การพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูผู้เสพยาเสพติดแบบบูรณาการในโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่ง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์การกลับไปเสพยาเสพติดของนักเรียนที่ผ่านการบำบัดในโรงเรียน พัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูแบบบูรณาการในโรงเรียนและศึกษาผลการใช้รูปแบบการบำบัดฟื้นฟูผู้เสพยาเสพติด แบบบูรณาการในโรงเรียน
วิธีดำเนินการวิจัย : การวิจัยเชิงปฎิบัติการโดยใช้แนวคิดของ Kemmis และ Mctaggart ระยะเวลาวิจัย 1 มิถุนายน 2559 – 31 มีนาคม 2562 ในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลางแห่งหนึ่งตั้งอยู่ในตำบลขนาดใหญ่ในอำเภอเมืองที่มีการแพร่ระบาดของยาเสพติด กลุ่มเป้าหมายและผู้ร่วมวิจัยได้แก่ กลุ่มผู้เสพที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูตามเกณฑ์ในโรงเรียนมัธยมแห่งนั้น จำนวน 24 คน ครู ครอบครัวและผู้ดูแลผู้เสพ แกนนำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตรับผิดชอบ จำนวน 50 คน รวม 74 คน
ผลการวิจัย : พบว่า ปี 2559 บำบัดนักเรียนกลุ่มเสพ 29 คน โดยครูผู้รับผิดชอบยาเสพติดที่ได้รับการอบรมจิตสังคมบำบัดในโรงเรียน หยุดเสพได้ในระยะการติดตาม 1 ปี 2 คน ปี 2560 บำบัดนักเรียนกลุ่มเสพโดยใช้โปรแกรมจิตสังคมบำบัดในโรงเรียน 30 คน โดยครูร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หยุดเสพได้ในระยะการติดตาม 1 ปี 5 คน พบปัญหาอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการติดยาเสพติดของเด็ก ปี 2561 สะท้อนผลของปี 2560 และแบ่งหน้าที่ ครู สหสาขาวิชาชีพด้านสาธารณสุข แกนนำชุมชน ได้รูปแบบการบำบัดฟื้นฟูผู้เสพยาเสพติดแบบบูรณาการ โดยใช้โปรแกรมจิตสังคมบำบัดในโรงเรียนร่วมกับโปรแกรมให้คำปรึกษาครอบครัวแบบบูรณาการและมาตรการทางสังคมปี 2561 นำรูปแบบที่ได้มาใช้บำบัดฟื้นฟูนักเรียนกลุ่มเสพ 24 ราย ติดตาม 3 เดือนหลังการบำบัด พบการเลิกเสพ 19 ราย ร้อยละ 79.16 ติดตามหลังการบำบัด 1 ปี หยุดเสพ 21 ราย เสพซ้ำ 3 ราย ร้อยละ 87.50
สรุป : การบูรณาการทุกภาคส่วนร่วมกับการใช้รูปแบบที่เหมาะสมกับพื้นที่ ส่งผลดีต่อการบำบัดฟื้นฟูในขณะที่ผู้เสพอยู่ในสถานศึกษา โดยไม่กระทบต่อเวลาเรียน ต้นทุนต่ำ นักเรียนสามารถกลับมาใช้ชีวิตในสังคมแบบปกติสุขโดยไม่พึ่งพายาเสพติด
คำสำคัญ : บำบัดฟื้นฟู, ยาเสพติด
References
รศ.ดร.มานพ คณะโต ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2559.
สำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต คู่มือครู:กิจกรรมกลุ่มจิตสังคมบำบัดในโรงเรียน พิมพ์ครั้งที่ 3 สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การทหารผ่านศึก
Kemmis, S., McTaggart, R The Action Research Planner (3rd ed.). Geelong, Australia: Deakin ; 1988.
วันทนา ทิพย์มนเทียร โรงพยาบาลสวนสราญรมณ์ กรมสุขภาพจิต 8 มิถุนายน 2555 เอกสารอักสำเนา. 2555.
ศิริรัตน์ คุปติวุฒิ. จิตวิทยาครอบครัวการให้การปรึกษาครอบครัวและครอบครัวบาบัดเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์ ; 2545.
ยุทธนาภาระนันท์. การศึกษาและการสร้างโมเดลการพัฒนาความเข้มแข็งของครอบครัว.ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาจิตวิทยาการให้คาปรึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2550.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม