ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะหนาวสั่น (Shivering) ในผู้ป่วยหลังได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วไปในห้องพักฟื้น ของโรงพยาบาลตรัง
คำสำคัญ:
ภาวะหนาวสั่น, การระงับความรู้สึกแบบทั่วไปบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะหนาวสั่น ทั้งปัจจัยด้านผู้ป่วยและปัจจัยจากการผ่าตัด
รูปแบบและวิธีวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป โดยแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบความสัมพันธ์ โดยทดสอบค่าไค-สแควร์ ( Chi-square test)
ผลการศึกษา : พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีภาวะหนาวสั่นที่จำเป็น ต้องใช้ยา (Pethidine) ร้อยละ 85.7,ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะหนาวสั่นคือ ผู้ป่วยในกลุ่มอายุ 16-65 ปี ผู้ป่วยที่ได้รับการประเมินสภาพร่างกายในกลุ่ม 2E ผู้ป่วยที่ได้รับสารน้ำ ทางหลอดเลือดดำมากกว่า 1,000 มิลลิลิตร การสูญเสียเลือดมากกว่า 600 มิลลิลิตร, การผ่าตัดในแผนกสูติ-นรีเวชกรรม มีความสัมพันธ์กับภาวะหนาวสั่น อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.01, การผ่าตัดนอกเวลาราชการและการผ่าตัดในช่องท้อง มีความสัมพันธ์ ทางสถิติที่ระดับ 0.05
สรุปผลการศึกษา : จากผลการวิจัย ผู้ให้การดูแลควรให้ความสำคัญในการดูแลและเฝ้าระวัง ภาวะหนาวสั่นในผู้ป่วย ตามปัจจัยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหนาวสั่น
References
ปรเมศวร์ จิตถนอม,นรลักษณื เอื้อกิจ ผลของโปรแกรมการให้สารน้ำอุ่น และการให้ความอบอุ่นร่างกาย ร่วมกับการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนต่ออาการหนาวสั่นในหญิงที่มารับการผ่าตัดทางนรีเวชที่ได้รับการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง.วารสารการแพทย์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ (2018-13)784-797.
ชวิภา พิสิฏฐศักดิ์,ชนิดา วีรังบุตร,การติพงษ์ คีวงค์,เบธพร พรประเสริฐ. อุบัติการณ์และปัจจัยในการเกิดอุณหภูมิกายต่ำภายหลังจากการผ่าตัด วิสัญญีสาร 2554 : 37:93-103.
โรงพยาบาลตรัง กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา รายงานสถิติตัวชี้วัดและภาวะแทรกซ้อนทางวิสัญญี ประจำปี 2562. โรงพยาบาลตรัง 2562.
ประสพชัย พสุนนท์.การกำหนดขนาดตัวอย่างตามแนวทางของ Krejcie and Morgan (1970)ในการวิจัยเชิงปริมาณ. วารสารวิชาศิลปะศาสตร์ประยุกต์ 2557;2:112-120
ฐิติมา จำนงเลิศ. อุบัติการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะอุณหภูมิกายต่ำในผู้ป่วยขณะผ่าตัด.วารสารสมาคมพยาบาลห้องผ่าตัดแห่งประเทศไทย.2555;2:19-30
ชาริณี ประจันทร์นวล, เทพกร สาธิตการมณี, สิริรัตน์ ตรีพุทธรัตน์, สรรชัย ธีรพงศ์ภักดี, ดวงธิดา นนท์เหล่าพล,วิริยา ถิ่นชีลอง ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะอุณหภูมิกายต่ำขณะผ่าตัดในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่ได้รับการป้องกันตามมาตรฐาน :ศึกษาแบบ case-control. วิสัญญีสาร 2556; 39(3) :183-191
สมหมาย ทองมี ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะหนาวสั่นหลังได้รับยาระงับความรู้สึกของผู้ป่วยหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้น วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11 ปีที่ 32 2561;4:1-12
วัลภา จิรเสงี่ยมกุล อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงการเกิดภาวะหนาวสั่นในห้องพักฟื้นหลังได้รับยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลัง โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 ปีที่ 29 ฉบับที่ 4 ต.ค. - ธ.ค. 2558:579-586
จินตนา ดีป้อมและคณะ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำในผู้ป่วยผ่าตัดที่ได้รับการให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกายในโรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี.วารสารการพยาบาล สุขภาพและการศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี 2562 :3-11
พนาวรรณ จันทรเสนา, มาณพ คณะโต, อรวรรณ แสงมณี. ภาวะแทรกซ้อนการให้ยาระงับความรู้สึกทางช่องไข สันหลังในมารดาผ่าตัดคลอดที่โรงพยาบาลคัดสรรใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการพัฒนาสุขภาพ ชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2556; 1(3):105-116.
เกษร พั่วเหล็ก. ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะหนาวสั่นและอุณหภูมิต่ำ เพื่อการพัฒนาโปรแกรมอบอุ่นร่างกายในผู้ป่วยผ่าตัดที่ได้รับยาระงับความรู้สึกทางช่องน้ำไขสันหลัง โรงพยาบาลหนองบัวลำภู. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2560;3:294-305
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม