การพยาบาลทารกที่มีภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิดและได้รับการรักษาด้วยการสูดดมก๊าซไนตริกออกไซด์: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • นิศานาถ ชีระพันธุ์ หอผู้ป่วย NICU 1 โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิด, การสูดดมก๊าซไนตริกออกไซด์, การพยาบาล

บทคัดย่อ

ความเป็นมา : ภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิดทำให้ขาดออกซิเจนรุนแรง มีภาวะหายใจล้มเหลว และเสียชีวิตได้  

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการพยาบาลทารกที่มีภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิดและได้รับการรักษาด้วยการสูดดมก๊าซไนตริกออกไซด์ 

วิธีการศึกษา : กรณีศึกษาทารกที่มีภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิดและได้รับการรักษาด้วยการสูดดมก๊าซไนตริกออกไซด์ 2 ราย ประเมินภาวะสุขภาพตามกรอบแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน กำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาล และศึกษาการพยาบาล

ผลการศึกษา : การพยาบาลของทารกทั้ง 2 ราย เพื่อแก้ไขปัญหาและความต้องการในระยะวิกฤต ได้แก่  1) การแลกเปลี่ยนก๊าซบกพร่อง 2) ปริมาณเลือดสูบฉีดออกจากหัวใจลดลง 3) การติดเชื้อปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ 4) ภาวะไม่สมดุลของสารน้ำสารอาหาร และเกลือแร่ในร่างกาย 5) การพัฒนาความผูกพันระหว่างบิดามารดาและทารกยังไม่มั่นคง 6) บิดามารดาไม่สามารถปรับตัวต่อความเครียดได้ และ 7) มีโอกาสเกิดผิวหนังบาดเจ็บจากแรงกด ทารกทั้ง 2 รายได้รับการดูแลผ่านพ้นระยะวิกฤต และจำหน่ายจากโรงพยาบาลได้

ข้อเสนอแนะ : การพยาบาลที่สำคัญ คือ ติดตามอาการเปลี่ยนแปลง ควบคุมอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อม และลดการรบกวนจากสิ่งเร้าภายนอก ผลการศึกษานำไปต่อยอดเป็นแนวทางสำหรับปฏิบัติการพยาบาล

References

1. Tauber KA, Gels GM, Clark DA. Persistent Pulmonary Hypertension of the Newborn (PPHN). Medscape [Internet] 2019 Sep 03. [cited 2019 Sep 28]. Available from: https://emedicine.medscape.com/article/898437-overview.
2. พิมล วงศ์ศิริเดช. Burden of PPHN. ใน: สันติ ปุณณะหิตานนท์, โสภาพรรณ เงินฉ่ำ, อัญชลี ลิ้มรังสิกุล, บรรณาธิการ. Highlights in Neonatal Problems. กรุงเทพมหานคร: แอคทีฟ พริ้นท์ จำกัด; 2561. 404-423.
3. อัญชลี ลิ้มรังสิกุล. Persistent Pulmonary Hypertension of the Newborn. ใน: อนันต์ โฆษิตเศรษฐ, เปรมฤดี ภูมิถาวร, อัญชลี ลิ้มรังสิกุล, พฤหัส พงษ์มี, ณัฐชัย อนันตสิทธิ์, บรรณาธิการ. Ramathibodi Handbook of PICU & NICU. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, 2561. 171-179.
4. Mathew B, Lakshminrusimha S. Persistent Pulmonary Hypertension of the Newborn. Children. 2017 July 4(8):63. doi: 10.3390/children4080063.
5. ฟาริดา อิบราฮิม. ปฏิบัติการพยาบาลตามกรอบทฤษฎีการพยาบาล. กรุงเทพมหานคร: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2554.
6. เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์. การดูแลอุณหภูมิกายในทารกแรกเกิด. ใน: สันติ ปุณณะหิตานนท์, โสภาพรรณ เงินฉ่ำ, อัญชลี ลิ้มรังสิกุล, บรรณาธิการ. Highlights in Neonatal Problems. กรุงเทพมหานคร: แอคทีฟ พริ้นท์ จำกัด; 2561. 341-358.
7. สมศิริ รุ่งอมรรัตน์. การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีความผิดปกติของระบบหายใจ. ใน: วัลยา ธรรมพนิชวัฒน์, สมศิริ รุ่งอมรรัตน์, สุดาภรณ์ พยัคฆเรือง, บรรณาธิการ. การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีความเสี่ยงสูง. กรุงเทพมหานคร: พรี-วัน; 2559. 157-186.
8. พิกุล ขำศรีบุศ. Nursing Care for Neonatal Critical Condition: Neonatal Shock and Hypotension. ใน สันติ ปุณณะหิตานนท์, โสภาพรรณ เงินฉ่ำ, อัญชลี ลิ้มรังสิกุล, น้ำทิพย์ ทองสว่าง, บรรณาธิการ. Critical condition in neonates. กรุงเทพมหานคร: แอคทีฟพริ้นท์ จำกัด; 2559. 140-147.
9. คณะทำงานจัดทำคู่มือการวินิจฉัยการติดเชื้อในโรงพยาบาล สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือวินิจฉัยการติดเชื้อในโรงพยาบาล. กรุงเทพมหานคร: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561.
10. เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์, วีณา จีระแพทย์. การประเมินภาวะสุขภาพทารกแรกเกิด. พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด; 2554.
11. พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกแรกเกิดที่มีความเสี่ยงสูง. ใน: วัลยา ธรรมพนิชวัฒน์, สมศิริ รุ่งอมรรัตน์, สุดาภรณ์ พยัคฆเรือง, บรรณาธิการ. การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีความเสี่ยงสูง. กรุงเทพมหานคร: พรี-วัน; 2559. 77-96.
12. พิกุล ขำศรีบุศ. Nursing Care for Neonates Requiring Mechanical Ventilation. ใน สันติ ปุณณะหิตานนท์, บรรณาธิการ. Advanced Neonatal Care. กรุงเทพมหานคร: แอคทีฟพริ้นท์ จำกัด; 2556. 57-65.
13. นิโรบล กนกสุนทรรัตน์. การดูแลแผลผิวหนังที่เกิดจากแรงกด [อินเทอร์เน็ต]. เข้าถึงเมื่อ 9 พ.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก https://med.mahidol.ac.th/nursing/ACNER/admin/file_doc/ 20190813090819.pdf
14. วัลยา ธรรมพนิชวัฒน์. การวางแผนจำหน่ายทารกแรกเกิดที่มีความเสี่ยงสูง. ใน: วัลยา ธรรมพนิชวัฒน์, สมศิริ รุ่งอมรรัตน์, สุดาภรณ์ พยัคฆเรือง, บรรณาธิการ. การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีความเสี่ยงสูง. กรุงเทพมหานคร: พรี-วัน; 2559. 187-212.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-02-25