การพัฒนาความรอบรูู้ด้านสุขภาพด้วยวิถี บวร.ร. ในประชาชนบ้านหนองหิน ตำบลโคกก่อ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านสุขภาพในหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการพัฒนาความรอบรูู้ด้านสุขภาพด้วยวิถี บวร.ร. ในประชาชนบ้านหนองหินตำบลโคกก่อ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
วิธีดำเนินการวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) พื้นที่วิจัยคือชุมชนบ้านหนองหิน หมู่ที่ 3, 4 ตำบลโคกก่อ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ผู้ร่วมดำเนินการ ประกอบด้วย ประชาชนทั่วไป ผู้ป่วยโรค NCDs ผู้สูงอายุ ผู้นำชุมชน/แกนนำ/อสม. และผู้ประกอบการร้านชำ/ร้านค้า ที่ยินยอมสมัครใจ เข้าร่วมโครงการ สุ่มคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling typing) จำนวน 73 คน แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1. เตรียมการ 2. พัฒนา 3. ประเมินผล ระยะเวลาวิจัยตั้งแต่เดือนสิงหาคม - ธันวาคม 2563 เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพในหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกองสุขศึกษา แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และบันทึกการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเชิงพรรณนา ด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ paired t-test และ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษา : พบว่า การพัฒนามี 9 กิจกรรม ได้แก่ 1) กระบวนการค้นหาปัญหา และศึกษาบริบทของพื้นที่ 2) วิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาการดำเนินงาน 3) ประชุมปรึกษาหารือคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอเมือง (พชอ.) 4) คัดเลือกและกำหนดพื้นที่นำร่อง 5) จัดทำหลักสูตรการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 6) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ 7) ติดตามผล 8) สรุปและทบทวนผลการพัฒนา 9) จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และหลังการพัฒนา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพ (=3.99, S.D.=0.472) และพฤติกรรมสุขภาพ (=3.93, S.D.=0.288) สูงกว่าก่อนการพัฒนา ซึ่งมีค่าคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพ (=2.82, S.D.=0.327) และพฤติกรรมสุขภาพ (=2.46, S.D.=0.198) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05)
References
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานยกระดับการพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ. โรงพิมพ์กองสุขศึกษา : กระทรวงสาธารณสุข; 2561
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ฉบับปรับปรุง ปี 2561. โรงพิมพ์กองสุขศึกษา : กระทรวงสาธารณสุข; 2561.
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. กระบวนงานบริการสุขศึกษาเพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในสถานบริการสุขภาพภาครัฐ บูรณาการ มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ (Hospital Accreditation : HA). โรงพิมพ์กองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข; 2560
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพประชาชนวัยทำงาน (15-59 ปี).โรงพิมพ์กอง สุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข; 2559
งานยุทธศาสตร์สุขภาพ กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข. รายงานแผนยุทธศาสตร์ระบบสุขภาพจังหวัดมหาสารคาม. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม; 2562.
ชาตรี แมตสี,ศิวิไลช์ วนรัตน์วิจิตร.การสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ:จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ.วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 9:2(96); 2560
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : บิสซิเนส อาร์ แอนด์ ดี; 2551
รุ่งนภา อาระหัง. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกัน โรคความดันโลหิตสูงสำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงที่ชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม. กรุงเทพฯ: คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2560
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข. แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 - 2564. นนทบุรี; 2559
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. พิมพ์ครั้งที่ 1: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์, นนทบุรี; 2559.
แผนปฏิบัติการการโรงพยาบาลมหาสารคาม ประจำปีงบประมาณ 2562. แผนงานโครงการชุมชน บ้านหนองหิน “รู้ เลือก ใช้” ยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ อาหารปลอดภัย สมุนไพร กายใจ เป็นสุข หยุดยั้ง NCDs ด้วยวิถี บวร.ร.; 2562
Ten threats to global health in 2019, [Internet]. 2019 [cited 2020 August 1] Available form: https://www.who.int/news-room/spotlight/ten-threats-to-global-health-in-2019.
Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planner (3rd ed.). Geelong, Australia: Deakin University Press; 1988.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม