อุบัติการณ์การเกิดภาวะปัสสาวะคั่งหลังผ่าตัดและระยะเวลาที่ผู้ป่วยสามารถปัสสาวะ ได้เองภายหลังการฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลังในการผ่าตัดไส้เลื่อน และริดสีดวงทวาร ในโรงพยาบาลยโสธร

ผู้แต่ง

  • ธนาพร นันต์ธนพานิช

บทคัดย่อ

บทนำ : ภาวะปัสสาวะคั่งหลังผ่าตัดภายหลังการฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลังเป็นสาเหตุให้เกิดความเจ็บปวด ไม่สุขสบาย ภาวะแทรกซ้อนต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด การบาดเจ็บและติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ พบอุบัติการณ์แตกต่างกันมากตั้งแต่ร้อยละ 0-69 ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้าน ส่งผลให้การฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลังไม่ได้รับความนิยมในการบริการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ

วัตถุประสงค์ : เพื่อทราบถึงอุบัติการณ์การเกิดภาวะปัสสาวะคั่งหลังผ่าตัดและระยะเวลาที่ผู้ป่วยสามารถปัสสาวะได้เองภายหลังการฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลังในการผ่าตัดไส้เลื่อนและริดสีดวงทวารในโรงพยาบาลยโสธร

วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบไปข้างหน้า ในผู้ป่วยผ่าตัดไส้เลื่อนและริดสีดวงทวารที่ได้รับการฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลังจำนวน 105 ราย ผู้ป่วยได้รับ preload ด้วย NSS 5 มล./กก. ใช้ปริมาณยาชา 0.5% heavy Marcaine 2.4-3.0 มล.ในการผ่าตัดไส้เลื่อนและ 1 มล.ในการผ่าตัดริดสีดวงทวาร ผู้ป่วยจะได้รับ Dynastat 40 มก.และ 0.25% Marcaine 10-20 มล.สำหรับทำ ilioinguinal nerve block และฉีดบริเวณเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง หลังผ่าตัดผู้ป่วยจะได้รับ Paracetamol และ NSAIDs เก็บข้อมูลจำนวนผู้ป่วยที่ไม่สามารถปัสสาวะได้เองภายใน 8 ชม.ที่ได้รับการสวนปัสสาวะทิ้ง

ผลการศึกษา : จากผู้ป่วยทั้งสิ้น 105 ราย ไม่พบว่ามีภาวะปัสสาวะคั่งหลังผ่าตัดจนต้องได้รับการรักษาโดยการสวนปัสสาวะทิ้ง และผู้ป่วยทุกคนสามารถปัสสาวะได้เองภายใน 8 ชั่วโมง(ร้อยละ100) พบว่าปริมาณสารน้ำและปริมาณยาชามีความสัมพันธ์กับระยะเวลาที่ผู้ป่วยสามารถปัสสาวะได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

สรุป : การลดอุบัติการณ์ปัสสาวะคั่งหลังผ่าตัดในผู้ป่วยผ่าตัดไส้เลื่อนและริดสีดวงทวารภายหลังได้รับการฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง สามารถทำได้โดยคัดเลือกผู้ป่วยความเสี่ยงต่ำ ลดปัจจัยเกี่ยวข้อง อื่นๆ ได้แก่ ให้ผู้ป่วยปัสสาวะก่อนทำหัตถการ ลดการให้สารน้ำที่มากจนเกินไป ใช้ยาชาในปริมาณที่น้อยที่สุด การจัดการกับความปวดหลังผ่าตัดที่ดี

 

References

ธิดา ยุคันตวรานันท์. การพัฒนาระบบการบริการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ ในเขตสุขภาพที่ 10. วิสัญญีสาร. 2016 ; 42(2) : s116-25.

ธวัช ชาญชญานนท์, เนาวรัตน์ บุญยตา. Anesthesia for Ambulatory surgery [internet]. Available from: http://medinfo2.psu.ac.th/anesth/education/Ambulatory.html

ศศิกานต์ นิมมานรัชต์. การระงับความรู้สึกเฉพาะส่วน. ใน: วิรัตน์ วศินวงศ์ , ธวัช ชาญชญานนท์, ศศิกานต์ นิมมานรัชต์, ธิดา เอื้อกฤดาธิการ, บรรณาธิการ. ตำราวิสัญญีพื้นฐาน. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์ ; 2552 : 383-418.

Baldini G, Bagry H, Aprikian A, Carli F. Postoperative urinary retention: anesthetic and perioperative considerations. Anesthesiology ,2009 ; 110 : 1139-57.

Nupur Chakravorty, Devashish Chakravorty, R. C. Agarwal. Spinal anesthesia in the ambulatory setting – a review. Indian J Anaesth 2003 ; 47(3) : 167-173.

Michael F. Mulroy, Susan B. McDonald: Regional anesthesia for outpatient surgery. Anesthesiology 2003 ; 3 : 289–303.

Kritika Agrawal, Satyajit Majhi, Rakesh Garg. Post-operative urinary retention: Review of literature. World J Anesthesiology 2019 ; 8(1) : 1-12.

Axelsson K, Mollefors K, Olsson JO, Lingardh G, Widman B.Bladder function in spinal anaesthesia. ActaAnaesthesiolScand 1985; 29 : 315–21.

Lau H, Lam B: Management of postoperative urinary retention: A randomized trial of in-out versus overnight catheterization. ANZ J Surg 2004 ; 74 : 658–61.

Zaheer S, Reilly WT, Pemberton JH, Ilstrup D: Urinary retention after operations for benign anorectal diseases. Dis Colon Rectum 1998 ; 41 : 696–704.

Michael F. Mulroy, Francis V. Salinas, Kathleen L.Ambulatory surgery patients may be discharged before voiding after short-acting spinal and epidural anesthesia. Anesthesiology 2002 ; 97 : 315–319.

Bailey HR, Ferguson JA. Prevention of urinary retention by fluid restriction following anorectaloperations. Dis Colon Rectum 1976 ; 19 : 250-252.

Kamphuis ET, Ionescu TI, Kuipers PW, de Gier J, vanVenrooij GE, Boon TA. Recovery of storage and emptying functions of the urinary bladder after spinal anesthesia with lidocaine and with bupivacaine in men. Anesthesiology 1998 ; 88 : 310–316.

Mulroy MF, Salinas FV, Larkin KL, Polissar NL: Ambulatory surgery patients may be discharged before voiding after short-acting spinal and epidural anesthesia. Anesthesiology 2002 ; 97 : 315–319.

Toyonaga T, Matsushima M, Sogawa N, Jiang SF, Matsumura N, Shimojima Y. Postoperative urinary retention after surgery for benign anorectal disease: potential risk factors and strategy for prevention. Int J Colorectal Dis 2006 ; 21 : 676-682.

Stephen Choi, Padraig Mahon, Imad T. Awad. Neuraxial anesthesia and bladder dysfunction in the perioperative period: a systematic review. Can J Anesth/J Can Anesth 2012 ; 59 : 681–703.

Faas CL, Acosta FJ, Campbell MD, O’Hagan CE, Newton SE, Zagalaniczny K. The effects of spinal anesthesia versus epidural anesthesia on 3 potential postoperative complications: Pain, urinary retention, and mobility follow inginguinal herniorrhaphy. Aana J 2002 ; 70 : 441–447.

Fritz WT, George L, Krull N, Krung J. Utilization of a home nursing protocol allows ambulatory surgery patients to be discharged prior to voiding. Anesth Analg.1997 ; 84 : S6.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-15