ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ในหอผู้ป่วยวิกฤตเด็ก โรงพยาบาลมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • เก่งกาจ อุ่นฤทธิ์

คำสำคัญ:

ภาวะปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ, ผู้ป่วยเด็ก, หอผู้ป่วยวิกฤตเด็ก

บทคัดย่อ

บทนำ : ภาวะปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ (Ventilator-associated pneumonia; VAP) ในหอผู้ป่วยวิกฤตเด็ก เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย ซึ่งมีผลต่ออัตราตายและความพิการที่เพิ่มสูงขึ้น

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และเปรียบเทียบผลกระทบจากการเกิด VAP ในผู้ป่วยวิกฤตเด็ก

วิธีการศึกษา : การศึกษาเชิงพรรณาแบบวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลัง ในผู้ป่วยเด็กทุกราย ที่ใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจอย่างน้อย 48 ชั่วโมง ในหอผู้ป่วยวิกฤตเด็ก โรงพยาบาลมหาสารคาม ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2559 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2562 โดยวิธีรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน

ผลการศึกษา : ผู้ป่วยเด็กมีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์คัดเข้าศึกษา จำนวน 198 ราย พบการเกิด VAP จำนวน 37 ราย คิดเป็นร้อยละ 18.69 วิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบตัวแปรพหุ พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิด VAP ในผู้ป่วยวิกฤตเด็ก ได้แก่ การใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำ (Adjusted odds ratio (ORAdj 3.26; 95%CI 1.46–7.30, p = .004) ภาวะ neuromuscular disease (ORAdj 9.75; 95%CI 2.29–41.41, p = .002) ภาวะ sepsis (ORAdj 3.25; 95%CI 1.33–7.93, p = .01) และ ภาวะ COMA (GCS ≤ 8คะแนน) (ORAdj2.36; 95%CI 1.00–5.55, p = .05) พบว่าผู้ป่วยกลุ่มที่เกิด VAP มีระยะเวลาการใช้เครื่องช่วยหายใจ (16.54 day vs 5.35day ; p < .001) ระยะเวลาวันนอนหอผู้ป่วยวิกฤต (18.76 day vs 6.73 day; p < .001) และค่ารักษาพยาบาล (176,296.9 บาท vs 54,557.49 บาท; p < .001) สูงกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ไม่เกิด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนการเสียชีวิตพบว่า ทั้ง 2 กลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน (75 % vs 25 %; p = .701)

สรุปผลการศึกษา : การใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำ ภาวะ neuromuscular disease ภาวะ sepsis และภาวะ COMA มีความสัมพันธ์กับการเกิด VAP ในผู้ป่วยวิกฤตเด็ก และ VAP ส่งผลให้ระยะเวลาการใช้เครื ่องช่วยหายใจ ระยะเวลาวันนอนหอผู้ป่วยวิกฤตและค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น

 

References

GadappaSM &BeheraM K. Ventilator associated pneumonia: incidence, profile and outcome in pediatric intensive care unit of tertiary care centre. Int J ContempPediatr. 2018; 5(6):2098-2102

Vijay G, Mandal A, Sankar J, Kapil A, Lodha R, Kabra SK. Ventilator Associated Pneumonia in Pediatric Intensive Care Unit: Incidence, Risk Factors and Etiological Agents. Indian J Pediatr. 2018; 85(10):861 – 866. doi:10.1007/s12098-018-2662-8

Lee MS, Walker V, Chen LF, Sexton DJ, Anderson DJ. The epidemiology of ventilator-associated pneumonia in a network of community hospitals: a prospective multicenter study. Infect Control HospEpidemiol. 2013;34(7):657–662. doi:10.1086/670991

ขวัญผกา ปรางทอง, และวรวรรณ เปี่ยมสุวรรณ.การเกิดปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยเด็กวิกฤตทางเดินหายใจ โรงพยาบาลศิริราช. วารสารกุมารเวชศาสตร์. 2555; 1:50 – 57

Hunter J.D.Ventilator associated pneumonia. BMJ 2012;344:e3325 doi: https://doi.org/10.1136/bmj.e3325

Ranes JL, Gordon SM, Chen P, Fatica C, Hammel J, Gonzales JP, Arroliga AC.Predictors of long-term mortality in patients with ventilator-associated pneumonia. Am J Med. 2006; 119(10):897.e13-9.

ณัฐกา รุจีรไพบูลย์. ปัจจัยเสี่ยงและผลลัพธ์ของโรคปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในทารกแรกเกิด. วารสารวิชาการแพทย์. 2562; 33(2); 233–242

Thatrimontrichai A, Rujeerapaiboon N, Janjindamai W, Dissaneevate S, Maneenil Kritsaneepaiboon S, et al. Outcome and risk factors of ventilator-associated pneumonia in neonates.World J Pediatr 2017;13:328-334.

Gautam A, Ganu SS, Tegg OJ, Andresen DN, Wilkins BH, Schell DN.Ventilator – associated pneumonia in a tertiary paediatric intensive care unit: a 1-year prospective observational study. Crit Care Resusc. 2012; 14(4):283 -289.

Brilli RJ, Sparling KW, Lake MR, Butcher J, Myers SS, Clark MD,et al. The Business Case for Preventing Ventilator-Associated Pneumonia in Pediatric Intensive Care Unit Patients. JtComm J Qual Patient Saf. 2008;34(11):629-638.

Galal YS, Youssef MR, Ibrahiem SK. Ventilator-Associated Pneumonia: Incidence, Risk Factors and Outcome in Paediatric Intensive Care Units at Cairo University Hospital. J ClinDiagn Res. 2016;10(6):SC06–SC11. doi:10.7860/JCDR/2016/18570.7920

He S, Chen B, Li W, Yan J, Chen L, Wang X, et al.Ventilator-associated pneumonia after cardiac surgery: a meta-analysis and systematic review. J ThoracCardiovasc Surg. 2014;148(6):3148-55.e1-5. doi: 10.1016/j.jtcvs.2014.07.107. Epub 2014 Aug 14.

Liu B, Li SQ, Zhang SM, Xu P, Zhang X, et al. Risk factors of ventilator-associated pneumonia in pediatric intensive care unit: a systematic review and meta-analysis. J Thorac Dis. 2013;5(4):525–531. doi:10.3978/j.issn.2072-1439.2013.08.31

Centers for Disease Control and Prevention.Guidelines for preventing health –careassociater pneumonia.(2009)from http:// www.cdc.gov.

Hosmer DW, Lemeshow S. Applied logistic regression. 2nd Edition, John Wiley & Sons, Inc., New York. 2000

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-12