การพยาบาลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องที่มีการติดเชื้อของเยื่อบุช่องท้อง: กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย, การล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง, การติดเชื้อของเยื่อบุช่องท้อง การพยาบาลบทคัดย่อ
บทนำ : ปัจจุบันมีผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และได้รับการบำบัดทดแทนไตทางหน้าท้องซึ่งพบว่ามีปัญหาการติดเชื้อตามมาทำให้คุณภาพชีวิตลดลง
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้บำบัดทดแทนไตด้วยวิธีล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องที่มีการติดเชื้อของเยื่อบุช่องท้อง กรณีศึกษา 2 ราย
วิธีดำเนินการ : การศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย ที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องและมีภาวะติดเชื้อ จำนวน 2 ราย ที่เข้ารักษาในแผนกอายุรกรรมชาย 2 โรงพยาบาลสมุทรปราการ ในเดือน กุมภาพันธ์ 2563 ถึงเดือนมีนาคม 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูล รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน การสัมภาษณ์ญาติ กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลโดยใช้แนวคิดแบบประเมินผู้ป่วยตามแบบแผนทางด้านสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน วางแผนและปฏิบัติการพยาบาลตามข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล และประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล
ผลการศึกษา : พบว่า ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องที่มีการติดเชื้อของเยื่อบุช่องท้อง 2 ราย มีปัญหาทางการพยาบาลที่เหมือนกัน คือ ปัญหาการติดเชื้อแบคทีเรีย และมีการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วในช่องท้อง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการและอาการแสดง ได้แก่ มีไข้ ปวดท้อง น้ำยาล้างไตขุ่น มีภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ มีภาวะซีด เป็นต้น และมีแผนการรักษาโดยให้ยาปฏิชีวนะในการรักษาทั้งชนิดฉีดและแบบผสมไปกับน้ำยาล้างไตถุงสุดท้ายในแต่ละวัน ในการพยาบาลผู้ป่วยกรณีศึกษาทั้ง 2 รายนี้ พบว่า มีระดับรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อรวมทั้งความยากของการปฏิบัติการพยาบาลแตกต่างกัน โดยผู้ป่วยรายที่ 1 มีปัญหาเกี่ยวกับโภชนาการ มีอาการคลื่นไส้อาเจียน รับประทานอาหารได้น้อย ส่วนผู้ป่วยรายที่ 2 มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคประจำตัว คือ โรคหลอดเลือดหัวใจและเบาหวาน ทำให้มีอาการหายใจลำบาก หอบเหนื่อย และมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง รวมทั้งมีปัญหาสายตามัว ทำให้เป็นอุปสรรคต่อความสามารถในการล้างไตทางหน้าท้อง
สรุป : การศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยที่ล้างไตทางช่องท้อง จะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในเยื่อบุช่องท้องซึ่งการติดเชื้อมีผลกระทบต่อปริมาณน้ำที่ออกจากช่องท้อง ทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา พยาบาลจำเป็นต้องมีความรู้และทักษะในการประเมินอาการและอาการแสดงอย่างครอบคลุม รวมทั้งสังเกตอาการผิดปกติที่จะเกิดขึ้น เพื่อให้การพยาบาลผู้ป่วยได้พ้นจากภาวะวิกฤติ ลดภาวะแทรกซ้อน สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุขในเร็ววัน
References
Fresenius Medical Care.ESRD Patients in 2012: A global perspective. Bed Homburg: Klimaneutral; 2013.
นาตนา รัตนอัมภา. การบพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง. การพยาบาลอายุรศาสตร์เล่ม 2. โครงการตำรา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: เอ็นพีเพลส; 2561: 127-148
เถลิงศักดิ์ กาญจนบุษย์. แนวปฏิบัติการล้างไตทางช่องท้อง. กรุงเทพมหานคร: ศิริวัฒนาอินเตอร์ปริ้น จำกัด(มหาชน); 2556.
อรวมน ศรียุกตศุทธ การบพยาบาลผู้ป่วยโรคไตเสียหายเฉียบพลันและโรคไตเรื้อรัง. การพยาบาลอายุรศาสตร์เล่ม 2. โครงการตำรา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพมหานคร: เอ็นพีเพลส; 2561: 127-148:107-126
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. คู่มือการรักษาด้วยการฟอกเลือดและการกรองพลาสมาสำหรับผู้ป่วยโรคไต พ.ศ. 2561. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 3 พฤษภาคม 2563]. http://www.nephrothai.org/images/คมอการฟอกเลอด_e-book_final.pdf
กรมการแพทย์. คู่มือการล้างไตทางช่องท้องสำหรับประชาชน [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 3 พฤษภาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://203.157.32.43/patana/manual/AW%20Kidney%20Pg%201-80[1].pdf
คณาจารย์สถาบันพระบรมราชขนก. การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุเล่ม 4. พิมพ์ครั้งที่ 9 นนทบุรี: บริษัท ยุทธรินทร์ การพิมพ์ จำกัด; 2550.
งานสารสนเทศ โรงพยาบาลสมุทรปราการ. ข้อมูลสถิติผู้ป่วย.งานศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ โรงพยาบาลสมุทรปราการ:สมุทรปราการ; 2563.
พนิดา เทียมจรรยา, ชมนาด วรรณพรศิริ, ดวงพร หุ่นตระกูล. การดูแลตนเองของผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อของเยื่อบุช่องท้องจากการรักษาด้วยการล้างทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2554; ฉบับที่ 3 : 92-103
ลัดดาวัลย์ หมื่นแก้ว. การพยาบาลผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องที่มีการติดเชื้อในเยื่อบุช่องท้อง. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2562; ปีที่ 16.ฉบับที่2 : 112-122
วราทิพย์ แก่นการ. การพยาบาลแบบองค์รวมผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง: บทบาทท้าทายภายใต้ นโยบาย PD First Policy Holistic Nursing in CAPD Patients: Challenge Role under PD First Policy. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย 2015; Vol 33 No 4: 6-14
วิพร เสนารักษ์. การวินิจฉัยทางการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 9. ขอนแก่น : ขอนแก่นการพิมพ์ ; 2549
สมฤทัย วัชราวิวัฒน์. เภสัชบำบัดในโรคไตเรื้อรัง . กรุงเทพฯ : บริษัท เท็กซ์ แอน เจอนัล พับลิเคชั่น จำกัด; 2560.
สุจิตรา ลิ้มอำนวยลาภ. การพยาบาลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่รักษาด้วยซี เอ พี ดี. ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์; 2544.
โสมพันธ์ เจือแก้ว และ ศิราณี เครือสวัสดิ์. คู่มือการพยาบาล ผู้ป่วยโรคไตวายที่มารับการผ่าตัดใส่สายสวนระยะยาวเพื่อฟอกเลือดในระยะเตรียมก่อนผ่าตัดและระยะตรวจติดตามผลหลังผ่าตัด [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 3 พฤษภาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www2.si.mahidol.ac. th/division/nursing/sins/attachments/article/215/sins_nursing_manual_2558_03.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม