การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณแคลอรี่ต่อวันกับระดับความเข้มข้นของเลือดระหว่างการตั้งครรภ์

ผู้แต่ง

  • จุฬารัตน์ ห้าวหาญ
  • ศีตรา มยูขโชติ
  • อัจฉรา มีนาสันติรักษ์
  • ศุภวรรณ ขิมทอง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณแคลอรี่ต่อวันกับระดับความเข้มข้นของเลือดระหว่างการตั้งครรภ์

วิธีการดำเนินการวิจัย : เป็นงานวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาหลังคลอด เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์และการคลอด จำนวน 71 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับความเข้มข้นเลือด และอาหาร-นม ที่รับประทานระหว่างการตั้งครรภ์  วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Spearman correlation เนื่องจากข้อมูลกระจายไม่เป็นโค้งปกติ

ผลการวิจัย : พบว่ากลุ่มตัวอย่างอายุระหว่าง 15-41 ปี เป็นการตั้งครรภ์ครั้งที่ 1-7 โดยมากเป็นการตั้งครรภ์ครั้งที่ 1 (ร้อยละ 40.8) อายุครรภ์เมื่อมาคลอดระหว่าง 35-41 สัปดาห์ โดยมากฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลรัฐบาล (ร้อยละ 64.8) มาฝากครรภ์ระหว่าง 2-16 ครั้ง โดยมากเป็นการคลอดทางช่องคลอด (ร้อยละ 63.4) ทารกแรกเกิดเป็นเพศชาย (ร้อยละ 50.7) น้ำหนักทารกแรกเกิดระหว่าง 2,090 – 4,070 กรัม

ค่าความเข้มข้นเลือดครั้งที่ 1 ระหว่าง 24.6-43.0% ค่าความเข้มข้นเลือดครั้งที่ 2 ระหว่าง 28.4-40.6% โดยการเปลี่ยนแปลงของค่าความเข้มข้นเลือดพบว่ามีลดลงมากที่สุดคือ 3.3% และเพิ่มมากที่สุดคือ 5.5% กลุ่มตัวอย่างทุกคนรับประทานอาหารครบ 3 มื้อ แคลอรี่จากอาหารที่รับประทานอยู่ระหว่าง 626-3,129 กิโลแคลอรี่ มีเพียงร้อยละ 2.8 ที่ไม่มีการดื่มนมระหว่างการตั้งครรภ์เลย ส่วนกลุ่มที่ดื่มนมมีการดื่มนมตั้งแต่วันละ 1 กล่องจนถึง 5 กล่อง แคลอรี่จากนมอยู่ระหว่าง 91-1,000 แคลอรี่ กลุ่มที่ค่าความเข้มข้นของเลือดเพิ่มขึ้นมีค่าเฉลี่ยของแคลอรี่จากนมมากที่สุด และมีค่าเฉลี่ยของแคลอรี่จากอาหารมากที่สุด แต่ค่าเฉลี่ยของแคลอรี่จากนมและจากอาหารระหว่างกลุ่มที่ค่าความเข้มข้นของเลือดเพิ่มขึ้นกับกลุ่มไม่เปลี่ยนแปลง หรือ ลดลง ไม่แตกต่างทางสถิติ

เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างแคลอรี่จากนมและจากอาหารที่รับประทานในหนึ่งวันกับระดับความเข้มข้นของเลือดในมารดาหลังคลอด  พบว่าแคลอรี่จากนมมีความสัมพันธ์กับค่าการเปลี่ยนแปลงของความเข้มข้นของเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

สรุป : กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ได้รับปริมาณแคลอรี่ต่อวันน้อยกว่าที่กำหนด แคลอรี่ที่ได้รับจากนมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความความเข้มข้นของเลือด

คำสำคัญ : ภาวะโลหิตจางๅ, ความเข้มข้นของเลือด, หญิงตั้งครรภ์

References

World Health Organization. Iron deficiency anaemia assessment prevention and control: a guide for programme managers; 2001. Retrieved from http://www.who.int/nutrition/publications/micronutrients/anaemia_iron_deficiency/ WHO_NHD_01.3/en/

World Health Organization. Guideline: daily iron and folic acid supplementation in pregnant women; 2012. Retrieved from http://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK132263/

กรมอนามัย. รายงานประจำปีกรมอนามัย 2560. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อักษรกราฟิกแอนด์ดีไซด์; 2561.

สำนักส่งเสริมสุขภาพ. ตัวชี้วัดสถานะสุขภาพงานอนามัยแม่และเด็กปี 2556; 2556 สืบค้นจากhttp://hp.anamai.moph.go.th/main.php?filename=index2

ดวงกมล ปิ่นเฉลียว.พยาบาลกับการจัดการภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์. วารสารพยาบาลตำรวจ. 2560; 9(2):196-206.

ราณี ผลวัฒน์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรู้ด้านโภชนาการต่อการเพิ่มความเข้มข้นเลือดในหญิงตั้งครรภ์. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์. 2560; 7(2): 11-19.

คณะกรรมการจัดทำข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย. ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ.2546. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ ; 2546

วันทนีย์ เกรียงสินยศ และ กิตติพร พันธุ์วิจิตรศิริ. คำแนะนำการบริโภคอาหารในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร. ใน วันทนีย์ เกรียงสินยศ, กิตติพร พันธุ์วิจิตรศิริ, อุรุวรรณ แย้มบริสุทธิ์, ณัฐวรรณ เชาวน์ลิลิตกุล, กุลพร สุขุมาลตระกูล, นัฐพล ตั้งสุภูมิ, สุปราณี แจ้งบำรุง, สิติมา จิตตินันทน, สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ, วรวรรณ ชัยลิมปมนตรี, วปรารถนา ตปนีย์, ทิวาพร มณีรัตนศุภร, วรรณี นิธิยานันท์. (บรรณาธิการ). องค์ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการสำหรับทุกช่วงวัย. กรุงเทพฯ: สำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. 2559:น.9

วันทนีย์ เกรียงสินยศ และ กิตติพร พันธุ์วิจิตรศิริ. คำแนะนำการบริโภคอาหารในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร. ใน วันทนีย์ เกรียงสินยศ, กิตติพร พันธุ์วิจิตรศิริ, อุรุวรรณ แย้มบริสุทธิ์, ณัฐวรรณ เชาวน์ลิลิตกุล, กุลพร สุขุมาลตระกูล, นัฐพล ตั้งสุภูมิ, สุปราณี แจ้งบำรุง, สิติมา จิตตินันทน, สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ, วรวรรณ ชัยลิมปมนตรี, วปรารถนา ตปนีย์, ทิวาพร มณีรัตนศุภร, วรรณี นิธิยานันท์. (บรรณาธิการ). องค์ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการสำหรับทุกช่วงวัย. กรุงเทพฯ: สำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. 2559:น.11-17

ณัฐนรี แสงเขตต์ และ สืบพงษ์ กอวชิรพันธ์. พลังงานและสารอาหารที่ได้รับระหว่างการตั้งครรภ์ของหญิงไทย กรณีศึกษา ณ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. The Journal of Boromarajonani College of Mursing, Nakhonratchasima. 2561; 24(2): 18-33.

ผาสุก กัลย์จารึก. ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ที่คลอดในโรงพยาบาลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2560; 27(1): 22-32.

ศิริฉัตร รองศักดิ์, ประนอม พูลพัฒน์, และ มยุรัตน์ รักเกียรติ์. ภาะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์และคลอดในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2560; 35(3): 39-47.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-17