ผลลัพธ์การดูแลรักษาผู้ป่วยเด็กโรคหืดของโรงพยาบาลมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • สายพิณ ฤทธิโคตร โรงพยาบาลมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ผลลัพธ์ทางคลินิก, โรคหืดในเด็ก, คลินิกโรคหืดอย่างง่ายในเด็ก, สมรรถภาพปอด

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์ : ศึกษาผลลัพธ์ทางคลินิกของการดูแลรักษาผู้ป่วยเด็กโรคหืดในโรงพยาบาลมหาสารคาม โดยเปรียบเทียบก่อนและหลังการรักษาในคลินิกโรคหืดที่ระยะเวลา 1 ปี  2 ปี และ 3 ปี     

          วิธีการศึกษา : การศึกษาเชิงพรรณนาแบบวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลังจากแบบบันทึกประวัติการรักษาตามแบบฟอร์มเก็บข้อมูลของคลินิกโรคหืดอย่างง่าย (Easy Asthma Clinic)  แบบบันทึกประวัติผู้ป่วยนอกและประวัติผู้ป่วยในของโรงพยาบาลในผู้ป่วยเด็กโรคหืดอายุตั้งแต่ 1 - 15 ปี ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2557 ถึง 31  ธันวาคม 2559 และติดตามอย่างต่อเนื่องครบระยะเวลา  3 ปี จำนวน 354 ราย

          ผลการศึกษา : ผู้ป่วยเด็กโรคหืดมีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์คัดเข้าศึกษา จำนวน 354 ราย เป็นเพศชาย 206 ราย (ร้อยละ 58.2) เพศหญิง 148 ราย (ร้อยละ 41.8) อายุเฉลี่ย 4 ปี 1 เดือน   2 ปี 8 เดือน เปรียบเทียบผลการรักษาก่อนและหลังการรักษาในคลินิกโรคหืดที่ระยะเวลา 1 ปี 2 ปี และ3 ปี  พบจำนวนครั้งของอาการหืดกำเริบเข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินลดลงหลังการรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จาก 1.74 ครั้ง/ราย/ปี เป็น 0.69, 0.51 และ 0.29 ครั้ง/ราย/ปี ในปีที่ 1  ปีที่ 2 และปีที่ 3 ตามลำดับ จำนวนครั้งของอาการหืดกำเริบเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลลดลงหลังการรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จาก 1.61 ครั้ง/ราย/ปี เป็น 0.18, 0.12 และ 0.05  ครั้ง/ราย/ปีในปีที่ 1  ปีที่ 2 และปีที่ 3  ตามลำดับ สมรรถภาพปอด (% predicted PEFR) เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 71.88  เป็นร้อยละ  86.58 หลังการรักษาในปีที่ 1 และระดับการควบคุมโรคหืดเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 57.3 ร้อยละ 65.6 และร้อยละ 68.1 ในปีที่1 ปีที่ 2 และปีที่ 3 ตามลำดับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

          สรุปผลการศึกษา : การดูแลรักษาผู้ป่วยเด็กโรคหืดตามแนวทางการรักษาโรคหืดของคลินิกโรคหืดโรงพยาบาลมหาสารคาม มีผลลัพธ์ทางคลินิกภายหลังการรักษาดีขึ้นโดยการทำงานร่วมกันของทีมสหวิชาชีพ

References

Global Initiative for Asthma. Global Strategy for Asthma Management and Prevention NHLBI/WHOworkshop report; 1995.

Boonsawat W, Charoenphan P, Kaitboonsri S,Wiriyachaiyo V, Pothirat C, Wongtim S, et al. Prevalence of asthma symptoms in adult in 4 cities of Thailand.Joint scientific meeting the Thoracic Society of Thailand, the Malaysia Thoracic Society and the Singapore Thoracic Society. Bangkok, Thailand; 2002: p 112.

Vichyanond P, Jirapongsananuruk O,Visitsuntorn N, Tuchinda M. Prevalence of asthma, rhinitis and eczemain children from the Bangkok area using the ISAAC questionnaires. J Med Assoc Thai 1998; 81: 175-84.

Teeratakulpisarn J, Pairojkul S, Heng S. Survey of the prevalence of asthma, allergic rhinitis and eczema in school children from Khonkaen, Northeast Thailand.An ISAAC study. Asian Pac J Allergy Immunol. 2000;18: 187-94.

พรทิพย์ เดชพิชัย. ความชุกร่วมของโรคภูมิแพ้ในเด็กไทย: การวิเคราะห์อภิมาน.วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์ 2560;2:78-87.

Nasamon W, Suchada S, Jitlada D. Prevalence of asthma,level of control and factors associted with asthma control in Thai elementary school students in Bangkok.Asian Pac J Allergy Immunol 2014;32:287-92.

