การพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ ที ่มีภาวะหายใจล้มเหลวและภาวะช็อก จากการติดเชื้อ : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • วิลัย ศรีเตชะ

คำสำคัญ:

การพยาบาล, ปอดอักเสบ, ภาวะหายใจล้มเหลว, ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ

บทคัดย่อ

ความเป็นมา : โรคปอดอักเสบรุนแรงผู้ป่วยจะมีภาวะหายใจล้มเหลวและช็อกเสี่ยงต่อเสียชีวิตสูง ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยและครอบครัว

ความเป็นมา : โรคปอดอักเสบรุนแรงผู้ป่วยจะมีภาวะหายใจล้มเหลวและช็อก เสี่ยงต่อเสียชีวิตสูง ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยและครอบครัว

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการพยาบาลเด็กปอดอักเสบที่มีภาวะหายใจล้มเหลวและช็อก

วิธีการดำเนินงาน : ศึกษาผู้ป่วยเด็กปอดอักเสบมีภาวะหายใจล้มเหลวและช็อก จำนวน 2 ราย รักษาในโรงพยาบาลมหาสารคาม เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2563 เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลจากเวชระเบียน แบบบันทึกทางการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบ พยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การรักษา ประเมินปัญหาตาม 11 แบบแผนของกอร์ดอน ให้การพยาบาลและประเมินผล 3 ระยะได้แก่ ระยะวิกฤติ ฟื้นฟูสภาพและเตรียมจำหน่าย

ผลการศึกษา : กรณีที่ 1 เพศหญิงอายุ 2 เดือน 1 วัน ก่อนมามีไข้สูงไอหายใจหอบ ใส่ท่อช่วยหายใจที่โรงพยาบาลชุมชน ส่งมาโรงพยาบาลมหาสาราคาม ใส่เครื่องช่วยหายใจ ให้ยาปฏิชีวนะ ยาพ่น สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ยาเพิ่มความดันโลหิต และให้การพยาบาลอาการดีขึ้น รวมวันนอนโรงพยาบาล 9 วัน กรณีที่ 2 เพศหญิงอายุ 4 เดือน 2 วันก่อนมา ไข้ไอ มีเสมหะ ถ่ายเหลวเป็นน้ำ อาเจียน มีเลือดปน หายใจหอบเหนื่อย ซึม ใส่ท่อช่วยหายใจ ที่โรงพยาบาลชุมชน ส่งมาโรงพยาบาลมหาสารคาม ใส่เครื่องช่วยหายใจ ให้ยาปฏิชีวนะ ยาพ่น สารน้ำทางหลอดเลือดดำยาเพิ่มความดันโลหิต
ยาช่วยการแข็งตัวของเลือด ได้รับเลือดและส่วนประกอบของเลือด ให้การรักษาพยาบาลอาการดีขึ้น รวมวันนอนโรงพยาบาล 9 วัน

สรุป : ผู้ป่วยปอดอักเสบมีภาวะหายใจล้มเหลวและช็อกเสี่ยงต่อเสียชีวิตสูง พยาบาลควรมีความรู้ ทักษะ ความชำนาญการดูแลผู้ป่วยภาวะวิกฤติ พร้อมใช้เครื่องมือพิเศษได้ถูกต้อง รวดเร็ว นำไปวางแผนปฏิบัติพยาบาลตามมาตรฐานพยาบาลสอดคล้อง แผนการรักษา ตั้งแต่แรกรับจนจำหน่ายให้ผู้ป่วยปลอดภัย มีคุณภาพชีวิตที่ดี

References

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรคปอดอักเสบ [อินเตอร์เน็ต]. 2562 (เข้าถึง30 พฤษภาคม2563). เข้าถึงได้จากhttp//www.boe.moph.go.th/Pneumonia

สมาคมโรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤตในเด็ก.แนวทางการดูแลรักษาโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็ก. ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ครั้งที่1. กรุงเทพฯ : บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด 2562.

Cantais A, Mory O, Pillet S, Verhoeven PO, Bonneau J, Patural H, et al. Epidemiology and microbiological investigations of community-acquired pneumonia in children admitted at the emergency department of a university hospital. J Clin Vrol 2014 ; 60 : 402-407.

ศูนย์ข้อมูลโรงพยาบาลมหาสารคาม. รายงานผู้ป่วยในที่พบบ่อย [อินทราเนต]. มหาสารคาม : [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 1 มิ.ย 2563].

โรงพยาบาลมหาสารคาม. รายงานข้อมูลตัวชี้วัดโรคปอดบวมในเด็ก อายุ 1 เดือน-5ปี. ในService plan สาขากุมารเวชกรรม จังหวัดมหาสารคาม,2562.

นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. หนังสือตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 2.“ปอดอักเสบ/ปอดบวม (Pneumonia)” :ครั้งที่ 4 ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ : โฮลิสติก พับลิชซิ่ง จำกัด : 2551, 441-445.

www.trbimg.com, conditions.healthguru.com ข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย(Medthai).ปอดอักเสบ (ปอดบวม) ข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย(Medthai). ปอดอักเสบ (ปอดบวม) อาการ สาเหตุ การรักษาโรคปอดอักเสบ 5 วิธี, 3 สิงหาคม 2016 UPDATED : เข้าถึงเมื่อ 23 กรกฎาคม 2017

วิจิตรา กุสุมภ์ และอรุณี เฮงยศมาก.การจัดการทางเดินหายใจและเครื่องช่วยหายใจ. ใน วิจิตรา กุสุมภ์ และคณะ, บรรณาธิการ. การพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤติ :แบบองค์รวม. ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : สหประชาพาณิชย์; 2560 : 95-156.

ขวัญฤทัย พันธุ. การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ.กรุงเทพฯ : วี.พริ้นท์; 2555

อรุณวรรณพฤทธิพันธุ์, พนิดา ศรีสันต์, กวีวรรณ ลิ้มประยรู และ สนิตรา ศิริธางกุล, บรรณาธิการ. Common Pediatric Respiratory Disease 2016. กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอนเทอร์ไพรซ์;2559.

สุขเกษม โฆษิตเศรฐ, ศุกระวรรณอินทรขาว, สุดาทิพย์ ผาติชีพ และ พชรพรรณ สุรพลชัย . ภาวะวิกฤติในกุมารเวชศาสตร์1กรุงเทพฯ: ไอกรุ๊ป เพรส; 2557.

Michael,J.A,. and Neal,J.B. Fasthug : ICU Prophylaxis. Amer Soci Health System Phar ;2011 : 1-11.

ปราณี ทู้ไพเราะ. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะพร่องออกซิเจนจากความผิดปกติในการแลกเปลี่ยนและขนส่งออกซิเจน.ในวาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล, บรรณาธิการ.การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความผันแปรขอออกซิเจน.กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมมาราช; 2556 : 80-87.

สุกัญญา ชัชวาล.การพยาบาลผู้ป่วยช็อกจากการติดเชื้อและมีภาวะการหายใจล้มเหลว. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม,2558; 12(2 ):138-142.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-19