ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ และพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์

ผู้แต่ง

  • กรรณิกา เพ็ชรักษ์ Boromarajonani college of nursing, surin
  • อุตม์ชญาน์ อินทเรือง
  • วรรณชาติ ตาเลิศ
  • พรทิพย์ บุญรอด

คำสำคัญ:

การรับรู้, ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์, พฤติกรรมการดูแลตนเอง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์และพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์

วิธีดำเนินการวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) ในแผนกห้องคลอด โรงพยาบาลปราสาท ระหว่างเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2563 โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) จากการใช้ตารางประมาณค่ากลุ่มตัวอย่างได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง 32 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 แบบสอบถามการรับรู้ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ส่วนที่ 3 แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ทดสอบความเที่ยงของแบบสอบถามโดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ Cronbach’s Alpha ทั้งฉบับได้ค่าเท่ากับ 0.92 แบบสอบถามการรับรู้ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์มีค่าเท่ากับ 0.91 และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์มีค่าเท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ Pearson’s Product Moment Correlation Co-efficient

ผลการวิจัย: 1) การรับรู้ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์โดยภาพรวมอยู่ระดับมาก (=3.29, SD=0.33) 2) พฤติกรรมป้องกันการเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (=3.16, 0.28) 3) การรับรู้ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.691, p < 0.01)

สรุป: หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ยังขาดการปฏิบัติพฤติกรรมด้านการออกกำลังกาย ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และด้านการพัฒนาจิตวิญญาณ จึงควรจัดกิจกรรมที่มีความสอดคล้องหรือสามารถพัฒนาในด้านต่างๆ เหล่านี้ได้ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์เกิดพฤติกรรมที่เหมาะสมในทุกด้าน

 

 

References

คณะอนุกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ 2556-2558. (2558). แนวทางการปฏิบัติของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การดูแลภาวะครรภ์เป็นพิษ. สืบค้น 27 พฤศจิกายน 2563, จาก http://www.rtcog.or.th/home/wp-content/uploads/2020/09/OB-018

Cunningham, F.G. et al. (Eds.). (2014). Williams obstetrics. (23rd ed.). New York: McGraw- Hill Medical.

กลุ่มภารกิจด้านข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศสุขภาพ สำนักนโยบายและ ยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข.สถิติสาธารณสุขอัตรามารดาตาย, 2556.

ศิริพร พงษ์โภคา. การพยาบาลมารดาในระยะคลอด. กรุงเทพ: วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย; 2552.

กนกวรรณ ฉันธนะมงคล. (2555). การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อนทางอายุรกรรมนรีเวช และศัลยกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. สมุทรปราการ: โครงการสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

สถิติการคลอด โรงพยาบาลปราสาท. เวชระเบียนแผนกห้องคลอด โรงพยาบาลปราสาท; 2559.

_______. เวชระเบียนแผนกห้องคลอด โรงพยาบาลปราสาท; 2560.

_______. เวชระเบียนแผนกห้องคลอด โรงพยาบาลปราสาท; 2561.

ศรีเกียรติ อนันต์สวัสดิ์ (บรรณาธิการ). (2552). การพยาบาลสูติศาสตร์ เล่ม 3. (พิมพ์ครั้งที่ 9). นนทบุรี: โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก.

Lee, S., Avers, S. & Holden, D. Risk perception of women during high risk pregnancy: A systematic review. Health, Risk and Society, 2012;14(6):511-531.

กรรณิกา ฉายยิ่งเชี่ยว, สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล และสุพรรณี อึ้งปัญสัตวงศ์. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดในมารดาอายุมาก. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2559;26(3):197-209.

Becker, M.H. The health belief model and sick role behavior. In: the health belief model and personal health behavior. Thorofare. New Jersey: Charles B. Slack; 1974.

นิรัชรา จ้อยชู, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล และวิชชุดา เจริญกิจการ. 2557. ความสัมพันธ์ระหว่างอายุ การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพกับการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบตัน. Rama Nurs J. 2014;20(2):236-248.

เพชรรัตน์ เกิดดอนแฝก, บุญจันทร์ วงศ์สุนพรัตน์, อุมาพร อุดมทรัพยากุล และเฉลิมศรี นันทวรรณ, 2010 การรับรู้ความเสี่ยง ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานตามเกณฑ์ และวิถีชีวิตที่ส่งเสริมสุขภาพในญาติสายตรงลำดับแรกของผู้ที่เป็นเบาหวาน. Rama Nurs J. 2010;16(2): 169-184.

มะไลทอง วาปี, สุกัญญา ปริสัญญกุล และปิยนุช ชูโต. การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรคของการสร้างเสริมสุขภาพและพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของหญิงมีครรภ์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. พยาบาลสาร. 2558;42(2):108-119.

Oken, E., Ning, Y., Rifas-Shimah, S. L., Radesky, J. S., Rich-Edwards, J. W., & Gilman, M. W. (2006). Associations of physical activity and inactivity before and during pregnancy with glucose tolerance. Obstetric & Gynecology, 108, 1200-1207.

สุทธิดา สิงห์ศิริเจริญกุล. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดกับการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 2555;15(2):8-13.

Supawadee Thaewpia และคณะ14 (2012) Thaewpia S, Mary JC, Lois CH, Kathy SJ. Factors predicting health promoting behavior among older pregnant Thais. Pacific Rim Int J Nurs Res. 2012;16(2):113-123.

ศิริหงส์ ซิ้มเจริญ, วันทนา มณีศรีวงศ์กูล และแสงทอง ธีระทองคำ. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความเชื่อเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ การรับรู้ต่อการส่งเสริมสุขภาพกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ชาวไทยมุสลิม. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2555;20(3):36-46.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-02-25