การพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน ด้วยกระบวนการ care management : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • นัทธมน หรี่อินทร์ โรงพยาบาลหนองสองห้อง

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, กระบวนการ care management

บทคัดย่อ

บทนำ : ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มประชากรที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  และเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สถานภาพทางด้านสังคม ก่อให้เกิดภาวะพึ่งพิงตามมา จึงมีความจำเป็นในการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนและศึกษา การพยาบาลดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน ด้วยกระบวนการ care management  

วิธีการดำเนินงาน : เป็นการนำเอากระบวนการ care management ของกรมอนามัยมาใช้ในการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตอำเภอหนองสองห้อง  เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย  แบบบันทึกข้อมูล ทะเบียนรายงาน แฟ้มประวัติครอบครัว  เวชระเบียนผู้ป่วย  การติดตามเยี่ยมบ้าน  การสัมภาษณ์  และการสังเกต ศึกษาผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในอำเภอหนองสองห้องที่ได้รับการดูแลด้วยกระบวนการ care management  ระหว่างเดือน ตุลาคม 2562 – กรกฎาคม 2563 วิเคราะห์ข้อมูลตามกรอบแนวคิดของกระบวนการ care management

 ผลการศึกษา :  ศึกษาผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในอำเภอหนองสองห้องจำนวน 2 ราย

          รายที่ 1 ผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 74 ปี เป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงกลุ่มติดเตียง มีโรคประจำตัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง,ข้อเข่าอักเสบและเบาหวาน ประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันก่อนดูแลได้ 4 คะแนน หลังดูแลได้ 6 คะแนน 

          รายที่ 2 ผู้ป่วยชายไทยอายุ 71 ปี เป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงกลุ่มติดบ้าน มีโรคประจำตัวเป็นความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดสมองประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันก่อนดูแลได้ 6 คะแนน หลังดูแลได้ 8 คะแนน

สรุป : กระบวนการ care  management  เป็นกระบวนการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนโดยมีพยาบาลวิชาชีพเป็นผู้จัดการระบบในการวางแผนการพยาบาลดูแล การประสานความร่วมมือกับชุมชนและสหสาขาวิชาชีพ  ทำให้ได้รับการดูแล ครอบคลุมทั้ง กาย จิต สังคมและ สิ่งแวดล้อม ส่งผลให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

References

กลุ่มพัฒนาระบบสาธารณสุขและสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. ประเด็นสารรณรงค์ วันเบาหวานโลก ปี 2560. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2560.

American Diabetes Association. Guideline ADA 2010 Diabetes care. 2010; 33:523- 548.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. กรุงเทพฯ: บริษัท ร่มเย็นมีเดีย จำกัด; 2560.

สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล. Lean and seamless healthcare. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจำปี 2552 การพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล. นนทบุรี. 2552.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2560. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม; 2560.

งานเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย. รายงานสถิติการบริการโรงพยาบาล พยัคฆภูมิพิสัย ประจำปี 2560. โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย มหาสารคาม; 2560.

Womack, J. P., & Jones, D. T., (1996). Lean thinking – banish waste and create wealth in your corporation. New York: Free Press.

วัชนาภา ชาติมนตรี. การใช้แนวคิดลีนในการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาล: กรณีศึกษาโรงพยาบาลตติยภูมิ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.

เกตนิภา สนมวัฒนะวงศ์. การจัดการแบบลีนประยุกต์ใช้ ในการพัฒนารูปแบบการจัดการการรับใหม่ผู้ป่วยอายุรกรรม งานผู้ป่วยใน 2 โรงพยาบาลท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2553.

วรรณภา สิทธิปาน. ผลของโปรแกรมการตรวจติดตามน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้ต่อระดับน้ำตาลสะสม. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์ คลินิกโรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2558;32 (1): 68-82.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-02-25