กายภาพบำบัดในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกหลังได้รับการบาดเจ็บที่สมองนอนติดเตียงเป็นเวลานานในชุมชน : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • เบญจรงค์ ศรีสุระ

บทคัดย่อ

ผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมองที่มารับบริการโรงพยาบาลขอนแก่นมีจำนวนสูงขึ้นทุกปี ซึ่งหากผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมองไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีและไม่ได้รับการกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่องจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะทุพพลภาพหรือเป็นคนพิการในที่สุด

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการรักษาทางกายภาพบำบัดในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกหลังได้รับการบาดเจ็บที่สมองนอนติดเตียงเป็นเวลานานในชุมชน และศึกษาผลลัพธ์จากการรักษาทางกายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกหลังได้รับการบาดเจ็บที่สมองนอนติดเตียงเป็นเวลานานในชุมชน

วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกหลังได้รับบาดเจ็บที่สมองนอนติดเตียงเป็นเวลานาน (12 ปี)    ในชุมชน รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน แบบประเมินการเคลื่อนไหว การสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบการตรวจประเมินทางกายภาพบำบัด ตามแนวคิดการรักษาทางกายภาพบำบัด ศึกษาในระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. 2556 ถึงเดือน กรกฎาคม พ.ศ.2562 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา โดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ

ผลการศึกษา : ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกหลังได้รับบาดเจ็บที่สมอง นอนติดเตียงเป็นเวลานานในชุมชนกรณีศึกษารายนี้หลังได้รับการรักษาทางกายภาพบำบัด ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเองโดยใช้รถเข็นแบบนั่ง และผลลัพธ์จากการประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย มีค่าคะแนนจาก 0 เป็น 90 คะแนน การเคลื่อนไหว จาก 0 % เป็น .15 % รวมระยะเวลาการดูแลรักษา 5 ปี 10 เดือน 3 วัน ได้รับการรักษาทางกายภาพบำบัด 343 ครั้ง

สรุป : จากผลการศึกษากรณีผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกหลังได้รับบาดเจ็บที่สมองนอนติดเตียงเป็นเวลานานในชุมชนรายนี้สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเองหลังจากเป็นผู้ป่วยติดเตียงนานเป็นเวลา 12 ปี จากการฟื้นฟูสภาพสมอง สภาพร่างกาย และจิตใจด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัดและการมีส่วนร่วมของญาติผู้ดูแล ทีมสหสาขาวิชาชีพ จิตอาสาดูแลคนพิการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน และสามารถดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข

คำสำคัญ : การบาดเจ็บที่สมอง, กายภาพบำบัด

References

เกษณี คุณคง.ผลของการจัดท่าต่อระดับความดันในกะโหลกศีรษะและแรงดันกำซาบในสมองในผู้ป่วยบาดเจ็บสมอง:การวิเคราะห์เมตา[วิทยานิพนธ์] .เชียงใหม่.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;2553.

Hickey,J.V.(2003).The clinical practies of neurological and neurosurgical nursing(5thed.).Piladephia:Lippincott William&Wilkin.

ดวงกมล สุวรรณ์.ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บหลายระบบ.[วิทยานิพนธ์] สงขลา;มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์;2560.

Kopits,E & Cropper,M.(2005).Traff facilities and economic growth.Acident Analysis and Prevention,37(1),169-178.

ขวัญยุพา สุคนธมาน.การฟื้นฟูสมองบาดเจ็บ.เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร.ปีที่11ฉบับที่3;2545;84-94.

อินทิรา ทาเอื้อ,เกศรินทร์ อุทริยประสิทธิ์,ปรางทิพย์ ฉายพุทธและบรรพต สิทธินามสุวรรณ.ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มอาการภายหลังสมองได้รับการกระทบกระเทือนกับภาวะการทำหน้าที่ในผู้บาดเจ็บที่สมองเล็กน้อย.วารสารสภาพยาบาล.ปีที่25 ฉบับที่ 2 ; 2553;39-53.

รุ่งนภา เขียวชอ่ำ.ผลกระทบภายหลังการบาดเจ็บที่สมอง.[บทความวิชาการ]วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า.ปีที่27 ฉบับที่ 1;2559;103-111.

Fugimoto,S.T.,Longhi,L.,SSaatman,K.E.,Conte,V.,Stocchetti,N.,&Mcintosh,T.K.(2004).Motor and cognitive function evaluation following experimental traumatic brain injury. Neuroscience and Biobehavioral Review,28(4)365-378.

Hickey,J.V.(2014).The clinical practice of neurological&nursing(7thed.).Phyladelphia:

Wolters Kluwer Health.

อัญชลี โสภณและคณะ.การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระดับรุนแรง โดยใช้การจัดการรายกรณี.วารสารสภาพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.ปีที่29ฉบับที่3;2560;126-138.

เวชระเบียน กลุ่มงานสารสนเทศ โรงพยาบาลขอนแก่น:2562.

Nativ,A.(1991).Brain potentials associated with movement in traumatic brain injury.Physical Therapy.71,48-59.

สมพร สังขรัตน์และคณะ.ความน่าเชื่อถือภายในและระหว่างผู้ประเมินในการใช้แบบประเมินStroke Rehabilitation Assessment of Movement(STREAM).วารสารเทคนิคการแพทย์.ปีที่50ฉบับที่1;2560;71-86.

อริสรา สุขวัจนี.ผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมความสามารถทำกิจกรรมประจำวันผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกที่มีระยะเวลาดำเนินโรคน้อยกว่า 6 เดือนและมากกว่า 6 เดือน ในศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯสยามบรมราชกุมารี.วารสารพยาบาล.ปีที่64ฉบับที่3;2558;62-71.

Cope,D.&Hall,K.1982.Head Injury Rehabilitation:Bennafit of Early Intervention.Arch Phys Med Rehabil.63(9),433-437.

ธีรวัฒน์ นิธิอรรถวานนท์และสุกัลยา อมตฉายา.การประยุกต์ใช้ข้อมูลป้อนกลับในการฟื้นฟูความสามารถสำหรับผู้ป่วยระบบประสาท.เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร.ปีที่27ฉบับที่3;2560;82-87.

วิยะดา ศักดิ์ศรีและสุรัตน์ ธนานุภาพไพศาล.คู่มือกายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก.กรุงเทพมหานคร:สายธุรกิจ;2552.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-05