การศึกษาการประเมินผู้ป่วยและการเตรียมความพร้อมด้านวิสัญญีในการผ่าตัดฉุกเฉินโดยใช้ระบบฐานข้อมูลดิจิทัล โรงพยาบาลมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ปุณญิสา ศรีสาร
  • วิลาวัลย์ พรมดอนกลอย
  • สุวคนธ์ ทองดอนบม

บทคัดย่อ

การผ่าตัดฉุกเฉินเป็นภาวะเร่งด่วนที่ผู้ป่วยไม่สามารถรอได้ การเตรียมความพร้อมด้านร่างกายและจิตใจ และผลตรวจทางห้องปฏิบัติการของผู้ป่วยรวมทั้งการเข้าถึงข้อมูลการเจ็บป่วยและโรคประจำตัวต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วถูกต้องแม่นยำ  การลดความผิดพลาดในการสื่อสารข้อมูล  เป็นความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในผู้ป่วยฉุกเฉิน การนำแนวคิดลีน1 มาประยุกต์ใช้ในการประเมินผู้ป่วยแบบฉุกเฉินทำให้ลดขั้นตอนและลดข้อผิดพลาด ทำให้ผู้ป่วยปลอดภัย ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากความล่าช้าในขั้นตอน ดังนั้นกลุ่มงานการพยาบาลวิสัญญีจึงได้พัฒนาการประเมินและการเตรียมความพร้อมด้านวิสัญญีในการผ่าตัดฉุกเฉินโดยระบบฐานข้อมูลดิจิทัล2 และแนวคิดลีนมาใช้เพื่อให้ผู้ป่วยได้ผ่าตัดอย่างรวดเร็ว และปลอดภัย

วัตถุประสงค์ : 1)  เพื่อศึกษาประสิทธิผลการประเมินผู้ป่วย และการเตรียมความพร้อมด้านวิสัญญีในการผ่าตัดฉุกเฉินโดยใช้ระบบฐานข้อมูลดิจิทัล 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรที่เกี่ยวข้องต่อการใช้การประเมินแบบใหม่ 

วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงปฏิบัติการ ( Action  Research ) โดยใช้กรอบแนวคิดการวิจัยของ Maran3  ในโรงพยาบาลมหาสารคาม  การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะได้แก่ 1) ระยะเตรียมการ

 2) ระยะพัฒนา  3) ระยะประเมินผล   รวบรวมข้อมูลในระหว่าง เดือนเมษายน พ.ศ. 2562 - มกราคม พ.ศ. 2563 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ คือ พยาบาลหอผู้ป่วย พยาบาลห้องผ่าตัด และพยาบาลวิสัญญี  จำนวน 101 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินประสิทธิผลการประเมินผู้ป่วยและการเตรียมความพร้อมด้านวิสัญญีในการผ่าตัดฉุกเฉินโดยใช้ระบบฐานข้อมูลดิจิทัลโรงพยาบาลมหาสารคาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.96  แบบประเมินความพึงพอใจของบุคลากรต่อการใช้การประเมินผู้ป่วยและการเตรียมความพร้อมด้านวิสัญญีในการผ่าตัดฉุกเฉินโดยใช้ระบบฐานข้อมูลดิจิทัล แบบบันทึกอุบัติการณ์ความผิดพลาดในการใช้การประเมินผู้ป่วยและการเตรียมความพร้อมด้านวิสัญญีในการผ่าตัดฉุกเฉินโดยใช้ระบบฐานข้อมูลดิจิทัล โรงพยาบาลมหาสารคาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน       

ผลการศึกษา :  พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 101  คน ประกอบด้วยพยาบาลวิสัญญีจำนวน  28 คน  พยาบาลห้องผ่าตัด 26 คน และ พยาบาลหอผู้ป่วย  47 คน มีความเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลต่อการนำแนวปฏิบัติไปใช้ตรงกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงเป็นส่วนใหญ่ (ค่าเฉลี่ย=-3.73 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน=0.85)   และมีความพึงพอใจระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=7.47  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน=1.95)  นอกจากนี้ยังพบความไม่สอดคล้องด้านอุบัติการณ์การส่งต่อข้อมูลผ่าตัดผิดพลาด 10  ครั้ง คิดเป็น ร้อยละ 1.54  การวิจัยในครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการพัฒนาการประเมินผู้ป่วยและการเตรียมความพร้อมด้านวิสัญญีในการผ่าตัดฉุกเฉินโดยระบบฐานข้อมูลดิจิทัล โรงพยาบาลมหาสารคาม สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม บุคลากรมีความพึงพอใจมาก อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยก่อนการผ่าตัดได้

คำสำคัญ : การประเมินผู้ป่วยและเตรียมความพร้อมด้านวิสัญญีในการผ่าตัดฉุกเฉิน, ประสิทธิผล, ความพึงพอใจระบบลีน

References

Khanuengnich Anuroj Ph.D. (HRD)การประยุกต์ใช้ LEAN ในงานบริการสุขภาพ (อินเตอร์เน็ต ค้นเมื่อ 30 เมษายน 2562) เข้าถึงจาก http://www.thaindc.org/images/ column_1442392793/ref2.pdf

ludawun trimanee – issuu ข้อมูลดิจิทัล,( อินเตอร์เน็ต ค้นเมื่อ 19 เมษายน 2562 ) เข้าถึงจาก https://issuu.com/silae69/docs/

Maran, M. D. (2015). Educational research methods for researching innovations in teaching,learning and assessment: The nursing lecturer as researcher. Nurse Education in Practice journal. 15, 6 Retrieved March 27, 2017 from clinicalcey database.

ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย. มาตรฐานทางวิสัญญี กรุงเทพฯ: ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย;2543.

กองการพยาบาลสานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข .มาตรฐานการพยาบาลโรงพยาบาลปรับปรุงครั้งที่ 1. กรุงเทพๆ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ชมรมวิสัญญีพยาบาลแห่งประเทศไทยและสานักการพยาบาลกรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข. หน้าที่รับผิดชอบหลักและสมรรถนะวิสัญญีพยาบาล. กรุงเทพฯ : บริษัทสามเจริญพาณิชย์กรุงเทพฯ) จำกัด;2549.

รายงานประจำปีและสถิติ กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลมหาสารคาม

จำลักษณ์ ขุนพลแก้ว 10 ขั้นตอนง่ายๆ ลีนได้ทุกกระบวนการ ,(อินเตอร์เน็ต ค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2562) เข้าถึงจาก https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/646992

สำนักงาน ก.พ. (OCSC) Digital Literacy คืออะไร ,(อินเตอร์เน็ต ค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2562) เข้าถึงจาก https://www.ocsc.go.th/DLProject/mean-dlp

อารีย์วรรณ อ่วมตานี. การจัดการแบบลีนกับการบริการสุขภาพ.วารสารสภาการพยาบาล. 2552;24(2): 5-10

อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล. Lean กับการพัฒนาคุณภาพ ระบบบริการสุขภาพ Lean กับการพัฒนาคุณภาพ. ระบบบริการสุขภาพ. สถาบันรับรอง คุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) ,
(อินเตอร์เน็ต ค้นเมื่อ 25 เมษายน 2562) เข้าถึงจาก http://www.ayhosp.go.th/ayh/images/HA/Lean/Lean60.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-21