretion score ทั้ง สองกลุุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ (p > 0.05)

สรุป : การใช้ atropine 0.75 มก. ร่วมกับ neostigmine เป็นทางเลือกที่ปลอดภัยในการแก้ฤทธิ์ยาหย่อนกล้ามเนื้อชนิด non-deporalized โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ต้องการหลีกเลี่ยงภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะและไม่มียา glycopyrrolate ใช้

คําสําคัญ : atropine 0.75 มก., glycopyrrolate, การแก้ฤทธิ์ยาหย่อนกล้ามเนื้อ, อัตราการเต้นของหัวใจ

References

Ostheimer G W. A Comparison of glycopyrrolate and atropine during reversal of nondepolarizing neuromuscular block with neostigmine. Anesth Analg 1977; 56(2): 182-186

Lucchini A, Zanella A, Bellani G, Gariboldi R, Foti G, Pesenti A, Fumagalli R. Tracheal secretion management in the mechanically ventilated patient: Comparison of standard assessment and an acoustic secretion detector. Respiratory care 2011;56(5):596-603

Limapichat R, Phuphiphat R, Pulnitiporn A. A randomized controlled comparison of difference heart rate after the reversal of non-depolarized muscle relaxant with atropine 0.6 mg, 0.9 mg and 1.2 mg plus neostigmine 2.5 mg. Thai J Anesthesiol. 2017;43(2):135-43.

D’Hollander AA, Dewachter B, Deville A, Vaisiere D. Haemodynamic changes associated with atropine/neostigmine administration. A non-invasive investigation. Acta anaesthesiol Scand 1981;25(3):187-92.

Tribuddharat S, Sathitkarnmanee T, Naewthong P. Less tachycardia in adults when using atropine 0.9 mg compared with 1.2 mg plus neostigmine 2.5 mg. J Med Assoc Thai 2008; 91(5): 665-8

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-05