การศึกษาเปรียบเทียบการฉีดยาชาเข้าข้อกับการฉีดยา ระงับปวดเข้าเส้นเลือดในผู้ป่วยไหล่เคลื่อนหลุด

ผู้แต่ง

  • ภูมิศักดิ์ ธรรมวิริยารักษ์

บทคัดย่อ

ความเป็นมา : ข้อหัวไหล่เคลื่อนหลุด เป็นข้อใหญ่ในร่างกายที่พบว่าหลุดได้บ่อยที่สุด ส่วนมากเป็นชนิดข้อไหล่หลุดมาทางด้านหน้า การรักษาที่ใช้ในปัจจุบัน มีการให้ยาระงับปวดก่อนดึงไหล่เข้าทางหลอดเลือดดำ สังเกตอาการและภาวะแทรกซ้อนจากการให้ยาหลังดึงข้อ ซึ่งต้องใช้เวลาอยู่ในห้องฉุกเฉินนาน การดูแลรักษาผู้ป่วยรายอื่น เกิดความล่าช้าจากบุคลากรที่มีจำกัด การฉีดยาเข้าบริเวณหัวไหล่ก่อนทำการดึงข้อ พบว่าไม่อันตราย ใช้ระยะเวลาสังเกตภาวะแทรกซ้อนจากยาไม่นาน อัตราสำเร็จในการดึงข้อไม่แตกต่างจากวิธีปกติ จึงอาจเป็นทางเลือกที่ดีในผู้ป่วยกลุ่มนี้

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระยะเวลาในห้องฉุกเฉินในผู้ป่วยไหล่เคลื่อนหลุด โดยการฉีดยาชาเข้าข้อไหล่เทียบกับฉีดยาเข้าหลอดเลือดก่อนดึงข้อไหล่เข้าที่

วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาแบบสุ่มเปรียบเทียบเก็บข้อมูลไปข้างหน้า (prospective randomized controlled tri al) ในผู้ป่วยไหล่เคลื่อนหลุดที่มาเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลยโสธรตั้งแต่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2562-30 เมษายน พ.ศ. 2563 เพื่อเปรียบเทียบระยะเวลาในห้องฉุกเฉินโดยการฉีดยาชาเข้าข้อไหล่เทียบกับฉีดยาเข้าหลอดเลือดก่อนดึงข้อไหล่เข้าที่ เปรียบเทียบข้อมูล สถิติที่ใช้คือ Chi-squares และ Fisher exact test ในตัวแปรไม่ต่อเนื่องและ Student t test ในตัวแปรต่อเนื่อง ค่าความต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.05

ผลการศึกษา : ผู้ป่วย 30 ราย แบ่งเป็นกลุ่มฉีดยาเข้าข้อหัวไหล่ 15 ราย กลุ่มฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ 15 ราย พบว่ ากลุ่มฉีดยาเข้าข้อหัวไหล่ใช้เวลาในห้องฉุกเฉินและมีภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value <0.001 และ 0.017 ตามลำดับ) ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในเรื่องอัตราสำเร็จในการดึงข้อไหล่ คะแนนความปวดขณะดึงไหล่ และเวลาที่ใช้ดึงไหล่ (p value 0.598,0.304,0.147 ตามลำดับ)

สรุป : การใช้ยาฉีดเข้าข้อหัวไหล่เพิ่อลดปวดระหว่างดึงข้อ สามารถลดเวลาที่ใช้รักษาในแผนกฉุกเฉินได้ โดยไม่มีความแตกต่างในเรื่องอัตราความสำเร็จในการดึงข้อ คะแนนความปวด และมีภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่า จึงเป็นทางเลือกที่ดีในการใช้ลดอาการปวดก่อนการดึงข้อไหล่เคลื่อนหลุด

References

Michael A. Zacchilli, MD, and Brett D. Owens, MD. Epidemioogy of shoulder dislocations presenting to emergency department in the United States. J Bone Joint Surg [Am]. 2010 ; 92 : 542-549.

Kosnik J, Shamsa F, Raphael E, et al. Anesthetic methods for reduction of acute shoulder dislocations: a prospective randomized study comparing intraarticular lidocaine with intravenous analgesia and sedation. Am J Emerg Med. 1999 ; 17 : 566–570.

Mathew DE, Thomas R. Intra-articular lidocaine vs intravenous analgesic for reduction of acute anterior shoulder dislocation. Am J SportsMed.1995 ; 23 : 54–58.

Miller SL, Cleeman E, Auerbach J, et al. Comparison of intra-articular lidocaine and intravenous sedation for reduction of shoulder dislocations: a randomized, prospective study. J Bone Joint Surg Am. 2002 ; 84 : 2135–2139.

Orlinsky M, Shon S, Chiang C, et al. Comparative study of intra-articular lidocaine and intravenous meperidine/diazepam for shoulder dislocations. J Emerg Med. 2002 ; 22 : 241–245.

Suder PA, Mikkelsen JB, Hougaard K, et al. Reduction of traumatic secondary shoulder dislocations with lidocaine. Arch Orthop Trauma Surg. 1995 ; 114 : 233–236.

Hames H, McLeod S, Millard W. Intra-articular lidocaine versus intravenous sedation for the reduction of anterior shoulder dislocations in the emergency department. CJEM. 2011 ; 13 : 378-383.

Wakai A, O’Sullivan R, McCabe A. Intra-articular lignocaine versus intravenous analgesia with or without sedation for manual reduction of acute anterior shoulder dislocation in adults. Cochrane Database Syst Rev. 2011 ; CD004919.

Cheok CY, Mohamad JA, Ahmad TS. Pain relief for reduction of acute anterior shoulder dislocations: a prospective randomized study comparing intravenous sedation with intra-articular lidocaine. J Orthop Trauma. 2011 ; 25 : 5-10.

Moharari RS, Khademhosseini P, Espandar R, et al. Intra-articular lidocaine versus intravenous meperidine/diazepam in anterior shoulder dislocation: a randomised clinical trial. Emerg Med J. 2008 ; 25 : 262-264.

Fitch RW, Kuhn JE. Intraarticular lidocaine versus intravenous procedural sedation with narcotics and benzodiazepines for reduction of the dislocated shoulder: a systematic review. Acad Emerg Med. 2008 ; 15 : 703-708.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-16