ระยะเวลาการเข้าถึงและการส่งต่อของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลท่าคันโท อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • เมตตา สุริยะ
  • มาลัย ศิริรวย
  • จีระศักดิ์ เหล็กเพชร
  • เตือนใจ สร้อยสูงเนิน
  • ศุภศิลป์ ดีรักษา

คำสำคัญ:

การเข้าถึง, การส่งต่อ, ช่องทางด่วนของโรคหลอดเลือดสมอง, โรคหลอดเลือดสมอง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระยะเวลาการเข้าถึงและการส่งต่อของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโรงพยาบาลท่าคันโท อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์

วิธีดำเนินการวิจัย  : การศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง (RetrospectiveDescriptiveStudy) ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 39 ราย ซึ่งบันทึกในเวชระเบียนกลุ่มโรคฉุกเฉินเฉพาะโรคหลอดเลือดสมองของโรงพยาบาลท่าคันโท ระหว่างวันที่ 1 มกราคม –31 ธันวาคม 2562วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติหาความสัมพันธ์ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน (rρ)

ผลการวิจัย : ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 51.28 อายุเฉลี่ย 66.82 + 12.20 ปี ค่าเฉลี่ยของระยะเวลาการเข้าถึงโรงพยาบาล เฉลี่ย 4.05 + 8.92 นาทีระยะเกิดอาการจนขอความช่วยเหลือ (ประเมิน Fast tract)เฉลี่ย 551.61 + 1200.75 นาที และ ระยะเวลาการปฏิบัติงานของแพทย์และพยาบาลเพื่อนำส่งผู้ป่วยเฉลี่ย 12.15 + 9.72 นาที ทั้งนี้ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาการเข้าถึง, การประเมิน และการนำส่งผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองพบว่า ระยะเวลาของการเข้าถึงของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีความสัมพันธ์กับระยะเวลาการประเมินผู้ป่วยต่อระบบ Fast tract (rρ= 0.295, p-value=0.050) และ ระยะเวลาการประเมินผู้ป่วยต่อระบบ Fast tract ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับระยะเวลาการปฏิบัติงานของแพทย์และพยาบาลเพื่อนำส่งผู้ป่วย(rρ= 0.451, p-value=0.004)

สรุป :  ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มาโรงพยาบาลท่าคันโทส่วนใหญ่เข้ารับบริการล่าช้าจนเกิดความรุนแรงของโรค ซึ่งสัมพันธ์กับระยะเวลาการเข้าถึง ระยะเวลาของการประเมิน Fast tract และระยะเวลาของการปฏิบัติงานของแพทย์และพยาบาลเพื่อนำส่งผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ทั้งนี้ ควรนำข้อมูลที่ได้ไปวางแผนการดำเนินงานเชิงนโยบาย การพัฒนาระบบการดูแลและการส่งต่อในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในพื้นที่ต่อไป

References

Lindsay MP, Norrving B, Sacco RL, Brainin M, Havke W, Martins S, et al. World Stroke Organization (WSO): Global Stroke Fact Sheet 2019. International Journal of Stroke. 2019; 14(8): 806-17.

กลุ่มยุทธศาสตร์ แผน และประเมินผล สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี สำนักโรคไม่ติดต่อ ปี 2561. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนดีไซน์; 2561, หน้า 56-67.

สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์. แนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันสำหรับแพทย์. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: บริษัท ธนาเพรส จำกัด; 2562.

เมตตา สุริยะ. รายงานโรคฉุกเฉินเฉพาะโรคหลอดเลือดสมองของโรงพยาบาลท่าคันโท ปี 2562. โรงพยาบาลท่าคันโท; 2562, หน้า 1-5.

บดีภัทร วรฐิติอนันต์. ระบบช่องทางด่วนโรคหลอดเลือดสมอง ณ ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลนครปฐม: ความท้าทายก้าวสู่แนวทางปฏิบัติที่ดีเลิศในประเทศไทย. วารสารประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย 2562; 35(2): 17-29.

พนัชญา ขันติจิตร, ภัทระ แสนไชยสุริยา, พิมพ์นิชา เทพวัลย์. ระยะเวลาการมารับการรักษาของผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดในจังหวัดอุบลราชธานี. Journal of Health Systems Research 2559; 10(3): 277-88.

Van Schaik SM, Scott S, Lau L ML de, Van den Berg-Vas RM, Kruyt ND. Short Door-to-Needle Times in Acute Ischemic Stroke and Prospective Identification of Its Delaying Factors. Cerebrovasc Dis Extra 2015; 5: 75-83.

Strbian D, Michel P, Ringleb, Numminen H, Breuer L, Bodenant M, et al. Relationship Between Onset-to-Door and Door-to-Thrombolysis Time. Stroke 2013; 44(10): 12808-13.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-02-25