การพยาบาลมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องที่มีภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรก : กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง, การตกเลือดหลังคลอดบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องที่มีภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรก เปรียบเทียบ 2 กรณีศึกษา ในมารดาที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยสูติกรรม โรงพยาบาลมหาสารคาม ในปี 2562 รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน การสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบตามแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน 11 แบบแผน พยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การรักษา ข้อวินิจฉัยการพยาบาลและผลลัพธ์ทางการพยาบาล
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยรายที่ 1 ตั้งครรภ์ครั้งที่ 2 ได้รับการผ่าตัดคลอดบุตรร่วมกับทำหมัน หลังผ่าตัดพบว่ามีเลือดออกในช่องท้อง แพทย์ทำการผ่าตัดเปิดหน้าท้องซ้ำ สาเหตุการตกเลือดจาก Right fallopian tube bleeding at stump สูญเสียเลือด 3,500 มิลลิลิตร รักษาตัวในโรงพยาบาล 5 วัน ผู้ป่วยรายที่ 2 ตั้งครรภ์ครั้งที่ 2 ส่งต่อจากโรงพยาบาลชุมชนเนื่องจากภาวะศีรษะไม่ได้สัดส่วนกับช่องเชิงกราน ได้รับการผ่าตัดคลอดบุตร ทางหน้าท้อง หลังผ่าตัดพบว่ามีเลือดออกมากเนื่องจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดี แพทย์ทำการหยุดเลือดโดยการใส่ condom uterine balloon tamponade สูญเสียเลือด 2,450 มิลลิลิตร รักษาตัวในโรงพยาบาล 7 วันพยาบาลวิชาชีพควรมีความรู้และทักษะในการประเมินปัจจัยเสี่ยง และให้การพยาบาลในระยะวิกฤตได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยให้มารดาหลังคลอดปลอดภัย ไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง และลดอัตราตายของมารดาได้
References
World Health Organization, UNICEF. 2014. Trends in maternal mortality: 1990 to 2013: estimates by WHO, UNICEF, UNFPA. The World Bank and the United Nations Population Division: Retrieved from http://apps.who.int/iris/ bitstream/10665/112682/2/9789241507 226_eng.pdf?ua=1.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.รายงานมารดาตายไทย. [อินเทอร์เน็ต] 2561.[เข้าถึงเมื่อวันที่14 กรกฎาคม2562].เข้าถึงได้จาก:http://www.amamai.moph.go.th.
นิตยา สินสุกใส.ภาวะตกเลือดหลังคลอด:บทบาทพยาบาล. ใน เพิ่มศักดิ์ สุเมฆศรี, นาเรศ วงศ์ไพฑูรย์, พจนีย์ ผดุงเกียรติวัฒนา,และณัฐฐิณี ศรีสันติโรจน์,บรรณาธิการ. ก้าวหน้าไปด้วยกันเพื่อการบริบาลปริกำเนิด 4.0. กรุงเทพฯ: ยูเนี่ยน ครีเอชั่น ;2560.หน้า 91-96.
Carroll, M., Daly, D. and Begley, C.M. The prevalence of women’s emotional and physical health problems following a postpartum hemorrhage: a systematic review. BMC Pregnancy and Childbirth. 2016; 16(1): 261
ปทุมมา กังวานตระกูล,อ้อยอิน อินยาศรี.การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือด ในระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอดในห้องคลอด โรงพยาบาลอดุรธานี .วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี. 2560;33(2):121-33.
นันทพร แสนศิริพันธ์ และฉวี เบาทรวง ,บรรณาธิการ.การพยาบาลและผดุงครรภ์สตรีที่มีภาวะแทรกซ้อน.พิมพ์ครั้งที่2.เชียงใหม่:สมาร์ทโคดติ้ง แอน เซอร์วิส;2561.
การสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีแห่งประเทศไทย พ.ศ.2558-2559.สำนักงานสถิติแห่งชาติ,2559
[อินเทอร์เน็ต] 2559 .[เข้าถึงเมื่อวันที่14 กรกฎาคม2562].เข้าถึงได้จาก http://www.nso.go.th.
.นิติพร อยู่แก้ว.อัตราการผ่าตัดคลอดตามระบบร้อบสัน.วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย2560;7(3):262-71.
Pillitteri A. Maternal & child health nursing care of the childbearing & childbearing family. 5th ed. Philadelphia: Lippincott Williams &Wikins; 2007.
Kamilya,G, Seal.S.L.,Mukherji.J.,Bhattacharya,S.K.,and Hazra,A. et al. Maternal mortality and cesarean delivery :An Analytical observation study. The journal Obstetric and Gynaecology research2010; 36:248-253.
O’Brien, D. Post anesthesia care of the gastrointestinal abdominal and anorectal surgical patient. In C.B. Drain (Eds.), The Post anesthesia care unit: A critical care approach to Post anesthesia nursing.3rd. Philadelphia:W.B.Saunder ; 1994.
โรงพยาบาลมหาสารคาม.กลุ่มการพยาบาล.สถิติหอผู้ป่วยสูติกรรม ปี2559-2561.มหาสารคาม:โรงพยาบาล; 2561 .
Briley A, Seed PT ,Tydeman G, Ballard H, Waterstone M, Sandall J ,etal. Reporting errors, incidence and risk factors for postpartum haemorrhage and progression to severe PPH: a prospective observational study. BJOG 2014;121(7):876-88.
แสงโสม ช่วยช่วง.ผลของการใช้แนวทางการประเมินสัญญาณเตือนการเข้าสู่ภาวะวิกฤต (MEWS)
ในการประเมินและเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงผู้ป่วยในห้องตรวจสวนหัวใจโรงพยาบาลตรัง.วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก2561;29(1):72-83.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม