การศึกษาเปรียบเทียบวิธีการปรับสภาพให้เป็นกลางของชิ้นเนื้อกระดูกภายหลังการดึงแคลเซียมระหว่างการใช้น้ำประปาไหลผ่านและสารละลายลิเทียมคาร์บอเนตอิ่มตัว
บทคัดย่อ
ความเป็นมา : การเตรียมสไลด์ชิ้นเนื้อกระดูกภายหลังผ่านการดึงแคลเซียมออกจากกระดูกต้องปรับสภาพชิ้นเนื้อให้เป็นกลางเพื่อให้ติดสี H&E ได้ดียิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์ : การศึกษาเพื่อเปรียบเทียบคุณภาพสไลด์ H&E ที่ผ่านการปรับสภาพชิ้นเนื้อด้วยวิธีที่ใช้อยู่เดิมคือใช้น้ำประปาไหลผ่านกับแช่ในสารละลายลิเทียมคาร์บอเนตอิ่มตัว
วิธีการศึกษา : ตัวอย่างชิ้นเนื้อกระดูกหลังผ่านการแช่กรดฟอร์มิกเพื่อดึงแคลเซียมออก แบ่งเป็นสองกลุ่มคือกลุ่มใช้น้ำประปาไหลผ่านและกลุ่มแช่ในสารละลายลิเทียมคาร์บอเนตอิ่มตัว จากนั้นประเมินคุณภาพการติดสี ที่ได้จากทั้งสองกลุ่ม
ผลการศึกษา : ผลประเมินคุณภาพสี H&E มีแนวโน้มว่าชิ้นเนื้อที่แช่ในสารละลายลิเทียมคาร์บอเนตอิ่มตัวให้ผลดีกว่าในทุกด้าน ทั้งการติดสีเข้ม คมชัด ดูง่าย และการติดสีตำแหน่งถูกต้อง รายละเอียดนิวเคลียสคมชัด
สรุป : สไลด์ชิ้นเนื้อกระดูกที่ผ่านการปรับสภาพชิ้นเนื้อให้เป็นกลางภายหลังละลายแคลเซียมด้วยวิธีแช่ชิ้นเนื้อในสารละลายลิเทียมคาร์บอเนตอิ่มตัว ให้ผลการย้อมสี H&E ไม่ด้อยกว่าวิธีที่ปฏิบัติอยู่เดิมและมีแนวโน้มที่ดีกว่า และช่วยประหยัดทรัพยากรน้ำ
คำสำคัญ : การปรับสภาพให้เป็นกลาง, ภายหลังการดึงแคลเซียมออกจากกระดูก, ลิเทียมคาร์บอเนตอิ่มตัว, ชิ้นเนื้อกระดูก
References
Sanjai K, Kumarswamy J, Patil A, Papaiah L, Jayaram S, Krishnan L. Evaluation and comparison of decalcification agents on the human teeth. J Oral Maxillofac Pathol 2012; 16: 222-7.
Shariff S, Kaler AK. Principles and Interpretation of Laboratory Practices in Surgical Pathology. New Delhi: Jaypee Brothers Medical Publishers (P) Ltd. 2016.
Athanasou NA, Quinn J, Heryet A, Woods CG, McGee JO. Effect of decalcification agents on immunoreactivity of cellular antigens. J Clin Pathol 1987; 40: 874-8.
Srinivasyaiah A, Hegde U, Nagpal B. Decalcification of Biopsy Tissue: includes different decalcification procedures along with various decalcifying agents. Germany: LAP LAMBERT Academic, 2016.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม