การพยาบาลผู้ป่วยวัณโรคปอดที่มีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • เพลินตา คำหลาย

คำสำคัญ:

การพยาบาลวัณโรคปอด, ภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน

บทคัดย่อ

ความเป็นมา : วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่สำคัญและเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขทั่วโลก ผู้ป่วยวัณโรคปอดร่วมกับมีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน เป็นภาวะวิกฤตที่ทำให้อัตราการเสียชีวิตสูงขึ้น การให้การพยาบาลในระยะวิกฤต ที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยขึ้น

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยวัณโรคปอดที่มีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน กรณีศึกษา 2 ราย

วิธีดำเนินงาน : เป็นการศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยวัณโรคปอดที่มีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยกึ ่งวิกฤติอายุรกรรม โรงพยาบาลมหาสารคาม จำนวน 2 ราย  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยในการสัมภาษณ์ญาติและการสังเกต วิเคราะห์ข้อมูล เปรียบเทียบ แบบแผนสุขภาพ พยาธิสภาพ และอาการแสดง การรักษา ประเมินปัญหาทางการพยาบาลด้วยแบบแผนสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล ให้การพยาบาลและประเมินผลลัพธ์การพยาบาลใน 3 ระยะ ได้แก่ ระยะวิกฤต ระยะฟื้นฟูสภาพและระยะการเตรียมจำหน่าย

ผลการศึกษา : การพยาบาลผู้ป่วยวัณโรคปอดที่มีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน 2 ราย ดังนี้

กรณีศึกษาที่ 1 ชายไทยอายุ 46 ปี อาการสำคัญ ไอเป็นเลือดประมาณ 1 แก้วน้ำเป็นก่อนมาโรงพยาบาล 2 ชั่วโมง ได้รับการวินิจฉัยเป็น Pulmonary tuberculosis with acute respiratory failure กรณีศึกษาที่ 2 ชายไทยอายุ 37 ปี อาการสำคัญ ไอ หายใจหอบเป็นก่อนมาโรงพยาบาล 4 ชั่วโมงได้รับการวินิจฉัยเป็น Pulmonary tuberculosis with acute respiratory failure

สรุป : ผู้ป่วยวัณโรคปอดที่มีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลันเป็นภาวะวิกฤตพยาบาลต้องมีความรู้ ทักษะ มีความชำนาญสามารถการประเมินและให้การพยาบาลที่มีประสิทธิภาพอย่างทันท่วงที เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัย หลังจำหน่ายกลับไปดำรงชีวิตได้ปกติ ไม่มีการแพร่กระจายเชื้อ

References

World Health Organizatio.Report on Global Status Report on Road Safty.Geneva:WHO;2017.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.และสำนักวัณโรค กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข.แนวการวินิจฉัยและการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในประเทศไทย:Clinical Practice Guideline (CPG) of Tuberculosis Treatment in Thailand. นนทบุรี;2561

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. เข้าถึงข้อมูล วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ.2563จาก Website:https://tbcmthailand.ddc.moph.go.th

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.แนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ.ครั้งที่2. องค์การทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.กรุงเทพฯ;2556.5.American Thoracic Society/Centers for Disease Control and Prevention/Infectious Diseases Society of America: Treatment of Tuberculosis. Am J Respir Crit Care Med 2003; 167: 603–662.

วิจิตรา กุสุมภ์ และคณะ.การพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤต: แบบองค์รวม. กรุงเทพฯ : สหประชาพาณิชย์ ; 2560.

วิจิตรา กุสุมภ์และอรุณี เฮงยศมาก.การจัดการทางเดินหายใจและเครื่องช่วยหายใจ.ในวิจิตรา กุสุมภ์และคณะ.การพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤต:แบบองค์รวม.ครั้งที่ 6.กรุงเทพฯ:สหประชาพาณิชย์;2560.

เสาวนีย์ เนาว์พานิช.คู่มือปฏิบัติการพยาบาลการดูแลผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยพยุงการทำงานของหัวใจ.กรุงเทพ;2552.

ขวัญฤทัย พันธุ . การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ . กรุงเทพฯ : วี. พริ้นท์; 2555.

วิลาวัลย์ อุดมการณ์เกษตร. การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะช็อก.ปทุมธานี:ส.เจริญการพิมพ์; 2559.

Ackley,B.J.,Ladwig,G.B.Nursing Diagnosis Handbook:An Evidenceed Base Guide to Planning Care.Edition10th.Mosby:Elsevier;2010.

อภิญญา กุลทะเล. การป้องกันภาวะทุพโภชนาการในผู้ป่วยวิกฤต.ในวิจิตรา กุสุมภ์และคณะ.การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต : แบบองค์รวม. ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สหประชาพาณิชย์ ; 2560.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-16