การพัฒนารูปแบบบริการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
รูปแบบบริการ ผ่าตัดแบบวันเดียวกลับบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนารูปแบบบริการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ และศึกษาผลที่เกิดขึ้น
รูปแบบและวิธีวิจัย : เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย แพทย์ และพยาบาล จำนวน 30 คน และผู้ป่วยที่เข้ารับบริการในแผนกศัลยกรรม โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ปีงบประมาณ 2563 จำนวน 39 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้คือ แนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม, แบบสอบถามเพื่อประเมินรูปแบบ, แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ และแบบบันทึกผลลัพธ์ตามตัวชี้วัด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา, t-test, และ F-test
ผลการศึกษา : รูปแบบที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย การดำเนินการ 8 ด้านคือ คณะกรรมการ, หน่วย/ผู้ประสานงาน, การเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัด, การเตรียมความพร้อมวันผ่าตัด, ช่องทางติดต่อสื่อสาร, การติดตามผู้ป่วยและประเมินผล, อัตรากำลัง และสถานที่ ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิผลของรูปแบบที่พัฒนาขึ้นโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลลัพธ์การดำเนินการตามตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์ ยกเว้นร้อยละของผู้ป่วยที่เข้ารับบริการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ 3) ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 4) เพศแตกต่างกัน มีผลทำให้ผู้รับบริการพึงพอใจต่อบริการแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนอายุ และประเภทการผ่าตัดแตกต่างกัน มีผลทำให้ผู้ใช้บริการมี
ความพึงพอใจต่อบริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
Richardson-Tench M, Brown S. Before and after same day surgery: are we responding to anxious patients’ need?. The Journal of Perioperative Nursing in Australia, 2013; 26(1): 24-28.
Division of Medical Technical and Academic Affairs. Recommendations for the development of the service system ODS (One Day Surgery). Division of Medical Technical and Academic Affairs [Internet]: 2017 [cited 2020 Feb 15]. Available from: http://203.157.39.44/uploads/E000001/b052513ab8ca5dab33f0f425f186f801.pdf.
กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลกาฬสินธุ์. รายงานผลการดำเนินงานประจำปี กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลกาฬสินธุ์. 2562.
สำนักวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. ข้อเสนอแนะด้านการพัฒนาระบบบริการการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2560.
ศากุน ช่างไม้. การเก็บข้อมูล การจัดการกับข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 2546; 9(3): 164-173.
บุญเรียง ขจรศิลป์. วิธีวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: พี.เอ็น.การพิมพ์; 2543.
Madaus GF, Sciven MS, Stufflebeam DI. Evalution Model Viewpoint on Educationand Human Service Evaluation. Boston: Kluwer-Nijhoff Publisher; 1983.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม