การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลการเจาะเลือดส่งเพาะเชื้อในหอผู้ป่วยเด็กเล็ก โรงพยาบาลมหาสารคาม
คำสำคัญ:
การพัฒนาแนวปฏิบัติ, การเจาะเลือดส่งเพาะเชื้อ, ผู้ป่วยเด็กบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการเจาะเลือดส่งเพาะเชื้อในหอผู้ป่วยเด็กเล็ก โรงพยาบาลมหาสารคาม พัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลและผลการนำไปใช้
วิธีดำเนินการ : วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมและพัฒนาแนวปฏิบัติตามรูปแบบการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ของซูคัพ(1) แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ 1) การค้นหาปัญหาทางคลินิก 2) การค้นหาหลักฐานเชิงประจักษ์ ยกร่างและตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ 3) นำแนวปฏิบัติไปทดลองใช้ ปรับให้เหมาะสมกับบริบท 4) นำแนวปฏิบัติไปใช้จริงและประเมินผลลัพธ์ กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเป็นพยาบาลวิชาชีพ 7 คนที่นำแนวปฏิบัติไปใช้กับผู้ป่วยเด็ก 30 ราย
ผลการวิจัย : พบ 1.ปัญหาในการเจาะเลือดส่งเพาะเชื้อที่ต้องนำสู่การพัฒนา มี 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านแนวปฏิบัติ 2) ด้านผู้ปฏิบัติการพยาบาล 3) ด้านผลลัพธ์ 4) ด้านต้นทุนและภาระงาน 5) ด้านผู้รับบริการ 2.แนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยข้อปฏิบัติ 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การจัดสิ่งแวดล้อมขณะเจาะเลือด 2) การทำความสะอาดมือ 3) การสวมอุปกรณ์ป้องกันร่างกาย 4) ชุดอุปกรณ์/การเตรียมอุปกรณ์ในการเจาะเลือด 5) การจัดท่าและยึดตรึงผู้ป่วย 6) การเลือกบริเวณเจาะเลือดและการเตรียมผิวหนัง 7) การเจาะเก็บเลือดและการนำส่ง 3.พยาบาลวิชาชีพทุกคนสามารถนำแนวปฏิบัติไปใช้ได้ทุกองค์ประกอบ 4.ด้านผลลัพธ์ พยาบาลวิชาชีพส่วนใหญ่มีความพึงพอใจระดับมากต่อการใช้แนวปฏิบัติ อัตราการปนเปื้อนลดลงเป็น ร้อยละ 3.33
สรุป : แนวปฏิบัติทางการพยาบาลการเจาะเลือดส่งเพาะเชื้อในหอผู้ป่วยเด็กเล็กช่วยให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีจึงเหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็นมาตรฐานในการปฏิบัติเพื่อให้ปฏิบัติการพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
References
Soukup S. M. The center for advanced nursing practice evidenced based practice model. Nursing Clinic of North America 2000; 35(2): 301-309.
บุษกร พันธ์เมธาฤทธิ์, ลักขณา คงแสง, ปิยธิดา เทพประดิษฐ์, ปราณี คำจันทร์, ลดาวัลย์ ประทีปชัยกูล, จารีย์ สุวรรณโชติ. พฤติกรรมการดูแลเด็กในการป้องกันควบคุม โรคติดต่อที่บ้านโดยผู้ปกครองและที่ฝ่ายพัฒนาเด็กปฐมวัยโดยผู้ดูแลเด็ก. วารสารพยาบาล สงขลานครินทร์ 2561; 38: 79-90.
กนกจันทร์ เขม้นการ, หัตถการแทงน้ำเกลือในผู้ป่วยเด็ก: กลยุทธ์การพยาบาลสู่ความสำเร็จ: วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2555; 3(2): 131–139.
ประสิทธิ์ ดุษฎีประเวศน์. การลดการปนเปื้อนของเชื้อ Coagulase – negative Staphylococcus ในการเพาะเชื้อจากเลือดในโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ชุตินฺธโรอุทิศ [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักการแพทย์; 2556. [เข้าถึงเมื่อ 2 กรกฎาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก:http://www.msdbangkok.go.th
โรงพยาบาลมหาสารคาม. รายงานการเพาะเชื้อจากเลือด. เอกสารอัดสำเนา. กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์และพยาธิวิทยาทางคลินิก โรงพยาบาลมหาสารคาม, 2560-2563.
