การพยาบาลผู้ป่วยหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนเอวเคลื่อนกดทับเส้นประสาท ร่วมกับโพรงกระดูกสันหลังส่วนเอวตีบแคบที่ได้รับการผ่าตัดยกกระดูกลามินาออก เพื่อคลายการกดทับเส้นประสาทร่วมกับการเชื่อมและยึดตรึงกระดูกสันหลังด้วยโลหะ : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • บุญมี ชุมพล

คำสำคัญ:

โรคหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนเอวเสื่อม, การผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนเอว

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการดำเนินของโรค การศึกษา แบบแผนสุขภาพ ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล การพยาบาลและผลลัพธ์ทางการพยาบาล

         รูปแบบและวิธีวิจัย : การศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนเอวเสื่อม ตีบแคบกดทับเส้นประสาทที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลัง ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกและข้อชาย โรงพยาบาลมหาสารคาม เดือนธันวาคม 2563 จำนวน 2 ราย เครื่องมือในการศึกษา คือ แบบประเมินภาวะสุขภาพ และเวชระเบียนผู้ป่วยใน รวบรวมข้อมูลจากการสังเกต การสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ  การวิเคราะห์ข้อมูลวิเคราะห์เปรียบเทียบแบบแผนสุขภาพ พยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล การพยาบาลในระยะก่อนผ่าตัด ระยะวิกฤติหลังผ่าตัด  ระยะดูแลต่อเนื่องและฟื้นฟูสภาพ จนถึงระยะจำหน่าย

         ผลการศึกษา : ผู้ป่วยทั้ง 2 ราย ได้รับการวินิจฉัยเป็นผู้ป่วยหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนเอวเคลื่อนกดทับเส้นประสาทร่วมกับโพรงกระดูกสันหลังส่วนเอวตีบแคบ มีโรคเดิม คือ เบาหวานและความดันโลหิตสูง ได้รับการผ่าตัดยกกระดูกลามินาออกเพื่อคลายการกดทับเส้นประสาท ร่วมกับการเชื่อมและยึดตรึงกระดูกสันหลังด้วยโลหะการพยาบาล แบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะก่อนผ่าตัด เพื่อให้ผู้ป่วยมีความพร้อมผ่าตัด 2) ระยะวิกฤติหลังผ่าตัด เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน 3)ระยะดูแลต่อเนื่องและฟื้นฟูสภาพ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเองและควบคุมโรคเดิมได้ 4) ระยะจำหน่าย เพื่อให้ผู้ป่วยมีความพร้อมในการดูแลตนเองเมื่อกลับไปอยู่บ้าน

         สรุปผลการศึกษา : ผู้ป่วยหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนเอวกดทับเส้นประสาทที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน พยาบาลต้องมีความรู้ ทักษะความชำนาญ สามารถประเมินและให้การพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยหลังจำหน่ายกลับไปดำรงชีวิตได้ปกติ

References

นภานุช การเกษ. การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกสันหลัง : การศึกษารายกรณี. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 6 ประจำปี 2562.

กระทรวงสาธารณสุข. สาเหตุการเจ็บป่วยรายภาคต่อประชากร 1,000 คน. [อินเทอร์เน็ต]; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 12 ธันวาคม 2563]. เข้าถึงจาก htt://bps.ops.moph.go.th/Healthinformation/statistic54/statistic54.html.

วรรณี สัตยวิวัฒน์. การพยาบาลผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดเอ็นพีเพรส ; 2553.

ศศิกรณิศ สันติวรบุตร. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อคุณภาพการฟื้นตัวหลังผ่าตัดและการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยหลังผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนเอว. [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2561.

Brodke DS, Ritter SM. Nonsurgical management of low back pain and lumbar disc degeneration. AAOS

Instructional Course Lectures. 2005; 54(2): 279-286.

ชนิภา ยอยืนยง, ผ่องศรีศรีมงกต, สุพร ดนัยดุษฎีกุล และภูมิบาล เวศย์พิริยะกุล. ปัจจัยทำนายการฟื้นตัวด้านความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนเอว. วารสารพยาบาลทหารบก. 2558;16(1) : 62-69.

ศูนย์ข้อมูลโรงพยาบาลมหาสารคาม. รายงานผู้ป่วยในที่พบบ่อย[อินเทอร์เน็ต]. มหาสารคาม : [เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม. 2563].

Kevin FM, Jose DC, Juan SC, Luis RN, Gustavo P. Shock index as a mortality predictor in patients with

Acute polytrauma. Journal of Acute Disease. 2015; 4(3) :202–204.

สุวรรณี ชอบการไร่. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยกระดูกสันหลังเสื่อมที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังระดับเอว. วารสารสภาการพยาบาล. 2556 ; 28(3) : 68-79.

Gilmore, S. J., McClelland, J. A., Davidson, M. Physiotherapy management of patientsUndergoing lumbar spinal surgery. New Zealand Journal of Physiotherapy. 2016 ; 44(2) : 105-112.

พรสิริ พันธสี. กระบวนการพยาบาล&แบบแผนสุขภาพ : การประยุกต์ใช้ทางคลินิก. พิมพ์ครั้งที่ 18. สมุทรปเส้นาร : ห้างหุ้นส่วนจำกัดพิมพ์อักษร ; 2559.

กิตติ จิระรัตน์โพธิ์ชัย, เสมอเดือน คามวัลย์ และชัช สุมนานนท์. โรคกระดูกสันหลังเสื่อมหลักฐานเชิงประจักษ์ เล่ม 2. คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554.

ทิพเนตร งามกาละ, พรทิพย์ มาลาธรรม และอรพิชญา ไกรฤทธิ์. อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของภาวะสับสน

เฉียบพลันในผู้ป่วยสูงอายุที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาล. Rama Nurs J May-August .2018 ; 24(2) :137-149.

Allvin, R., Ehnfors, M., Rawal, N., &Idvall, E. Experiences of the postoperative recovery process: An interview study. The Open Nursing Journal.2008 ; 2(1) :1-7.

สถาบันประสาทวิทยา. แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกสันหลังสำหรับพยาบาลทั่วไป. กรุงเทพฯ: กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข; 2560.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-30