การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • ปรมาภรณ์ คลังพระศรี งานศูนย์ส่งต่อและสั่งการ โรงพยาบาลมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน, การพยาบาลผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือด

บทคัดย่อ

บทนำ : โรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันเป็นระยะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยง แต่เนื้อสมองยังไม่ตาย ผู้ป่วยมีโอกาสฟื้นฟูได้ถ้าได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องได้มาตรฐานและให้การพยาบาลดูแลในระยะเฉียบพลันเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นได้ 

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลันที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดในห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน

วิธีการศึกษา : ศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลันที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด 2 ราย ในห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาสารคาม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูล รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย การสัมภาษณ์ญาติและการสังเกต  วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบ และวางแผนการพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาลและการบันทึกทางการพยาบาลแบบ Focus Charting 

กรณีศึกษา : ศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 2 ราย กรณีศึกษาที่ 1 ผู้ป่วยชายไทยวัย67 ปี มาโดยระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน อาการสำคัญ ลิ้นแข็ง ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด แขนขาซีกซ้ายอ่อนแรง 17 นาที พยาบาลสามารถคัดกรองโดยใช้ BEFAST ได้จากจุดเกิดเหตุให้การพยาบาลก่อนถึงโรงพยาบาลและเข้าช่องทางด่วน แพทย์วินิจฉัย Ischemic Stroke ได้รับยาละลายลิ่มเลือด ผู้ป่วยไม่มีภาวะแทรกซ้อน วันจำหน่ายผู้ป่วยไม่มีความพิการหลงเหลือ  กรณีศึกษารายที่ 2 ผู้ป่วยชายไทย อายุ 60 ปี ญาตินำส่ง อาการสำคัญ พูดไม่ชัดและแขนขาอ่อนแรงซีกซ้าย ก่อนมา 4.05 ชั่วโมง ญาติสังเกตอาการที่บ้านเมื่อไม่ดีขึ้นจึงนำส่งเอง พยาบาลอุบัติเหตุฉุกเฉินใช้ BEFAST ในการประเมิน ผู้ป่วยเข้าช่องทางด่วน แพทย์วินิจฉัย Ischemic Stroke ได้รับยาละลายลิ่มเลือด ผู้ป่วยไม่มีภาวะแทรกซ้อน วันจำหน่ายผู้ป่วยไม่มีความพิการหลงเหลือ   

สรุป : ผู้ป่วยที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดทั้ง 2 รายมีความแตกต่างกันของตำแหน่งสมองที่ขาดเลือด  ผู้ป่วยได้รับการดูแลในระยะวิกฤติโดยทีมสหวิชาชีพ โดยเฉพาะพยาบาลวิชาชีพที่มีสมรรถนะในการดูแลผู้ป่วยในระยะวิกฤติตามมาตรฐานการพยาบาล การดูแลผู้ป่วยโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ รวมทั้งการพยาบาลผู้ป่วยแบบองค์รวม จึงส่งผลลัพธ์ที่ดีทางคลินิคช่วยลดอัตราการเสียชีวิตและลดความพิการของผู้ป่วยได้

References

Powers William J, Rabinstein Alejandro A, Ackerson T, Adeoye Opeolu M, Bambakidis Nicholas C, Becker K, et al. 2018 Guidelines for the early management of patients with acute ischemic stroke: a guideline for healthcare professionals from the American Heart Association/American Stroke Association. Stroke 2018;49(3):e46-e99.

International Health Policy Program Foundation. Burden of disease Thailand 2014. Nonthaburi: Graphigo Systems; 2017. (in Thai).

นิภาพร บุตรสิงห์. การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน.วารสารสภาการพยาบาล. 2562; 34(3): 15-29.

นลินี พสุคันธภัค, สายสมร บริสุทธิ์, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล, แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง สำหรับพยาบาลทั่วไป. สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ; 2559.

เสาวลักษณ์ กองนิล. การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย . 2557; 4(1): 90-97.

ทัศนีย์ ตันติฤทธิศักดิ์. แนวทางการ รักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันสำหรับ แพทย์. สถาบันประสาทวิทยา กรุงเทพฯ ; 2555.

Sacco RL, Kasner SE, Broderick JP, Caplan LR, Connors JJ, Culebras A, et al. An updated definition of stroke for the 21st century: a statement for healthcare professionals from the American Heart Association/ American Stroke Association. Stroke 2013;44(7): 2064-89.

World Stroke Organization: (WSO). Campaign Advocacy Brochures 2017. Retrieved from

http://www.worldstrokecampaign.org/images/wsd-2017/brochures- 217/WSD_brochure_FINAL_sponsor_.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-02-25