ปัจจัยพยากรณ์โรคที่ดีของการรักษาผู้ป่วยได้รับอุบัติเหตุบาดเจ็บช่องท้องแบบไม่มีแผลทะลุที่ได้รับการผ่าตัดในโรงพยาบาลมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • อติชาต ชมภูคำ ศัลยกรรม โรงพยาบาลมหาสารคาม

คำสำคัญ:

บาดเจ็บทางช่องท้อง, การพยากรณ์โรคที่ดี

บทคัดย่อ

ความเป็นมา : ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บช่องท้องแบบไม่มีแผลทะลุ (Blunt abdominal injury) ที่ได้รับการผ่าตัด มีผลการรักษาไม่แน่นอน มีปัจจัยจำนวนมากที่ส่งผลต่อการพยากรณ์โรค การศึกษาหาปัจจัยพยากรณ์โรคที่ดีปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อการรอดชีวิตของผู้ป่วย มีความสำคัญต่อการวางแผนการรักษาผู้ป่วย

วัตถุประสงค์ : ศึกษาปัจจัยพยากรณ์โรคที่ดีของการรักษาผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บทางช่องท้องแบบไม่มีแผลทะลุที่ได้รับการผ่าตัดในโรงพยาบาลมหาสารคาม                                                                            

วิธีดำเนินการวิจัย : ศึกษาแบบย้อนหลัง (retrospective study) นำข้อมูลของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยบาดเจ็บทางช่องท้องแบบไม่มีแผลทะลุที่ได้รับการผ่าตัด ระหว่าง 1 กรกฎาคม 2559 ถึง 31 มิถุนายน 2563 จำนวน 214 ราย โดยทำการศึกษา ข้อมูลทางคลินิก ข้อมูลผู้ป่วยที่รอดและเสียชีวิต มาวิเคราะห์ข้อมูลทางเพื่อหาความสัมพันธ์โดยใช้ Chi-square test                                                                              

ผลการศึกษา : มีผู้ป่วย 214 ราย เป็นเพศชาย 180 ราย (ร้อยละ 84.1) รอดชีวิต 165 ราย (ร้อยละ 77.1) พบผู้ป่วยใน  ช่วงอายุมากที่สุด 21-50 ปี 85 ราย (ร้อยละ 39.7) พบปัจจัยที่มีผลต่อการพยากรณ์ที่ดีของผู้ป่วย ได้แก่ ผู้ป่วยความดันโลหิตซีสโทลิก ≥90 มิลลิเมตรปรอท อัตราการเต้นของหัวใจ<100 ครั้งต่อนาที ความเข้มข้นของเลือด ≥25 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร วันนอนในโรงพยาบาล≥7 วัน ระยะเวลาที่ได้รับอุบัติเหตุก่อนมาโรงพยาบาล<6 ชั่วโมง ไม่ได้ทำการช่วยฟื้นคืนชีพก่อนการผ่าตัด ไม่ได้ใส่ท่อช่วยหายใจก่อนเข้าห้องผ่าตัด ได้รับการผ่าตัดตามข้อบ่งชี้จากผลเอกซเรย์คอมพิวเตอร์และจากภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ ได้รับการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องก่อนผ่าตัด มีเลือดออกระหว่างผ่าตัด<1500 ลูกบาศก์เซนติเมตร รับการผ่าตัดเย็บซ่อมเยื่อแขวนลำไส้ ได้รับผ่าตัดเย็บซ่อมลำไส้เล็กหรือลำไส้ใหญ่ บาดเจ็บอวัยวะหนึ่งอวัยวะ ไม่ได้รับการผ่าตัดปิดหน้าท้องชั่วคราวและผู้ป่วยที่ผ่าตัดบริเวณช่องท้องจำนวนหนึ่งครั้ง

References

Hemila MR, Wahl WL. Management of injured patient. In: Doherty GM, editor. Current Surgical Diagnosis and Treatment. 12th ed. New York, NY: McGraw Hill Company, Inc: 2006:207-44.

Wolfman NT, Bechtold RE, Scharling ES, et al. Blunt upper abdominal trauma: evaluation by CT. AJR Am J Roentgenol1992;158:493-501

ToftP, Tønnesen E. The systemic inflammatory response to anesthesia and surgery. Current Anesthesia & Critical Care. 2008; 19:349-53.

Kane V.1, Dhandore C.D.2 Analysis of surgical management and outcome of Blunt abdominal trauma, April – June 2019/ Vol 5/ Issue 2, International Journal of Surgery & Orthopedics Available online

Abd-El-Aal A. Saleem Epidemiological evaluation and outcome of pure abdominal

trauma victims who underwent surgical exploratory laparotomy www.azmj.eg.net on Monday, May 25, 2020

สุชาติ เลิศการช่าง. ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราตายในผู้ป่วยบาดเจ็บช่องท้องที่ได้รับการผ่าตัด ในโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี .วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 ,29 (2): 237-337 ; 2558

Sandesh Kumar Srivastava, Prospective study of management and outcome of blunt abdominal trauma (solid organs and hollow viscus injuries), International Surgery Journal Srivastava SK et al. Int Surg J. 2017 Oct;4(10):3262-3271

Abdominal Trauma in Durban, South Africa: Factors Influencing Outcome

M. N. Mnguni, D. J. J. Muckart, T. E. Madiba Department of Surgery, University of KwaZulu-Natal and King Edward VIII Hospital, Durban, South Africa, Int Surg 2012;97:161–168

Sudhir G. Mehta Clinical Outcome of Blunt Abdominal Trauma in Tertiary Care Teaching Hospital

SILVANIA KLUG PIMENTEL Risk factors for mortality in blunt abdominal trauma with surgical approach, Rev. Col. Bras. Cir. 2015; 42(4): 259-264

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-02-25