การตรวจคัดกรองโลหิตบริจาค :ประเมินความคุ้มค่าและประสิทธิภาพ เมื่อเปิดตรวจเองในโรงพยาบาลมหาสารคาม เปรียบเทียบกับการส่งตรวจภาคบริการโลหิตที่ 6 จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
infectious marker, molecular, Nucleic acid amplificationบทคัดย่อ
ความเป็นมา : โลหิต และส่วนประกอบของโลหิต ที่ใช้รักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาล จะต้องได้จากผู้บริจาคโลหิตที่ไม่หวังสิ่งตอบแทน โดยผ่านการคัดกรองโรคติดเชื้อทางกระแสเลือดทุกส่วนประกอบ ตามมาตรฐานของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติสภากาชาดไทย และต้องมีระบบสำรองโลหิตที่เพียงพอ เหมาะสมทันต่อความต้องการของผู้ป่วยปัญหาสำคัญของโรงพยาบาลต่างจังหวัดที่ไม่มีภาคบริการโลหิต ต้องส่งตัวอย่างโลหิตไปตรวจยังภาคบริการโลหิตที่อยู่ต่างจังหวัด ทำให้มีความล่าช้าในการรายงานผลการตรวจ ส่งผลให้เกิดภาวะโลหิตขาดแคลน
วัตถุประสงค์ : ประเมินความคุ้มค่า และประสิทธิภาพ การตรวจคัดกรองโลหิตบริจาค เมื่อเปิดตรวจเองในโรงพยาบาลมหาสารคาม เปรียบเทียบกับการส่งตรวจภาคบริการโลหิตที่ 6 จังหวัดขอนแก่น
วิธีการศึกษา : รวบรวมข้อมูลจากการปฏิบัติงาน ของงานธนาคารเลือดโรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นเวลา 5 ปี งบประมาณ 2557-2561 และวิเคราะห์ต้นทุนค่าตรวจ infectious marker ทั้งทางด้าน Serology และด้าน Molecular ที่ตรวจเองในโรงพยาบาลมหาสารคาม จำลองเปรียบเทียบกับการส่งตรวจที่ภาคบริการโลหิตที่ 6 โดยการขอข้อมูลต้นทุนค่าน้ำยาจากฝ่ายพัสดุการแพทย์โรงพยาบาลมหาสารคามและบางส่วนจากงานธนาคารเลือดโรงพยาบาลร้อยเอ็ด ศึกษาปัจจัย ที่ทำให้การรายงานผลการตรวจ infectious marker ล่าช้า จากการส่งตรวจที่ภาคบริการโลหิตที่ รวบรวมข้อร้องเรียนไม่มีโลหิตและส่วนประกอบโลหิตจ่ายตามที่แพทย์ร้องขอ จากสาเหตุต่างๆ
ผลการศึกษา : ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการขาดแคลนโลหิตของโรงพยาบาลต่างจังหวัด การตรวจ infectious marker เองในโรงพยาบาล เป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการโลหิต แต่ยังต้องมีปัจจัยอื่นๆเกี่ยวข้อง เช่นระบบบริหารงานแต่ละโรงพยาบาล ที่ต้องนำมาปรับใช้ให้เมาะสม การทำงานเป็นทีม ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ การทุ่มเทใส่ใจของเจ้าหน้าที่ทุกระดับ การประสานงานเพื่อให้เกิดความร่วมมือกับบุคลากรทุกฝ่าย การเสริมสร้างขวัญและกำลังใจ การนำข้อมูลงานประจำมาวิเคราะห์ เพื่อหา Gap analysis การแก้ไขปัญหาเชิงระบบ การให้การสนับสนุนของผู้บริหารทุกระดับ จึงจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ โดยโรงพยาบาลมหาสารคามเป็นโรงพยาบาลที่มีการบริหารจัดการโลหิตที่มีประสิทธิภาพ สามารถเป็นต้นแบบของโรงพยาบาลทั่วไปเรื่องการบริหารจัดการโลหิตของกระทรวงสาธารณสุข ทั้งทางด้านการจัดหาโลหิตและการให้โลหิตที่ปลอดภัยกับผู้ป่วย
สรุป : การเปิดให้บริการตรวจ infectious marker ในโรงพยาบาลทั่วไปที่จัดหาโลหิตเองปีละประมาณ 25,000-28,000 รายต่อปี เมื่อคิดต้นทุนการตรวจทั้งด้าน Serologyและ NAT พบว่าถ้าโรงพยาบาลดำเนินการตรวจเอง ในระยะเวลา 5 ปี สามารถประหยัดงบประมาณโรงพยาบาลได้เกือบ 10 ล้านบาท เนื่องจากมีต้นทุนที่ถูกกว่า และสามารถแก้ปัญหาไม่มีโลหิตจ่าย ลดข้อร้องเรียนจากแพทย์ที่ใช้บริการ สามารถบริหารจัดการ คลังโลหิตได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น แก้ปัญหาการขนส่งที่ไม่แน่นอน และยังเพิ่ม Competency ของนักเทคนิคการแพทย์ ในการวิเคราะห์ทางอณูชีวโมเลกุล(molecular)ในหน่วยงานนั้นๆ
References
2. The Blood Center of New Jersey. A Guide to the Blood Center of New jersey Donor Reguirements (Online)
Available form: http//www.bloodnj.org/donorrequirements.pdf. ( cited 2008 Mar 6)
3. National Blood Servic . Guidelines for Blood Transfusion Service in the United Kingdom.7th ed.
Norwice: The Stationery Office;2005
4. Word Health Organization. Maintaining a safe and adequate Blood Supply during HBsAg Outbreaks . Interim guidance; February 2016,WHO/ HBsAg/HS 16.2
5.The Australian Red Cross Blood Service. Donor Questionnair(Online).Available form:http://donateblood.com.au
(cited 2008 Feb 20)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม