ผลของการใช้หมอนสามเหลี่ยมวางระหว่างขาหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก ป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวก่อนฟื้นจากยาสลบ

ผู้แต่ง

  • สุมาลี วุ่นเหลี่ยม

บทคัดย่อ

การรักษาด้านการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกก่อนฟื้นจากยาสลบ ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวหลังจากผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก ซึ่งอาจส่งผลทําให้ข้อสะโพกหลุดและทําให้เกิดความเสี่ยงอื่นตามมา ผู้วิจัยจึงได้จัดทํานวัตกรรมหมอนสามเหลี่ยมใช้กับ ผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก

วัตถุประสงค์ : 1) เพื่อศึกษาผลการใช้นวัตกรรมหมอนสามเหลี่ยม เป็นอุปกรณ์วางระหว่างขาหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อ สะโพก ก่อนฟื้นจากยาสลบ และเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวก่อนฟื้นจากยาสลบที่ส่งผลทําให้ข้อสะโพกผู้ป่วยเลื่อน หลุดได้ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของการใช้นวัตกรรมหมอนสามเหลี่ยม 3) เพื่อศึกษารูปแบบของนวัตกรรมหมอน สามเหลี่ยม

ผลการศึกษา : พบว่า หลังใช้หมอนสามเหลี่ยมวางระหว่างขาหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกก่อนฟื้นจากยาสลบ กลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ใช้นวัตกรรมมีคะแนนวันนอนเฉลี่ย 40.18 และกลุ่มผู้ป่วยหลังใช้นวัตกรรมมีคะแนนวันนอนเฉลี่ย 32.16 ความพึงพอใจต่อหมอนสามเลี่ยม อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด โดยด้านประหยัดเวลาในการเตรียมอุปกรณ์ความรวดเร็ว ในการให้บริการง่าย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.57 และ 4.88 ตามลําดับ ด้านบุคลากรที่ใช้นวัตกรรมหมอนสามเหลี่ยมอยู่มีความ พึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ในด้าน ใช้ง่าย มีความคงทน และประหยัดสามารถใช้อุปกรณ์ที่เหลือใช้และหาง่าย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.88, 4,94 และ 4.91 ตามลําดับ ด้านผู้ป่วยที่ใช้นวัตกรรมหมอนสามเหลี่ยมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 95

สรุป : หมอนสามเหลี่ยมเป็นอุปกรณ์ที่สําคัญที่ต้องใช้กับผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกทุกคน (กรณีผ่าตัดแผล เข้าด้านหลัง) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่เหลือใช้ในห้องผ่าตัด ทีมผ่าตัดต้องตระหนักร่วมกันป้องกันการดิ้นหลุดของข้อสะโพกเพื่อ ความปลอดภัยของผู้ป่วย ซึ่งปัญหาเกิดขึ้นจากการควบคุมตัวเองไม่ได้ของผู้ป่วยหลังจากฟื้นจากยาสลบ ทําให้ต้องเสีย อัตรากําลังในการดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด อย่างน้อย 3 คน ขึ้นไป จนกระทั่งการนําส่งผู้ป่วยที่ห้องพักฟื้น จึงเกิดนวัตกรรม หมอนสามเหลี่ยม มีผลดีต่อสิ่งแวดล้อมรวมถึงการทํางานของบุคลากรและผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกได้ดี ยิ่งขึ้น

 

 

References

โรงพยาบาลมหาสารคาม, แบบบันทึกข้อมูลการผ่าตัดผู้ป่วยเปลี่ยนข้อสะโพก 2559-2561.

สาธิต เที่ยงวิทยาพรและคณะ,ออร์โธปิดิกส์วิวัฒน์ 4-กรุงเทพฯ: ยูเนี่ยนครีเอชั่น ; 2561:118-119.

จิณพิชญ์ชา มะมม. การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกและข้อกรุงเทพฯ, สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2559 : 185-203.

วรรณี สัตยวิวัฒน์ และคณะ.การพยาบาลผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์. พิมพ์ครั้งที่ 6, กรุงเทพฯ : เอ็นพีเพรส2551

คณาจารย์ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ ตําราออร์โธสําหรับนักศึกษาแพทย์ ภาควิชาออร์โธปิดิคส์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น: ขอนแก่น; 2551 : 78-86.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-22