การพัฒนาแบบบันทึกการดูแลผู้รับบริการหลังได้รับยาระงับความรู้สึก ในห้องพักฟื้น โรงพยาบาลมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ดวงแก้ว พรรณพราว
  • นงเยาว์ มีเทียน

คำสำคัญ:

แบบบันทึกการพยาบาลหลังได้รับยาระงับความรู้สึก, การดูแลผู้รับบริการหลังได้รับยาระงับความรู้สึก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาแบบบันทึกการดูแลผู้รับบริการหลังได้รับยาระงับความรู้สึกในห้องพักฟื้น โรงพยาบาลมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม

วิธีดำเนินการศึกษา : เป็นการวิจัยและพัฒนาใช้แนวคิดของกระบวนการพยาบาล กลุ่มตัวอย่าง คือ วิสัญญีแพทย์ (6 คน) และพยาบาลวิสัญญี (25 คน) คัดเลือกแบบเจาะจง การศึกษาแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ วิเคราะห์สถานการณ์ ดำเนินการพัฒนาแบบบันทึก และประเมินผลลัพธ์ เครื่องมือวิจัย คือ 1) แบบบันทึกการพยาบาล, 2) แบบประเมินคุณภาพการบันทึก และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ (ค่าความเชื่อมั่น 0.93) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการศึกษา : การพัฒนาแบบบันทึกการพยาบาลหลังได้รับยาระงับความรู้สึก โดยปรับปรุงและมีสัญลักษณ์ให้ชัดเจนขึ้น และเพิ่มข้อมูลที่ยังไม่ครอบคลุม ประกอบด้วย 1) การวินิจฉัยโรคและรายชื่อของวิสัญญีแพทย์ 2) การประเมินคลื่นไฟฟ้าหัวใจ แรงดันหลอดเลือดดำส่วนกลาง ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด อัตราการหายใจ ระดับความรู้สึกตัวกำลังของกล้ามเนื้อแขน-ขา การคั่งของกระเพาะปัสสาวะ ภาวะคลื่นไส้อาเจียน และการประเมินความพร้อมก่อนกลับบ้าน 3) การให้สารน้ำ/เลือด และยาแก้ปวดครั้งสุดท้าย 4) ผลการประเมินสัญญาณชีพ และระดับความรู้สึกตัว ทั้งระยะแรกรับก่อนและส่งกลับหอผู้ป่วย คุณภาพของแบบบันทึกโดยรวม และความพึงพอใจต่อการใช้แบบบันทึกอยู่ในระดับมาก
สรุปผล : แบบบันทึกที่พัฒนาขึ้นสามารถประเมินสภาพปัญหา/ภาวะแทรกซ้อนของผู้รับบริการได้อย่างครอบคลุม สู่การนำมาวางแผน ให้การดูแลผู้รับบริการได้อย่างเหมาะสม ทันเวลา และผู้รับบริการได้รับความปลอดภัยมากขึ้น

References

กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. การประกันคุณภาพการพยาบาล: การประเมินคุณภาพการบริการพยาบาลวิสัญญี. กรุงเทพฯ: บริษัทสามเจริญพาณิชย์ จำกัด, 2554.

งานเวชระเบียนกลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลมหาสารคาม. สรุปรายงานผู้รับบริการวิสัญญี ปี 2556-2560. กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลมหาสารคาม, 2560.

เพ็ญศิริ พุ่มหิรัญ. การดูแลผู้ป่วยหลังได้รับการระงับความรู้สึก. ใน. เบญจรัตน์ หยกอุบล, อรลักษณ์ รอดอนันต์, ฐิติกัญญา ดวงรัตน์ และ นรุฒน์ เรือนอนุกูล. (บรรณาธิการ), วิสัญญีบริบาลทันยุค เล่มที่ 1. ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ : บริษัท ลักกี้ สตาร์ มีเดีย จำกัด, 2558.

กองการพยาบาล. สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข. การควบคุมคุณภาพพยาบาล เล่ม 5 . พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ธรรมศาสตร์, 2539.

Bloom, B.S. Toxonomy of education objectives, Handbook 1: Cognitive domain. New York: David Mckay, 1975.

Chung F. Are discharge criteria changing? J Clin Anesth, 1993; 5 : 645.

Aldrete J.A. The post anesthesia recovery score revised. J Clin Anesth, 1995; 7 : 89.

McCaffery, M. What is the role of nondrug methods in the nursing care of patient with acute pain? Pain Management Nursing, 2002; 3, 77-80.

จรัญญาณี ภูวสันติ. การพัฒนาการบันทึกทางการพยาบาลประจำการแผนกผู้ป่วยในและ ห้องคลอด โรงพยาบาลชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. (รายงานการศึกษาอิสระ ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต). ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2548.

ศิริพร ขัมภลิขิต. บันทึกทางการพยาบาล: ความสำคัญและปัญหา. Retrieve from http://www.net.au.edu/record.ppt,2548.

นิตยา ศรีญาณลักษณ์. การบริหารการพยาบาล. (ม.ป.ท). กรุงเทพฯ: โครงการสวัสดิการวิชาการสถาบันพระบรมราชชนก. กระทรวงสาธารณสุข,2545.

พวงเพชร สุริยะพรหม. การพัฒนารูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลของกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลน่าน. วารสารกองการพยาบาล, 2553 : 37(2) ; 8-9 .

พนิดา เขตอริยกุล. การพัฒนาการบันทึกทางการพยาบาลของพยาบาลประจำการงานผู้ป่วยในโรงพยาบาลขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์). ขอนแก่น : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2549.

อรอนงค์ สีหนาถ. การพัฒนาแบบบันทึกทางการพยาบาลตามกระบวนการพยาบาลผู้ป่วยหลังได้รับยาระงับความรู้สึกในห้องพักฟื้น กรณีศึกษา: โรงพยาบาลพังโคน อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร.วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร,2557 : 6(12) ; 155-162.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-14