การพัฒนาสร้างมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะเนื้อเยื่อขาดออกซิเจน ในห้องตรวจอายุรกรรมทั่วไป แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • นันท์ชญาน์ นฤนาทธนาเสฏฐ์

บทคัดย่อ

ความเป็นมา : มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะเนื้อเยื่อขาดออกซิเจน สำคัญต่อการปฏิบัติงานทางการพยาบาล เพื่อความเชื่อมั่นในการปฏิบัติต่อผู้ป่วยที่มารับบริการงานผู้ป่วยนอก

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาและสร้างมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อภาวะเนื้อเยื่อขาดออกซิเจน และความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ ห้องตรวจทางอายุรกรรมทั่วไป ต่อการใช้มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อภาวะเนื้อเยื่อขาดออกซิเจน แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาสารคาม

วิธีดำเนินการวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้รับบริการที่มารับบริการที่ตรวจอายุรกรรมทั่วไป แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาสารคาม ในปี 2562 จำนวน 10 คน และพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในห้องตรวจอายุรกรรมทั่วไป แผนกผู้ป่วยนอก จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่
แบบบันทึกปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาล และแบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการปฏิบัติตามร่างมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อภาวะเนื้อเยื่อขาดออกซิเจน ใช้แบบประเมินค่า Rating scale 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา : การพัฒนาสร้างมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยที ่เสี ่ยงต่อภาวะเนื้อเยื่อขาดออกซิเจน ในห้องตรวจอายุรกรรมทั่วไป แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาสารคาม แบ่งเป็น 6 มาตรฐาน ประกอบด้วย 1) การคัดกรอง ซักประวัติ และจัดลำดับความเร่งด่วน 2) การเฝ้าระวังผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อภาวะเนื้อเยื่อขาดออกซิเจน 3) การดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะเนื้อเยือขาดออกซิเจน 4) ผู้ป่วยได้รับการดูแลขณะรอตรวจ 5) การลดความวิตกกังวลเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยและการรักษาพยาบาล และ 6) มาตรฐานการส่งต่อรับการรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่องที่หอผู้ป่วยหรือห้องอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน และผลการศึกษาระดับความพึงพอใจแบ่งเป็นลักษณะงานแต่ละรายข้อของพยาบาลวิชาชีพต่อการปฏิบัติตามมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อภาวะเนื้อเยื่อขาดออกซิเจน การเป็นอิสระในงาน ความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด gif.latex?\bar{x} = 128.6, (SD =9.74)

References

สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์. มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ; 2551.

ศูนย์ข้อมูลและสานสนเทศ โรงพยาบาลมหาสารคาม ; 2562.

อรุโณทัย ศิริอัศวกุล. การบำบัดด้วยออกซิเจน (Oxygen therapy) ; 2006. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.si.mahidol.ac.th/anesth/undergrad/(วันที่ค้นข้อมูล://18 พฤษภาคม 2562)

เพ็ญจันทร์ เสรีวิวัฒนา. มโนทัศน์เกี่ยวกับการผันแปรออกซิเจน. ใน : ปราณี ทู้ไพเราะ และคณะบรรณาธิการ. การพยาบาลอายุรศาสตร์1,กรุงเทพมหานคร : หจก.เอ็นพีเพรส ; 2557.

Mason EJ. How to write meaningful nursing standard. 3nded. New York : DelmarPublishers Inc,1994.

กฤตติกา พลสุภาพพจน์.การสร้างมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อภาวะช็อค ห้องตรวจอายุรกรรมทั่วไป แผนกผู้ป่วยนอก รงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์
สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ; 2553.

อวยพร กิตติเจริญรัตน์,ศิริพรสังขมาลย์. การสร้างมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจ ชนิดเปิด. วารสารกองการพยาบาล, 2554 ; 38 : 6-18.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-15