การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้า : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • มนัสดา คำรินทร์

บทคัดย่อ

แผลที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวานเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากผู้ป่วยส่วน ใหญ่ไม่สามารถควบคุมระดับบน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นเหตุให้แผลติดเชื้อลุกลามอย่างรวดเร็ว ถ้าไม่ได้ รับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง ผู้ป่วยจะมีโอกาสสูงในการถูกตัดนิ้วเท้าและตัดขาหากมีการลุกลามของแผล แผลกลับเป็นซ้ำ แล้วซ้ำอีก ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลนาน ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูง ซึ่งเป็นปญหาสำคัญส่งผลกระทบ ต่อผู้ป่วย ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ คุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ คนในครอบครัวและสังคม ตลอดจนส่งผลกระทบต่อคุณภาพ บริการทางการพยาบาล

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้ากรณีศึกษา 2 ราย

วิธีดำเนินงาน : เป็นศึกษาเชิงพรรณนากรณีศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้า 2 ราย ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมหาสารคามโดยศึกษาประวัติผู้ป่วยจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน การซักประวัติผู้ป่วยและญาติ การสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบ การวางแผนการพยาบาล ตามแนวคิดแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน จากพยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การรักษาพยาบาลแผลทีเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน ปัญหาและข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลรวมถึงการวางแผนจำหน่าย

ผลการศึกษา : กรณีศึกษารายที่ 1 ชายไทย อายุ 65 ปี สถานะเป็นหม้าย อาชีพค้าขาย ได้รับการวินิจฉัยเป็นเบาหวานมีแผลที่ฝ่าเท่าข้างขวา ผู้ป่วยได้มาพบแพทย์คลินิกเบาหวานโรงพยาบาลมหาสารคามเนื่องจากแผลมื่ขอบซีด และเป็นขุย มีเนื้อตาย แต่ไม่มีบวมแดง ไม่มี discharge ซึม มาปรึกษาแพทย์ให้ dressing OD จากนั้นนัดให้ล้างแผลทุกวัน แต่อาการทรุดลง แผลขยายวงกว้างมากขึ้น ระดับน้ำตาลไม่ปกติ FBS อยู่ในช่วง 170 - 280 mg/dl HbA1c = 8.5 แพทย์ ปรับเพิ่มยา glipezide 1 tab oral ac เป็น glipezide 1 tab oral bid ac ระดับน้ำตาลในเลือด หลังปรับยา อยู่ในช่วง 170 - 210 mg/dl ผู้ป่วยเข้าใจในสภาพแผล เบาหวาน ตามการรับรู้จากแพทย์ พยาบาลแนะนำมาทำแผลทุกวัน จึงใช้วิธีการล้างแผลโดยขูดหนังแข็งออก ให้การดูแลแผลอย่างต่อเนื่อง แผลหายดี ในระยะเวลา 1 สัปดาห์

กรณีศึกษารายที่ 2 หญิงไทย อายุ 49 ปี สถานะสมรส อาชีพรับจ้าง ได้รับการวินิจฉัยเป็นเบาหวาน มาพบแพทย์ ด้วยอาการเหนื่อยอ่อนเพลีย มีอาการชาที่เท้า แน่นหน้าอก ไม่ร้าวไปที่ใด ปวดน่องไม่มี ตะคริว ไม่มีขาอ่อนแรงไม่มีอาการวิงเวียนศีรษะ ไม่มีอาการปวดศีรษะ เนื่องจากอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ทำให้มีแผลที่หัวแม่เท้าข้างขวา แพทย์ให้admit (นอนโรงพยาบาล)เพื่อรักษาและควบคุมภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลา 3 วัน หลังกลับบ้านนัดผู้ป่วยมารับการพยาบาลเพื่อรักษาแผลที่เท้าอย่างต่อเนื่อง แผลหายดี ในระยะเวลา 1 สัปดาห์

สรุป : กรณีศึกษาผู้ป่วยเบาหวานทั้ง 2 ราย มีความแตกต่างกันด้วยอายุและเศรษฐานะ มีแผลที่เท้าแต่ต่างตำแหน่ง การให้พยาบาลควบคุมระดับบน้ำตาลเหมือนกันและให้การพยาบาล ดูแลแผลที่ดีอย่างต่อเนื่องทั้ง 2 ราย ส่งผลให้ผู้ป่วย คลายความกังวล มีความอดทนจนแผลดีขึ้นเป็นลำดับและสามารถกลับไปดำเนินชีวิติได้อย่างปกติสุข

คำสำคัญ : โรคเบาหวาน, แผลเบาหวานที่เท้า

References

สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฏิบัติสําหรับโรค

เบาหวาน 2560. นนทบุรี, 2560

World Health Organization

International Diabetes Federation. Diabetes fact sheet. [cited 2012 Jun 20]. Available from: http:// www.idf.org/webdata/docs/background_info_AFR. pdf.

American Diabetes Association. Standards ofmedical carein diabetes--2012. DiabetesCare2012; Suppl 1:S11-63.

ชลิดา อนุกูล.การดูแลผู้ป่วยเบาหวานมีแผลที่เท้าโดยใช้การจัดการผู้ป่วยรายกรณี: ประสบการณ์ของ Entero-Stomal Therapist Nurse โรงพยาบาล พระนั่งเกล้า, วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระบรมราชชนนี, 2558 ; 21(1) :78-86

สํานักโรคไม่ติดต่อ

ปภาดา มหัทธนะประดิษฐ์, ความรู้ในการดูแลเท้าของผู้ป่วยเบาหวาน เขตพื้นที่อําเภอกู่แก้วจังหวัดอุดรธานี, ศรีนครินทร์เวชสาร.SMJ, 2560, 31(1)

จิตรานนท์ โกสีย์รัตนาภิบาล. ความรู้และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพเท้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับ บริการที่ตึกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโรอําเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ปี พ.ศ. 2554. เสืบค้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2561] จากเว็บไซต์: http://www.skko.moph.go.th

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-05