การศึกษาเปรียบเทียบลักษณะของสายเสียงขณะใส่ท่อหายใจจากการใช้ cisatracurium 0.1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ร่วมกับยาดมสลบ sevoflurane และการใช้ cisatracurium 0.15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดมดลูกออกทางหน้าท้อง
คำสำคัญ:
cisatracurium, sevoflurane, ลักษณะของสายเสียง, การใส่ท่อหายใจบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาเปรียบเทียบลักษณะของสายเสียงขณะใส่ท่อหายใจจากการใช้ cisatracurium 0.1 มก./กก. ร่วมกับยาดมสลบ sevoflurane เปรียบเทียบกับการใช้ cisatracurium 0.15 มก./กก.ในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดมดลูกออกทางหน้าท้อง
วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่มอำพราง 2 ฝ่ายในผู้ป่วย 184 คน โดยสุ่มแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ผู้ป่วยทุกรายจะได้รับยา midazolam และ fentanyl นำสลบด้วย propofol กลุ่มศึกษา( S group)จะได้รับ cisatracurium 0.1มก./กก. จากนั้นช่วยหายใจผ่านหน้ากากด้วย O2:N2O 2:4 ลิตร/นาที ร่วมกับเปิด sevoflurane 4 %เป็นเวลา 3 นาที กลุ่มควบคุม (C group) จะได้รับ cisatracurium 0.15 มก./กก. และช่วยหายใจผ่านหน้ากากด้วย O2:N2O 2:4 ลิตร/นาที เป็นเวลา 3 นาที จึงเริ่มทำการใส่ท่อหายใจ จากนั้นทำการประเมิน ลักษณะของสายเสียง คุณภาพการใส่ท่อหายใจ สัญญาณชีพ ภาวะแทรกซ้อนในระหว่างและหลังใส่ท่อหายใจ
ผลการศึกษา : ลักษณะของสายเสียงทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (กลุ่ม S สายเสียงเปิดและนิ่ง 92.39 % กลุ่ม C 96.74% p-value 0.193) กลุ่ม S มีค่าความดันโลหิตเฉลี่ยต่ำกว่ากลุ่ม C อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งช่วงก่อนใส่ท่อหายใจ( p-value= 0.007, 95% CI= 1.39,8.44 ) และช่วงหลังใส่ท่อหายใจทันที (p-value= <0.001, 95% CI=4.50,15.71) คุณภาพการใส่และภาวะแทรกซ้อนทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุปผลการศึกษา : การใช้ยาดมสลบ sevoflurane สามารถเสริมฤทธิ์ cisatracurium ขนาด 0.1มก./กก.ในการใส่ท่อหายใจให้ราบรื่นไม่แตกต่างจากการใช้ cisatracurium 0.15 มก./กก.
References
John FB, David CM, John DW. Neuromuscular blocking agents Morgan &Mikhail’s Clinical anesthesiology 5th ed.United states: McGraw-Hill educatin;2013 :199-222
Doenicke AW, Czeslick E , Moss J . Onset time ,endotracheal intubating conditions,and plasma histamine after cisatracurium and vecuronium administration. Anesth Analg 1998;87(2):434-438
Thai national formulary 2016 of Anesthetics and pain medication p.13-19
Kirov K, Motamed C ,Decaillot F . comparison of the neuromuscular blocking effect of cisatracurium and atracurium on the larynx and adductor pollicis .Acta Anaesth Scand 2004;48:577-581
Linda S, Lawrence W, Robert L .Evaluation of cisatracurium ,a new neuromuscular blocking agent ,for tracheal intubation. CAN J Anaesth 1996;43(8):925-931
Wong S, Chung F . Succinylcholine associated postoperative myalgia .Anaesthesia 2000;55:144-152
Ryan C. Can succinylcholine be abandoned? Anesth Analg 2000;90:24-28
Hinnerk W,Martin K Thoas L .Augmentation of the neuromuscular blocking effect of cisatracurium during desflurane, sevoflurane ,isoflurane or total i.v.aneesthesia. British Journal of Anaesthesia 1998;80:308-312
Yuan -yuan M, Wei-dong M, Chun-ji H .Influence of sevoflurane and propofol on the neuromuscular block effect of cisatracurium .Medical journal of chineses people 2011;36(9)
Muzi M, Robinson BJ ,Ebert TJ ,Obrien TJ . Induction of anesthesia and tracheal intubation with sevoflurane in adults. Anesthesiology 1996; 85:563-43
Wantakan W ,Katesiree T,Somchai I . Comparison study for vocal cords conditions for intubation between Cisatrcurium and sevoflurane in patient undergoing gynecological surgery. Thai J Anesthesiol 2018;44(1): 24-29
A.M. El-Kasaby ,H.M.Atef, A.M.Helmy .Cisatracurium in different doses versus atracurium during general anesthesia for abdominal surgery .Saudi J Anaesth 2010;4(3): 152-1
Chow,S.-C,Shao,J.,&Wang,H.(2003).Sample size Calculations in clinical research (2nd ed) .Chapman &Hall /CRC.,88p
Hiroshi H,Aji B,Yoshinari M. Appropriate sevoflurane concentration to stabilize autonomic activity during intubation with rocuronium in infants: a randomized controlled trial.BMC Anesthesiology 2015;15:64
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม