การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบระยะท้าย : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • ศีตภา พลแก้ว

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมองตีบ, การพยาบาลระยะท้าย

บทคัดย่อ

ความเป็นมา : โรคหลอดเลือดสมองเป็นภาวะวิกฤตที่คุกคามต่อชีวิต ต้องได้รับการรักษาที่รวดเร็ว ทันเวลา ผู้ป่วยบางรายมีโอกาสเสียชีวิตสูง จากขนาดและตำแหน่งของเนื้อสมองที่ตายผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าหมดหวังที่จะรักษาให้หายขาด ไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีใด การดูแลแบบประคับประคองจึงเป็นอีกทางเลือกในการตัดสินใจของผู้ป่วยและญาติ เพื่อลดความเจ็บปวดและทุกข์ทรมาน

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบระยะท้าย : กรณีศึกษา 2 ราย

วิธีการดำเนินงาน : การศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบระยะท้าย จำนวน 2 ราย รักษาตัวในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลมหาสารคาม เครื่องมือประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูล รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน การสัมภาษณ์ญาติและการสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์เปรียบเทียบ ปัจจัยเสี่ยง พยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การรักษา แบบบันทึกทางการพยาบาลโดยใช้แนวคิดประเมินผู้ป่วยตามแบบแผนทางด้านสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน

ผลการศึกษา : เปรียบเทียบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบระยะท้าย จำนวน 2 รายรายที่ 1 หญิงไทย อายุ 71 ปี อาการสำคัญ นอนหมดสติ เรียกไม่รู้สึกตัว ก่อนมาโรงพยาบาล 40 นาที ได้รับการ
วินิจฉัย Acute ischemic stroke เปิด stroke fast track รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด หลังรับการรักษาอาการทรุดลงญาติตัดสินใจเลือกการรักษาแบบประคับประคองอาการ รายที่ 2 ชายไทย  อายุ 47 ปี อาการสำคัญ พูดไม่ชัด แขนขาซีกซ้ายอ่อนแรงก่อนมาโรงพยาบาล 8 ชั่วโมง การวินิจฉัย Acute ischemic stroke หลังรับการรักษาอาการทรุดให้การรักษาแบบประคับประคองอาการ

สรุป : การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบระยะท้ายแบบประคับประคอง ถ้าไม่ได้รับการวางแผนการดูแลที่ถูกต้องและต่อเนื่องส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดความทุกข์ทรมาน, เน้นการจัดการการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมเพื่อให้ผู้ป่วยลดความทุกข์ทรมาน

References

World Stroke Organization: (WSO). Campaign Advocacy Brochures 2017.Retrieved from http:// WWW.world stroke campaign.org/images/wsd-2017/brochures-2017/WSD_brochure_FINAL_sponsor_.pdf

กลุ่มข้อมูลข่าวสารสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. สถิติ สาธารณสุขปีพ.ศ.2562[อินเตอร์เนต]. มหาสารคาม: [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 11มค. 2563] เข้าถึงได้จากhttp://bps.moph.go.th/new_bps/sites /default/files/ stratistics60.pdf

Marilyn Kendall, Eileen Cowey, Gillian Mead, Mark Barber, Christine McAlpine, David J. Stott, Kirsty Boyd and Scott A.Murray,S.A. Outcomes, experiences and palliative care in major stroke: a multicentre, mixed-method, longitudinal study.Canadian Medical Association Journal , 2018; 190 (9) : E238-E246; DOI:

Robert G. Holloway, Susan Ladwig, Jessica Robb, Adam Kelly, Eric Nielsen, and Timothy E. Quill. Palliative Care Consultations in Hospitalized Stroke PatientsJournal of Palliative Medicine.Apr 2010 ; 407-412.

ศูนย์ข้อมูล โรงพยาบาลมหาสารคาม. รายงานผู้ป่วยใน [อินเตอร์เนต]. มหาสารคาม: [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 11มค2563]

ทัศนีย์ ตันติฤทธิศักดิ์. แนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันสำหรับแพทย์ : Clinicalpractice guidelines for ischemic stroke. กรุงเทพฯ: สถาบันประสาทวิทยา ; 2555.

กรรณิการ์ คงบุญเกียรติและคณะ.แนวทางเวชปฏิบัติโรคหลอดเลือดสมองสำหรับทีมสุขภาพ เขตบริการสุขภาพที่ 7 ขอนแก่น : Fi’rb,rN8]y’okok;bmpk.2561.P3-14.

ทัศนีย์ เทศประสิทธิ์ และคณะ.การพัฒนาระบบการดูแลแบบประคับประคองในผู้ป่วยระยะสุดท้ายของโรงพยาบาลอุดรธานี.วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข , 2556; 23 (1): 81-90.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข.ข้อมูลเพื่อตอบสนอง service plan สาขา Palliative care [อินเทอร์เน็ต].2562[สืบค้นเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2563]; แหล่งข้อมูล:www.mkm.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php

อภิญญา กุลทะเล การป้องกันภาวะทุพโภชนาการในผู้ป่วยวิกฤติ. ใน วิจิตรา กุสุมภ์ และคณะ, บรรณาธิการ. การพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤติ : แบบองค์รวม ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ ,สหประชาพาณิชย์; 2560 :521-524.

Lionel A.et al. Infectious Disease Society of America/American Thoracic Society Consensus Guidelines on th Management of Community-Acquired Pneumonia in Adults. Clinical Infectious Disease ,2007 ; 44 : 27-72.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-19