การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์นอกมดลูก: กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • นุชจรินทร์ ทองโรจน์

บทคัดย่อ

ความเป็นมา : การตั้งครรภ์นอกมดลูกเป็นภาวะฉุกเฉินทางนรีเวชที่มีความเสี่ยงสูงในสตรีวัยเจริญพันธุ์ หากเกิดการแตกของท่อนำไข่จะทำให้เกิดภาวะช็อกจากการตกเลือดในช่องท้อง อาจทำให้มีอันตรายถึงชีวิตได้ จึงต้องมีการดูแล และสังเกตอาการโดยพยาบาลอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องในการดูแลหญิงตั้งครรภ์นอกมดลูกให้ได้ตามมาตรฐานการพยาบาล

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลตามมาตรฐานการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์นอกมดลูก จำนวน 2 ราย

วิธีการศึกษา : เป็นกรณีศึกษาหญิงตั้งครรภ์นอกมดลูก 2 ราย ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมหาสารคาม ปี 2562 โดยศึกษาจากประวัติการรักษาพยาบาล ข้อมูลจากผู้ป่วย ญาติจากเวชระเบียน ใช้แบบประเมิน 11 แบบแผนของกอร์ดอน นำมากำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล และแก้ไขปัญหาสุขภาพโดยใช้กระบวนการพยาบาล 5 ขั้นตอน ตั้งแต่แรกรับจนถึงจำหน่าย

ผลการศึกษา : กรณีศึกษาที่1 หญิงไทย วัยเจริญพันธุ์ ตั้งครรภ์ครั้งที่2 แท้ง 1 ครั้ง มีอาการปวดท้องน้อยมากมา 30 นาที ตรวจอัลตร้าซาวด์ พบการตั ้งครรภ์นอกมดลูกบริเวณ ท่อนำไข่ข้างขวาแตก มีภาวะช็อก และได้รับการผ่าตัดด่วน หลังผ่าตัดฟื้นดี รู้สึกตัวดี ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนใดๆรวมระยะการรักษาตัวในโรงพยาบาล 3 วัน กรณีศึกษาที่ 2 เป็นหญิงไทยวัยเจริญพันธุ์ ตั้งครรภ์ครั้งที่ 3 หลังคลอดบุตรคนที่ 2 ได้ทำหมัน มีอาการปวดหน่วงท้องน้อยด้านซ้ายมา 1 สัปดาห์ ร่วมกับมีเลือดออกทางช่องคลอด ส่งตรวจ Urine Pregnancy test (UPT) พบว่า ผลตรวจเป็นบวก (Positive) ตรวจอัลตราซาวด์พบก้อนการตั ้งครรภ์นอกมดลูกบริเวณท่อนำไข่ข้างซ้ายยังไม่แตก และได้รับการเตรียมผ่าตัดเป็นอย่างดี หลังผ่าตัด รู้สึกตัวดี ได้รับการดูแลและให้การพยาบาลไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนใดๆ รวมระยะการรักษาตัวในโรงพยาบาล 3 วัน

สรุป : หญิงตั้งครรภ์ 2 ราย มีการตั้งครรภ์นอกมดลูกที่ตำแหน่งท่อนำไข่ส่วนที่เป็น Ampulla part ซึ่งรายที่ 1 ได้รับการการผ่าตัดแบบฉุกเฉินเร่งด่วนและรายที่ 2 ได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัดเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน ดังนั้นพยาบาลจำเป็นต้องมีความรู้ ทักษะความชำนาญเป็นพิเศษ ในการประเมินอาการ การประสานงานในทีม ให้การพยาบาลที่มีประสิทธิภาพและถูกต้อง รวดเร็วตามกระบวนการพยาบาลได้มาตรฐาน

References

ธีระ ทองสม, จตุพล ศรีสมบูรณ์, อภิชาต โอฬารรัตนชัย. นรีเวชวิทยาฉบับสอบบอร์ด. (พิมพ์ครั้งที่3) กรุงเทพฯ: พีบี ฟอเรนบุ๊คเซนเตอร์, 2551.

นันทนา ธนาโนวรรณ. ตำราพยาบาลนรีเวช (ฉบับองค์รวม). กรุงเทพฯ : วี.เจ.พริ้นตี้ง, 2553.

บุญใจ ศรีสถิตยนรากูรณ์. ระเบียบวิธีวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพฯ : ยู แอน ไอ อินเตอร์มีเดีย, 2550.

ปริญญา ราชกิจ. การตั้งครรภ์นอกมดลูกในโรงพยาบาลลำปลายมาศ. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ-สุรินทร์-บุรีรัมย์, 2560 ; 32 (1) : 33-42.

สุวิทย์ บุญยะชีวิน และ เยื้อนตันตินิรันทร์. เวชปฏิบัติทางสูตินรีเวชวิทยา. พิมพ์ครั้งที่5. กรุงเทพฯ : โอ เอส. พริ้นติ้งเฮาร์, 2555.

สมศรี พิทักษ์กิจรณกร และคณะ. ตํารานรีเวชวิทยา. นนทบุรี, บียอนด์เอ์นเตอร์ไพรซ์ ; 2551.

หอผู้ป่วยนรีเวช .รายงานตัวชี้วัดประจำปี 2560-2562 .โรงพยาบาลมหาสารคาม (สำเนาเอกสาร).

Walker JJ. Best Practice & Research Clinical Obstetrics & Gynaecology,2017 ; 43 (1) : 76-86.

Stovall TG, Kellerman AL, Ling FW, Buster JE. Emergency department diagnosis of ectopic pregnancy. Ann Emerg Med ,1990; 19: 1098-1103.

Stovall TG. Early pregnancy loss and ectopic pregnancy. In :Berek JS, Rinehart RD, Hilard PJ, eds. Novak’s gynecology. 13th ed. Novak’s Philadelphia: Lippincott William &Wilkins;2002 : 507-542.

Tuomivaara L, Kauppila A, Puolakka J. Ectopic pregnancy an analysis of the etiology, diagnosis and treatment in 552 cases. Arch Gynecology ; 1986 : 135-147.

Victon P Sepilian, Michel E Rivlin. Ectopic pregnancy. Retrieved January , 2011. From :Http//emedicine.med scap.com/ article/. 923.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-15