Boonsawat W, Charoenphan P, Kiatboonsri S, WongtimS, Viriyachaiyo V, Pothirat C, et al. Survey of asthma control in Thailand. Respirology 2004; 9: 373-8.

กัลยพัทธ์ นิยมวิทย์. การพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคหืดกำเริบเฉียบพลัน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี 2560;28 :149-160.

ศิริวันต์ ยิ้มเลี้ยง. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคหอบหืดโดยการมีส่วนร่วมของทีมสหสาขาวิชาชีพ โรงพยาบาลพิจิตร. วารสารกองการพยาบาล 2552;3: 96-111.

คณะกรรมการปรับปรุงแนวทางการรักษาและป้องกันโรคหืดในประเทศไทย สำหรับผู้ป่วยเด็ก. แนวทางการวินิจฉัย และรักษาโรคหืด ในประเทศไทย สำหรับผู้ป่วยเด็ก พ.ศ.2555. ใน: อภิชาติ คณิตทรัพย์, มุกดา หวังวีรวงศ์, บรรณาธิการ. แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืดในประเทศไทย สำหรับผู้ใหญ่และเด็ก พ.ศ. 2555.กรุงเทพฯ: ยูเนียนอุลตราไวโอเร็ต, 2555;97-159.

Global Initiative for Asthma. Global Strategy for Asthma Management and Prevention, NHLBI/WHOworkshop report. Bethesda, National Institutes of Health, updated 2014.

Global Initiative for Asthma. Global Strategy for Asthma Management and Prevention (updated 2017). Available from: http://www.ginaasthma.com.

Global Initiative for Asthma. Global Strategy for Asthma Management and Prevention (updated 2018). Available from: http://www.ginaasthma.com.

Polgar G, Promadhat V, Philadelphia, et al. Pulmonary Function Testing in Children:Technique and Standards.Physical therapy,Volume 52, Issue 11, November 1972,1234 -1235.

Clark TJH, Bateman ED, Boushey H, Bousquet J, Busse W, Pauwels R, Pedersen S. Aiming for total control of asthma in ICS-free patients improves traditional outcomes: results of the Gaining Optimal Asthma control (GOAL) study 23rd Meeting of the European Academy of Allergology and Clinical Immunology Meeting, June 12–16, 2004.

สายทิพย์ ตัน. ผลลัพธ์การดูแลรักษาผู้ป่วยในคลินิกโรคหืดเด็กโรงพยาบาลพิมาย. วารสารกรมการแพทย์ 2560;3: 83-91.

อรวรรณ จิระชาญชัย. ผลการรักษาเด็กโรคหืดอย่างง่ายก่อนและหลังเข้าคลินิกโรคหืดอย่างง่ายโรงพยาบาลเพชรบูรณ์ พ.ศ. 2558.วารสารวิชาการแพทย์เขต11 2560;2:279-85.

วาสนา อชิรเสนา. ประสิทธิผลการดูแลรักษาเด็กโรคหืดในคลินิกเด็กโรงพยาบลชุมชนกรณีศึกษา:โรงพยาบาลนาหม่อม จังหวัดสงขลา. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก 2562;2: 1-14.

ชลธิชา ตั้งชีววัฒนกุล. การศึกษาปัจจัยที่มีผลของต่อการควบคุมอาการของผู้ป่วยเด็กโรคหืด โรงพยาบาลพังงา. วารสารวิชาการแพทย์เขต11 2561;4:1269-80.

ปริญญาพร ไหมแพง. ประสิทธิผลการดูแลรักษาของคลินิกโรคหืดอย่างง่ายในเด็กโรงพยาบาลหล่มสัก.วารสารกรมการแพทย์ 2559; 41(3): 83-91.

สุภา หมดทุกข์.ประสิทธิผลการดูแลรักษาผู้ป่วยเด็กโรคหืดตามแนวทาง Global Initiative for Asthma (GINA) ในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์.ก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์ 2560;2:37-48.

โสมนัส โกยสวัสดิ์. ผลสัมฤทธิ์ของคลินิกโรคหืดโรงพยาบาลกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีษะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2555;27:34-42.

อัญชลี จันทร์สว่างภูวนะ. ผลสัมฤทธิ์การรักษาหอบหืดในเด็ก ณ. โรงพยาบาลบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ.วารสารวิชาการสาธารณสุข 2559; 25(5): 847-853.

สุจิตรา สีดาดี. การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับการควบคุมโรคหืดในผู้ป่วยที่รับการรักษาในโรงพยาบาลลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์.วารสารวิชาการสาธารณสุข 2557;1:30-36.

ธารินี สหจารุพัฒน์. ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการรับไว้รักษาตัวในโรงพยาบาลของผู้ป่วยเด็กโรคหืดกำเริบเฉียบพลัน โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ในปี พ.ศ. 2557-2558. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11 2558; 29(3) 459-465.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-30