การเจาะดูดด้วยเข็มเล็กของต่อมไทรอยด์; การทำนายผลเมื่อเปรียบเทียบกับผลทางศัลยพยาธิวิทยา ในโรงพยาบาลมหาสารคาม
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล : การเจาะดูดก้อนด้วยเข็มขนาดเล็กเพื่อตรวจทางเซลล์วิทยา (Fine needle aspiration) ภาวะก้อนที่ต่อมไทรอยด์ มีค่าความแม่นยํา ความไว และความจําเพาะ แตกต่างกันออกไป ขึ้นกับความชํานาญในการ เจาะดูดก้อนและการอ่านผลเซลล์วิทยาในแต่ละโรงพยาบาล ซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจในการรักษาผู้ป่วย
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาค่าการทํานายโรคของ FNA ในผู้ป่วยที่มีก้อนผิดปกติของไทรอยด์เทียบกับผลชิ้นเนื้อหลัง ผ่าตัด ในโรงพยาบาลมหาสารคาม
แบบการศึกษา : เป็นการศึกษาวิจัยเชิงวิเคราะห์ (Analytic study by retrospective data collection) สถานที่ทําการศึกษา แผนกหู คอ จมูก โรงพยาบาลมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีก้อนที่ต่อม ไทรอยด์ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2560 ถึง 30 ธันวาคม พ.ศ.2561 ที่ได้รับการเจาะดูดก้อนที่ต่อมไทรอยด์ด้วยเข็ม ขนาดเล็กเพื่อตรวจทางเซลล์วิทยา
ผลการวิจัย : มีผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์การศึกษา จํานวน 95 ราย เป็นเพศหญิง ร้อยละ 92.6 มี อายุเฉลี่ย 49 ปี ก้อนที่ ต่อมไทรอยด์เป็นก้อนเดียวเท่าๆกับที่พบหลายก้อนคิดเป็น ร้อยละ 50.5 และ 49.5 ตามลําดับ ขนาดก้อนเฉลี่ยประมาณ 3.5 เซนติเมตร ผลการวินิจฉัยจากการเจาะดูดก้อนด้วยเข็มขนาดเล็กเพื่อตรวจทางเซลล์วิทยาก้อนส่วนใหญ่เป็นเนื้องอกธรรมดา พบอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งเพียง ร้อยละ 9.5 ขนาดของก้อนที่ใหญ่หรือเล็กกว่า 3 เซนติเมตร มีอุบัติการณ์ของ มะเร็งไม่แตกต่าง และพบว่าก้อนเดี่ยวหรือก้อนหลายก้อนที่ต่อมไทรอยด์มีโอกาสเกิดมะเร็งไม่แตกต่างกัน จากการวิจัยนี้ พบค่า sensitivity 64.29% specificity 100% accuracy 98.21% positive predictive value 100%และ negative predictive value 98.15%
สรุป : ค่าการทํานายโรคของการเจาะดูดก้อนของต่อมไทรอยด์ด้วยเข็มขนาดเล็กเพื่อตรวจทางเซลล์วิทยาของ โรงพยาบาลมหาสารคามอยู่ในเกณฑ์ใกล้เคียงกับโรงพยาบาลอื่นๆ ซึ่งสามารถนํามาใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการดูแลผู้ป่วยได้
คำสำคัญ : thyroid nodule, fine needle aspiration, sensitivity ,specificity, positive predictive value, negative predictive value
References
Hospital, ส.ย.ไ.ส.J.J.o.N. ประสิทธิภาพ การ วินิจฉัย โรค เนื้องอก ของ ต่อ ม ไทรอยด์ โดย การ เจาะ ดูด ด้วย เข็ม เล็ก ใน โรง พยาบาล แม่สอด จังหวัด ตาก. 6(2) (2015).
Greaves, T.S., et al. Follicular lesions of thyroid: a 5‐year fine‐needle aspiration experience. 90(6) (2000): 335-341.
Hamid, S., ur Rehman, A., Baig, M.K., Aslam, U., Heena, N., and Hameed, S.J.T.P.M.J. Evaluation of the positive predictive value of atypical thyroid cytology cases according to the Bethesda system taking histopathology as gold standard. 26(11) (2019): 2015-2020.
Ravetto, C., Colombo, L., and Dottorini, M.E.J.C.C. Usefulness of fine-needle aspiration in the diagnosis of thyroid carcinoma: a retrospective study in 37,895 patients. 2000; 90(6) 357-363.
Mahar, S.A., Husain, A., and Islam, N.J.J.R.A.M.C.A. Fine needle aspiration cytology of thyroid nodule: diagnostic accuracy and pitfalls. 2006;18(4) 26-29.
Jo, V.Y., Stelow, E.B., Dustin, S.M., and Hanley, K.Z.J.A.j.o.c.p. Malignancy risk for fine-needle aspiration of thyroid lesions according to the Bethesda System for Reporting Thyroid Cytopathology. 2010; 134(3) 450-456.
Himakhun, W., Chansom, R., Aroonroch, R., and Pongtippan, A.J.J.M.A.T. Fine needle aspiration of thyroid: a cyto-histopathological correlation in Ramathibodi Hospital. 2012; 95 (Suppl 1) 574-578.
Kessler, A., et al. Accuracy and consistency of fine-needle aspiration biopsy in the diagnosis and management of solitary thyroid nodules. 2005; 7(6) 371-373.
Gupta, M., Gupta, S., and Gupta, V.B.J.J.o.t.r. Correlation of fine needle aspiration cytology with histopathology in the diagnosis of solitary thyroid nodule; 2010.
Sinna, E. and Ezzat, N.J.J.o.t.E.n.c.i. Diagnostic accuracy of fine needle aspiration cytology in thyroid lesions. 2012; 24(2) 63-70.
Journal, ศ.ธ.ส.พ.R.M. ความ แม่นยํา ในการทําหัตถการเจาะดูดด้วยเข็มเล็กของก้อนที่คอที่มารักษา nueruntampounan Isiwe nuna scuol. 2017; 31(4) 709-720.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม