การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • รุ่งทิพย์ อารมณ์สวะ Khaowaong Hotpital

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมอง, การพยาบาล

บทคัดย่อ

       

บทนำ : โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่ทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตและเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย หากได้รับการรักษาพยาบาลที่ล่าช้าและไม่ได้มาตรฐาน รวมถึงการเยี่ยมติดตามฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยที่ต่อเนื่อง ดังนั้นพยาบาลต้องมีความรู้ ความสามารถในการประเมินสภาพผู้ป่วย การดูแลรักษาให้ทันเวลาและการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อการฟื้นฟูสภาพร่างกายให้เหมาะสม ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง กรณีศึกษาผู้ป่วย 2 ราย

วิธีการศึกษา : ศึกษาผู้ป่วย 2 ราย เลือกแบบเจาะจง ผู้ป่วยโรคหลอดเลือกสมองที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเขาวง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูล รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน โดยการสัมภาษณ์ญาติหรือผู้ดูแล วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง พยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การรักษาและข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล การวางแผนการจำหน่าย การฟื้นฟูสภาพที่บ้านและระบบการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง

ผลการศึกษา : กรณีศึกษารายที่ 1 ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 54 ปี อาการสำคัญ ซึมไม่รู้สึกตัว นอนเป่าปาก เป็นก่อนมาโรงพยาบาล 1 ชั่วโมง ได้รับการวินิจฉัย Ischemic Stroke ประเมิน Stroke non Fast Track ส่งต่อโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ได้รับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ เมื่อพ้นภาวะวิกฤตส่งตัวผู้ป่วยกลับมาดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพ รวมระยะเวลาการดูแลจนผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้ใช้เวลา 5 เดือน กรณีศึกษาที่ 2 ผู้ป่วยชายไทย อายุ 53 ปี อาการสำคัญ แขน ขา ข้างซ้ายอ่อนแรง ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด เป็นก่อนมาโรงพยาบาล 30 นาที ได้รับการวินิจฉัย Hemorrhagic Stroke ประเมิน Stroke Fast Track ส่งต่อโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้รับยา Recombinant tissue Plasminogen activator ทางหลอดเลือดดำ เมื่อพ้นภาวะวิกฤตส่งตัวผู้ป่วยกลับมาดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพ รวมระยะเวลาการดูแลจนผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้เบื้องต้นใช้เวลา 4 เดือน  

สรุป : การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าพยาบาลเป็นผู้มีบทบาทสำคัญ ในการประเมินและค้นหาปัญหาของผู้ป่วยตั้งแต่แรกรับและการเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาท ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาพยาบาลที่รวดเร็ว ทันเวลา เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยและมีระบบการติดตามผู้ป่วยให้ได้รับการดูแล ฟื้นฟูสภาพร่างกาย เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนเมื่อกลับมาอยู่ที่บ้าน นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้ญาติ ผู้ดูแลและเครือข่ายมีความรู้ในการดูแลฟื้นฟูและลดปัจจัยในโอกาสการกลับเป็นซ้ำ

References

World Strok Organization : ( WSO ).Campaign AdvocacyBrochures 2017. [สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2563] Retrieved from URL http://www.World strok campaign.org /… – 2017

กรรณิการ์ คงบุญเกียรติ และคณะ.การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดในเวชปฏิบัติ. ขอนแก่น : ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2561

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข : ข้อมูลข่าวสารสุขภาพกระทรวงสาธารสุข สถิติสาธารณสุข ปี 2562 . [สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2563] ; แหล่งข้อมูล URL http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/statistic62.pdf

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ . ข้อมูลผู้ป่วยจากฐานระบบ HeaHh data Center . กาฬสินธุ์ ,สาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ : 2561.

นิภาพร บุตรสิงห์. การพยาบาลผู้ป่วยหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน . วารสารสภาการพยาบาล : 34 (3), 2562 ; 15-29.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข . คู่มือโรคหลอดเลือดสมองสำหรับประชาชน พิมพ์ครั้งที่9 .กรุงเทพฯ: สถาบันประสาทวิทยา ; 2560

สมจิต หนุเจริญกุล. การพยาบาลทางอายุรศาสตร์ เล่ม 2 พิมพ์ครั้งที่ 14.กรุงเทพ:โรงพิมพ์ วี เจ พริ้นติ้ง; 2546.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-02-25