ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อความร่วมมือในการดูแลตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่

ผู้แต่ง

  • จินดามัย อังกลมเกลียว ฝ่ายเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน โรงพยาบาลนางรอง

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยรายใหม่, ความดันโลหิตสูง, พฤติกรรมสุขภาพ

บทคัดย่อ

ความเป็นมา : โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่มีความสำคัญอย่างมาก และยังเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคอื่นๆตามมาอีกด้วย การให้สุขศึกษาและการเข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดอัตราการมารับการรักษาตัวที่แผนกฉุกเฉิน ตลอดการนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อความร่วมมือในการดูแลตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่

วิธีดำเนินการศึกษา : การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired sample t-test

ผลการศึกษา : พบว่าหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีระดับความดันโลหิตสูงลดลงได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p-value < 0.05) คะแนนเฉลี่ยความรู้ต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน การรับรู้ต่ออันตรายของโรคแทรกซ้อน ความรู้ต่อการดูแลตนเอง พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p-value < 0.05) และคะแนนเฉลี่ยความเครียดต่ำกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05)

สรุป : การเข้าร่วมกิจกรรม สามารถกระตุ้นให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง และสามารถลดการใช้ยาลงได้ อีกทั้งหน่วยงานยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้และพัฒนากระบวนการดูแลสุขภาพในผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่นๆ

References

1. สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ในเวชปฏิบัติ
ทั่วไป พ.ศ.2562. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่: ทริค ธิงค์. 2562.
2. โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์. ความดันโลหิตสูง ความเสี่ยงของการเกิดโรคแทรกซ้อน;
2560 [เข้าถึงเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2562]. เข้าถึงได้จาก:
https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/472
3.สุมณฑา พรหมบุญ และอรพรรณ พรสีมา. “การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม.” ใน ทฤษฎีการ เรียนรู้แบบมีส่วนร่วม : ต้นแบบการเรียนรู้ทางด้านหลักทฤษฎีและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ .2549.
4. กระทรวงสาธารณสุข กรมสุขภาพจิต. คู่มือฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วม.พิมพ์ครั้งที่ 4
กรุงเทพมหานคร. 2544.
5. ศูนย์คอมพิวเตอร์ โรงพยาบาลนางรอง. ข้อมูลผู้ป่วยความดันโลหิตสูงของผู้มารับบริการ. โรงพยาบาลนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์. 2526.
6. รัชนี วัฒนาเมธี และปัญญ์กรินทร์ หอยรัตน์. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อการควบคุมระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลชลประทาน. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2560;4(3):189-202.
7. ยุภาพร นาคกลิ้ง และปราณี ทัดศรี. ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. 2560;6(1):27-35.
8. ปุณิกา สุ่มทอง, บุญเยี่ยม สุทธิพงศ์เกียรติ, ปรัชพร กลีบประทุม และวาศิณี อาจภัคดี. ผลของโปรแกรมการวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้านโดยประยุกต์ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและแรงสนับสนุนทางสังคมในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลอ่างทอง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. 2562;2(1):1-14.
9. Naomi D.L. Fisher, Liliana E. Fera, Jacqueline R. Dunning, Sonali Desai, Lina Matta, Victoria Liquori, Jaclyn Pagliaro, Erika Pabo, Mary Merriam, Calum A. MacRae, Benjamin M. Scirica. Development of an entirely remote, non-physician led hypertension management program. Clinical Cardiology, 2019; DOI: 10.1002/clc.23141
10. Paulo Carl, G Mejia, Evelyn E Feliciano, Alfredo Z Feliciano, Jonaid M Sadang, Hamdoni Pangandaman, et al. The effectiveness of health education and lifestyle program in improving the blood pressure in hypertensive patients. International Journal of ADVANCED AND APPLIED SCIENCES, 2019; 6(11):21-29.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-02-25