การพัฒนารูปแบบบริการคลินิกเบาหวานโดยประยุกต์ใช้แนวคิดแบบลีน โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ชญาภา เยยโพธิ์ กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา​ โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย

คำสำคัญ:

เครื่องมือระบบลีน, สายธารแห่งคุณค่า

บทคัดย่อ

บทนำ : โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องอยู่ในระบบการดูแลต่อเนื่องตลอดชีวิต ระบบบริการคลินิกเบาหวานพบมีความแออัด ล่าช้า ดูแลกลุ่มปัญหาซับซ้อนได้ไม่ครอบคลุม ผู้รับบริการไม่พึงพอใจ

วัตถุประสงค์ :  เพื่อพัฒนารูปแบบบริการคลินิกเบาหวานโดยประยุกต์ใช้แนวคิดแบบลีน และเพื่อเปรียบเทียบผลการใช้รูปแบบก่อนและหลังการพัฒนา

 วิธีการศึกษา : การวิจัยและพัฒนา (Research  and Development) กลุ่มตัวอย่างคือรับบริการจำนวน 32 คน และผู้ให้บริการจำนวน 16 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย ระหว่างเดือนมิถุนายน 2561-กุมภาพันธ์ 2562 กระบวนการพัฒนา 3 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะเตรียมการ เก็บข้อมูลระยะเวลาบริการและความพึงพอใจผู้รับบริการ 2) ระยะพัฒนารูปแบบ ใช้เครื่องมือลีนกำจัดความสูญเปล่า และออกแบบระบบใหม่ 3) ระยะทดลองใช้รูปแบบ และประเมินผล เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แนวคิดแบบลีนได้แก่ แนวคิด DOWTIME เครื่องมือ ECRS (Eliminate, Combine, Rearrange, Simplify) 2) แบบบันทึกเวลา 3) แบบสอบถามความพึงพอใจผู้รับบริการ 4)นาฬิกาจับเวลา ใช้สถิติ Paired t-test เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยก่อน-หลัง นำเสนอด้วยค่าค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา : 1) ลดขั้นตอนจาก 16 ขั้นตอน เหลือ 7 ขั้นตอน 2) ระยะเวลาการรับบริการเฉลี่ยจาก 187.75 นาที เป็น 90.25 นาที อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P -value <0.001) 3) ความพึงพอใจภาพรวมผู้รับบริการระดับมาก 4) ค่าน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) เฉลี่ยลดลงจาก 9.97 เป็น 9.14      

สรุปผลการศึกษา : การประยุกต์ใช้แนวคิดแบบลีนในการพัฒนาระบบบริการคลินิกเบาหวานสามารถลดข้นตอน ลดระยะเวลาบริการ เพิ่มความพึงพอใจ และเพิ่มคุณภาพการบบริการได้

References

กลุ่มพัฒนาระบบสาธารณสุขและสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. ประเด็นสารรณรงค์ วันเบาหวานโลก ปี 2560. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2560.

American Diabetes Association. Guideline ADA 2010 Diabetes care. 2010; 33:523- 548.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. กรุงเทพฯ: บริษัท ร่มเย็นมีเดีย จำกัด; 2560.

สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล. Lean and seamless healthcare. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจำปี 2552 การพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล. นนทบุรี. 2552.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2560. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม; 2560.

งานเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย. รายงานสถิติการบริการโรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย ประจำปี 2560. โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย มหาสารคาม; 2560.

Womack, J. P., & Jones, D. T., (1996). Lean thinking – banish waste and create wealth in your corporation. New York: Free Press.

วัชนาภา ชาติมนตรี. การใช้แนวคิดลีนในการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาล: กรณีศึกษาโรงพยาบาลตติยภูมิ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.

เกตนิภา สนมวัฒนะวงศ์. การจัดการแบบลีนประยุกต์ใช้ ในการพัฒนารูปแบบการจัดการ การรับใหม่ผู้ป่วยอายุรกรรม งานผู้ป่วยใน 2 โรงพยาบาลท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล.บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2553.

วรรณภา สิทธิปาน. ผลของโปรแกรมการตรวจติดตามน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้ต่อระดับน้ำตาลสะสม. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์ คลินิกโรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2558;32 (1): 68-82.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-02-25