การพัฒนาโปรแกรมการสนับสนุนการจัดการตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนล้างไต
คำสำคัญ:
การพัฒนา, โปรแกรมการสนับสนุนการจัดการตนเอง, ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนล้างไตบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาโปรแกรมการสนับสนุนการจัดการตนเองและศึกษาผลของโปรแกรม สำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนล้างไต ที่คลินิกชะลอไตเสื่อม โรงพยาบาลมหาสารคาม
วิธีการวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา (Research&Developement) กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย 3 กลุ่มคือ 1) ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนล้างไต 2) ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนล้างไต 3) ทีมสหสาขาวิชาชีพและพยาบาลผู้จัดการรายกรณี ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือน ตุลาคม 2558 ถึง มกราคม 2561 ดำเนินการใน 3 ระยะคือ 1) วิเคราะห์สถานการณ์ 2) พัฒนาโปรแกรม 3) ประเมินผลการใช้โปรแกรม เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) แบบบันทึกผลลัพท์ทางคลินิก 2) แนวคำถามการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย : ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ พบปัญหา ดังนี้ 1) ผู้ป่วยที่มารับบริการมีความดันโลหิตสูงจากการงดยาก่อนเจาะเลือด ไม่นำยามาด้วย และมีการปรับลดยาเอง 2) หลังได้รับคำแนะนำจากทีมสหวิชาชีพแล้วผู้ป่วยและญาติจำเนื้อหาได้ไม่ครบถ้วน 3) ขาดการสื่อสารระหว่างผู้ดูแลที่บ้านและทีมผู้ให้บริการสหวิชาชีพ 4) ไม่มีโปรแกรมช่วยสนับสนุนการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนล้างไต ระยะที่ 2 ระยะดำเนินการพัฒนา ศึกษาความต้องการของผู้มารับบริการและทีมสหวิชาชีพผู้ให้บริการ โดยจัดทำสมุดประจำตัวผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนล้างไตและพัฒนาโปรแกรมประกอบด้วย 1) สอนให้ความรู้ 2) ฝึกทักษะ 3) ติดตามกำกับ โดยการใช้สมุดบันทึก และติดตามทางโทรศัพท์ ระยะที่ 3 ระยะประเมินผล พบว่าผู้ป่วยที่ใช้ โปรแกรมสนับสนุน การจัดการตนเอง มีอัตราการกรองของไตลดลง < 4 cc/min/1.73m2 /ปี ร้อยละ 78.12 และสามารถควบคุมความดันโลหิตได้ <140/90 mmHg ร้อยละ 84.37
สรุป : โปรแกรมการสนับสนุนการจัดการตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนล้างไต เป็นเครื่องมือที่ใช้ได้ผลดี ในการเฝ้าระวังและสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนล้างไต
References
2. Health Data Center .กระทรวงสาธารณสุข . กลุ่มรายงานมาตรฐาน Service Plan สาขาไต 2561[อินเทอร์เน็ต] .[เข้าถึงเมื่อ 31 ม.ค.2561]. เข้าถึงได้จาก https://hdc service.moph.go.th /hdc/reports/page. php?cat_id=e71a73a77b1474eb3b71bccf727009ce
3. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. รายงานการตรวจราชการจังหวัดมหาสารคาม. 2561
4. Health Data Center .กระทรวงสาธารณสุข . กลุ่มรายงานมาตรฐาน Service Plan สาขาไต 2561[อินเทอร์เน็ต] .[เข้าถึงเมื่อ 31 ม.ค.2561]. เข้าถึงได้จาก https://hdc service.moph.go.th/hdc/reports/page. php?cat_id=e71a73a77b1474eb3b71bccf727009ce
5. วินัย ลีสมิทธิ์.คลองขลุงโมเดล ชะลอความเสื่อมของไตได้ถึง 7 ปี. คร สัมพันธ์ 2559 ; 3 : 2 – 3
6. อรุณ จิรวัฒน์กุล . ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ . ขอนแก่น ; คลังนานาวิทยา ; 2547
7. ผ่องใส เวียงนนท์.การปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ สนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นจังหวัด
ขอนแก่น(การศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต).ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2557.
8. ชัญญาภัค ชาญประโคน.ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจโดยการสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและตัวชี้วัดทางคลินิกของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน(การศึกษา
อิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต).ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2556.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม