การพัฒนาโปรแกรมป้องกันโรคซึมเศร้า ผู้สูงอายุอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ
คำสำคัญ:
โรคซึมเศร้า, โปรแกรมป้องกันโรคซึมเศร้า, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาโปรแกรม ศึกษาผลของโปรแกรม และเปรียบเทียบผลของโปรแกรมป้องกันโรคซึมเศร้า ในผู้สูงอายุอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ
รูปแบบและวิธีวิจัย : เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่าง คือผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน 101 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 51 คน กลุ่มควบคุม 50 คน การศึกษามี 4 ระยะ คือ 1) ทำความเข้าใจปัญหา 2) พัฒนากิจกรรมโปรแกรม 3) ทดลองใช้โปรแกรม และ 4) ประเมินผล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบประเมินโรคซึมเศร้าผู้สูงอายุ Thai Geriatric Depression Scale ค่าความเที่ยงตรงรวม .93 และ แบบประเมินคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก ค่าความเชื่อมั่น .84 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน dependence sample t-test และ independence sample t-test
ผลการศึกษา : 1)โปรแกรมป้องกันโรคซึมเศร้า ประกอบด้วยกิจกรรม สวดมนต์ไหว้พระ ออกกำลังกาย เรียนรู้โรคซึมเศร้าและการป้องกัน ทำอาหารรับประทานร่วมกัน และจิตอาสาเยี่ยมไข้ในชุมชน ดำเนินกิจกรรม 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละ 1 วัน นาน 3 เดือน 2) หลังเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มทดลองเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้าน้อยกว่ากลุ่มควบคุม (= 4.02 ,SD = 2.99 : = 6.30, SD =3.79) คุณภาพชีวิต ดีกว่ากลุ่มควบคุม (= 88.28 ,SD = 5.67 : = 85.50, SD =10.52) 3) เมื่อเปรียบเทียบโรคซึมเศร้า คุณภาพชีวิตภาพรวม ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคม ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมพบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01, .05,<.01, .01 และ <.01
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. สถิติผู้สูงอายุ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กรมกิจการผู้สูงอายุ; [สืบค้นเมื่อ 25 พ.ย. 2561]. จาก: http://www.dop.go.th/th/.
สุรพงษ์ มาลี. รู้จักสังคมสูงอายุและสถานการณ์ผู้สูงอายุ (ในประเทศไทย). วารสารข้าราชการ. 2561;60:6
นารีรัตน์ จิตรมนตรี. ประชากรผู้สูงอายุ:แนวโน้มและประเด็นการดูแลผู้สูงอายุ. ใน วิไลวรรณ ทองเจริญ, บรรณาธิการ. ศาสตร์และศิลป์การพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพมหานคร: เอ็นพีเพรส; 2558. หน้า. 1-17.
Varcarolis EM. Essentials of Psychiatric Mental Health Nursing A communication Approach to Evidence –Based Care. 2nd ed. St. Louis: Elsevier; 2013.
ณหทัย วงศ์ปการันย์, ทินกร วงศ์ปการันย์, เธียรชัย งามทิพย์วัฒนา, ยุพาพรรณ ศิริอ้าย, คนึงนิจ ไชยลังการณ์, วิรัตน์ นิวัฒนนันท์ และคณะ. คู่มือการดูแลผู้สูงวัย: สูตรคลายซึมเศร้า.นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.); 2559.
Kongsuk T, Pimtra S, Liachongeampoon J. Quality of life and predictive factors in Thai depression patients. Ubon Ratchathani: Phra Sri Maha Pho Hospital; 2012.
Forsman A K, Nordmyr J, Wahlbec K. Pschosocial intervntions for the promotion of mental health and the prevention of depression among older adult. Health Promotion International, 2011;26:85-107.
ณัฐิกา ราชบุตร, จุลจีรา จันทะมุงคุณ, จารุภา แซ่ฮอ. การศึกษาโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันโรคซึมเศร้าเชิงสังคมและวัฒนธรรมในผู้สูงอายุตำบลดอนมนต์ อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์.วารสาร มฉก.วิชาการ. 2560;20:115-125.
ปรีดานันต์ ประสิทธ์เวช, รัชนีกร อุปเสน. ผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมร่วมกับการออกกำลังกายต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า.วารสารพยาบาลสาร. 2562;46:70-82.
ชุติเดช เจียนดอน, นวรัตน์ สุวรรณผ่อง, ฉวีวรรณ บุญสุยา, นพพร โหวธีรกุล. คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชนบท อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสารธารณสุข. 2554;41: 229-239.
ศูนย์ข้อมูลสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ. กลุ่มรายงานมาตรฐาน ประชากร 2560 [อินเทอร์เน็ต]. ชัยภูมิ:สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ; [สืบค้นเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2561]. จาก: https://cpm.hdc.moph.go.th/.
นิพนธ์ พวงวรินทร์, อรพรรณ ทองแตง, ประเสริฐ อัสสันตชัย, รุ่งนิรันดร์ ประดิษฐ์สุวรรณ, วรพรรณ เทพหัสดิน ณ อยุธยา, กนกรัตน์ สุขะตุงคะ, และคณะ. แบบวัดความ เศร้าในผู้สูงอายุไทย. สารศิริราช. 2537;46:1-9.
สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วิระวรรณตันติพิวัฒนสกุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, กรองจิตต์ วงศ์สุวรรณ, ราณี พรมานะจิรังกุล. เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุด 100 ตัวชี้วัดและ 26 ตัวชี้วัด. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง; 2540.
อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย .การบำบัดด้วยกลุ่มและจิตบำบัด. ใน อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย, พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย. การบำบัดรักษาทางจิตสังคมสำหรับโรคซึมเศร้า. กรุงเทพฯ: ธนาเพลส; 2553. หน้า 215-231.
วิไลวรรณ ทองเจริญ. การเปลี่ยนแปลงทางจิตสังคม จิตวิญญาณ และการปรับตัวในผู้สูงอายุ. ใน วิไลวรรณ ทองเจริญ, บรรณาธิการ. ศาสตร์และศิลป์การพยาบาลผู้สูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพมหานคร : เอ็นพีเพรส; 2558. หน้า 59-73.
Halter M J, Kozy M. Depressive Disorder. In Halter M J, Kozy M. Varcarolis’Foundations of Psychiatric-Mental Health Nursing A clinical Approach. 8thed. St. Louis, Missouri USA: Elsevier; 2018. P. 242-269.
ชัยพัฒน์ ศรีรักษา, เสาวนีย์ นาคมะเริง, พลลพัฏฐ์ ยงฤทธิปกรณ์, วัณทนา ศิริธราธิวัตร, กิตติศักดิ์ สวรรยาวิสุทธิ์, ทวีศักดิ์ จรรยาเจริญ. ผลของการรำเซิ้งอีสานต่อสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุชาวไทย: การศึกษานำร่อง. Chula Med. 2018;62: 211-222.
Koch S, Kunz T, Lykou S, Cruz R. Psychotherapy effects of dance movement therapy and dance on health – related psychological outcomes: a meta – analysis. The Arts in Psychotherapy. 2014;41: 46–64.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม