การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดลำไส้ใหญ่และทวารหนักผ่านกล้องวิดีทัศน์

ผู้แต่ง

  • ปูริฎา คงไพจิตรวงศ์ ห้องผ่าตัด รพ.ขอนแก่น

คำสำคัญ:

มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก, การผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่ผ่านกล้องวิดีทัศน์

บทคัดย่อ

มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักเป็นมะเร็ง (colorectal carcinoma) ที่พบมากที่สุดเป็นอันดับสาม และเป็นสาเหตุการตายจากมะเร็งอันดับที่สี่ในโลก และพบบ่อยและมีอุบัติการณ์สูงขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศไทย ซึ่งสาเหตุน่าจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิตที่คล้ายคลึงกับชาวตะวันตกร่วมกับการรับประทาน อาหารที่มีไขมันสูงและรับประทานอาหารประเภทที่มีเยื่อไฟเบอร์ลดลง การผ่าตัดถือเป็นการรักษาหลักของมะเร็งในกลุ่มนี้ สำหรับมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักการรักษาโดยการผ่าตัดนั้น หวังผลเพื่อให้หายขาดจากโรค ซึ่งการผ่าตัดมีความยุ่งยากและซับซ้อน เพราะการผ่าตัดแบบผ่านกล้องวิดีทัศน์จำเป็นต้องใช้พยาบาลที่มีความรู้ทักษะเชี่ยวชาญเฉพาะทาง นอกเหนือจากการดูแลผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดแล้ว หน้าที่สำคัญอีกอย่าง คือ การเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆที่จำเป็นในการผ่าตัดให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน เพื่อให้การผ่าตัดมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์ : เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติการพยาบาลในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดลำไส้ใหญ่และทวารหนักผ่านกล้องวิดีทัศน์

วิธีการดำเนินการ : เป็นกรณีศึกษาโดยคัดเลือกผู้ป่วยแบบจำเพาะเจาะจง 2 ราย ที่ได้รับการผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่ผ่านกล้องวิดีทัศน์ในโรงพยาบาลขอนแก่น ระหว่างเดือนมกราคม ถึง เดือนตุลาคม พ.ศ. 2563

กรณีศึกษา : ผู้ป่วย 2 รายได้รับการผ่าตัดลำไส้ใหญ่ผ่านกล้องวิดีทัศน์ ผุ้ป่วยรายที่ 1 ได้รับการตัดต่อลำไส้ใหญ่ที่มีรอยต่อต่ำกว่า Peritoneal reflection  ผู้ป่วยรายที่ 2 ได้รับการผ่าตัดสำไส้ใหญ่ส่วนคดเคี้ยวแล้วต่อส่วนปลายของลำไส้ใหญ่ที่เหลืออยู่เขากับลําไส้ใหญ่ส่วนตรง ในผู้ป่วยรายที่ 1 หลังผ่าตัดมีอาการท้องอืด  ไม่ถ่ายไม่ผายลม แต่ในผู้ป่วยรายที่ 2 ไม่พบอาการผิดปกติ แต่ผู้ป่วยทั้ง 2 ราย ได้รับการผ่าตัดลำไส้ใหญ่แบบผ่านกล้องวิดีทัศน์ ซึ่งเป็นการผ่าตัดที่ต้องอาศัยความชำนาญของทีมเพราะ มีความยุ่งยากซับซ้อนในการเตรียมผู้ป่วยและเครื่องมือในการทำผ่าตัด ให้อยูในสภาพที่พร้อมใช้งานอยู่เสมอ ดังนั้นพยาบาลห้องผ่าตัดจึงจำเป็น  ต้องมีความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วย

สรุปผล : ทำให้เกิดแนวทางการให้การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดลำไส้ใหญ่ผ่านกล้องวิดีทัศน์

References

วิษณุ ปานจันทร์ และคณะ. แนวทางการคัดกรอง วินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และไส้ตรง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โฆสิตการพิมพ์ จำกัด; 2558

Ferlay J, Bray F, Pisani P, Parkin DM. GLOBOCAN 2002: Cancer incidence, mortality and

prevalence worldwide, version 2.0. IARC CancerBase number 5.Lyon: IARC Press, 2004.

วิทูร ชินสว่างวัฒนกุล. Laparoscopic colectomy. ในจักรพันธ์ เอื้อนรเศรษฐ, วีรพัฒน์ สุวรรณธรรมา,

อรุณ โรจนสกุล ( บรรณาธิการ ), ศัลยศาสตร์วิวัฒน์ 26. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร; 2547

ชุมศักดิ์ พฤกษา. มะเร็งลำไส้ใหญ่. นิตยสารใกล้หมอ. 21; 2540

ชาญวิทย์ ตันติ์พิพัฒน์, ธนิต วัชรพุกก์. ตำราศัลยศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง

จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย; 2549

ชุมศักดิ์ พฤกษา. มะเร็งลำไส้ใหญ่. นิตยสารใกล้หมอ. 21; 2540

วิทูร ชินสว่างวัฒนกุล. Laparoscopic colectomy. ในจักรพันธ์ เอื้อนรเศรษฐ, วีรพัฒน์ สุวรรณธรรมา,

อรุณ โรจนสกุล ( บรรณาธิการ ), ศัลยศาสตร์วิวัฒน์ 26. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร; 2547

ประณีต ส่งวัฒนา. หลักการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด. ตำราการพยาบาลผู้ใหญ่ 1 ( ศัลยศาสตร์ ) สงขลา : ชานเมืองการพิมพ์; 2542

กันยา ออประเสริฐ์. กลยุทธ์ในการเยี่ยมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด. วารสารพยาบาลผ่าตัดแห่งประเทศไทย; 2543

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-02-25