ข้อบังคับสภาการพยาบาล ว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ฉบับที่ 3 พ.ศ.2562, ราชกิจจานุเบกษา. 136 (ตอนพิเศษ) 182 ง 36 [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: สภาการพยาบาล; 2562. [เข้าถึงเมื่อ 2 สิงหาคม 2563].
เข้าถึงได้จาก: http://: www.tnmc.or.th
โรงพยาบาลมหาสารคาม. คู่มือการเจาะเลือดกลุ่มงานเทคนิคการแพทย์และพยาธิวิทยาทางคลินิก; .เอกสารอัดสำเนา. กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์และพยาธิวิทยาทางคลินิก โรงพยาบาลมหาสารคาม, 2559.
ฟองคำ ดิลกสกุลชัย. การปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ : หลักการและวิธีปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2553.
Cohen, J. M. & Uphoff, N. T. Participations place in rural development: seeking clarity throught specificity. World Development 1980; 8, 213-235.
พิกุล นันทชัยนัทธ์. การประเมินคุณภาพด้านการนำไปใช้ของแนวปฏิบัติทางคลินิก: เอกสารประกอบการบรรยายการอบรม เรื่องการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์. กรุงเทพฯ: ศูนย์บริการพยาบาลคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2550.
กัญญ์สิริ จันทร์เจริญ. การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง. ใน: ประกาย จิโรจน์กุล, บรรณาธิการ. การวิจัยทางการพยาบาล แนวคิด หลักการและวิธีปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บริษัทสร้างสื่อ จำกัด; 2548. หน้า 85-144.
กำพล สุวรรณพิมลกุล, คัคนางค์ นาคสวัสดิ์. วิธีลดการปนเปื้อนในการเจาะเลือดส่งเพาะเชื้อ. ใน: สุรางค์ เดชศิริเลิศ, สุวรรณา ตระกูลสมบูรณ์, กาญจนา คชินทร. บรรณาธิการ.แนวปฏิบัติการเจาะเลือดเพาะเชื้อและการเพาะเชื้อก่อโรคจากเลือด. กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553. หน้า 5-9.
บุญใจ ศรีสถิตนรากูล. ระเบียบวิธีวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย; 2550.
The Joanna Briggs Institute . Joanna Briggs Institute Review’s Manual 2014. The systemic Review of Economic Evaluation Evidence. [อินเตอร์เน็ต], 2014. [เข้าถึงเมื่อ 2 กรกฎาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://nursing.Isuhsc.edu
จุติรัตน์ มากมิ่งจวน, สินาฏ คุณอารี, วัชรีย์ แสงมณี. การพัฒนาวิธีปฏิบัติการเจาะเลือดส่งเพาะ เชื้อหอผู้ป่วยเด็ก 1 โรงพยาบาลสงขลานครินทร์. Princess of Naradhiwas Univercity Journal 2553; 2(1): 106-120.
รุ่งวิภาษ์พร เอี้ยวกฤตยากร, ภาวิตา วิภวกานต์, อรกมล จิรกิจประภา, ศรีสุดา เกษศรี, รณวีร์ ยอดวารี, ผกาทิพย์ ทองพลาย. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคไข้เลือดออกโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต.วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11 2561; 32(2): 1105-1114.
กนิษฐา อิสสระพันธุ์, เพียงฤทัย โรจน์ชีวิน. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการเตรียมผ่าตัดสมองในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2559; 5(5): 823-830.
สมใจ จันทะวัง. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดในงานห้องผู้ป่วยหนัก 2 โรงพยาบาลลำพูน. วารสารโรงพยาบาลแพร่ 2561; 26(1): 35–46.
ลัดดาวัลย์ พุทธรักษา,รัชนีภรณ์ ทรัพย์กรานนท์, ประนอม โอทกานนท์. ปัจจัยสู่ความสำเร็จในการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ทางการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2561; 24(3): 94-103.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม