ปัจจัยการพยากรณ์ระดับการมองเห็นในผู้ป่วยที่มีภาวะเส้นประสาทตาเสื่อมจากอุบัติเหตุในโรงพยาบาลขอนแก่น
คำสำคัญ:
โรคเส้นประสาทตาเสื่อมจากอุบัติเหตุ, ปัจจัยการพยากรณ์โรคบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาข้อมูลและผลการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะเส้นประสาทตาเสื่อมจากอุบัติเหตุในโรงพยาบาลขอนแก่นและปัจจัยที่มีผลต่อการพยากรณ์โรค
รูปแบบและวิธีวิจัย : วิเคราะห์ข้อมูลแบบย้อนหลังในผู้ป่วย 62 ราย ที่มีภาวะเส้นประสาทตาเสื่อมจากอุบัติเหตุในโรงพยาบาลขอนแก่นช่วงระยะเวลา 10 ปี (พ.ศ. 2553-2563) เก็บข้อมูลได้แก่ เพศ, อายุ, ตาข้างที่เป็น, ระดับสายตาที่ตรวจได้ครั้งแรกหลังเกิดอุบัติเหตุ (Initial VA), ระดับสายตาหลังสิ้นสุดการรักษา (Final VA), ภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง, การบาดเจ็บร่วม, วิธีการรักษา จากนั้นแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่มีระดับสายตา Final VA ดีกว่า Initial VA กับกลุ่มที่แย่กว่าหรือเท่ากับระดับสายตา Initial VA เพื่อนำมาวิเคราะห์หาปัจจัยในการพยากรณ์โรค
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยมีอายุระหว่าง 12-67 ปี เป็นเพศชาย 53 ราย (ร้อยละ 84.13) สาเหตุหลักคือ อุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ (ร้อยละ 79.37) การบาดเจ็บทางกายที่พบร่วมด้วยมากที่สุดคือการบาดเจ็บที่ศีรษะ (ร้อยละ 90.48) พบว่ามีการสูญเสียสายตาระดับรุนแรง (Initial VA < 3/60) ถึงร้ อยละ 88.89 เมื่อสิ้นสุดการรักษามีผู้ป่วยที่สูญเสียการมองเห็นอย่างรุนแรงถึง ร้อยละ 71.42 ปัจจัยที่ช่วยในการพยากรณ์โรคพบว่า Initial VA ที่มากกว่าหรือเท่ากับ 3/60 จะมีระดับสายตาหลังสิ้นสุดการรักษาที่ดีขึ้น (p-value = 0.036) การรักษาแบบสังเกตอาการหรือการให้ยา Corticosteroids ไม่มีผลต่อการพยากรณ์โรคที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุปผลการศึกษา : โรคเส้นประสาทตาเสื่อมจากอุบัติเหตุเป็นโรคที่มีการพยากรณ์โรคที่ไม่ดี ปัจจัยที่ช่วยในการพยากรณ์โรคที่ดี คือระดับสายตาเมื่อได้รับการวินิจฉัยที่ดี การป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุหรือลดความรุนแรงจากการเกิดอุบัติเหตุจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด
References
Levin LA, Beck RW, Joseph MP, Seiff S, Kraker R. The treatment of traumatic optic neuropathy: the International Optic Nerve Trauma Study. Ophthalmology 1999; 106(7): 1268-77.
World Health Organization. ICD-11 for mortality and morbidity statistics. Version: 2019 April. Geneva: WHO; 2019 [cited 2019 Aug 20]. Available from: https://icd.who.int/browse11/l-m/en.
Steinsapir, K.D., Goldberg, R.A. Traumatic optic neuropathy: a critical update. Comp Ophthalmol Update 2005; 6: 11–21.
Entezari M, Rajavi Z, Sedighi N, Daftarian N, Sanagoo M. High-dose intravenous methylprednisolone in recent traumatic optic neuropathy; a randomized double-masked placebo-controlled clinical trial. Graefes Arch ClinExpOphthalmol 2007; 245(9): 1267-71.
Yu-Wai-Man_P, Gri_iths_PG. Steroids for traumatic optic neuropathy. Cochrane Database of Systematic Reviews 2013, Issue 6. Art. No.: CD006032.
Yu Wai Man P, Griffiths PG. Surgery for traumatic optic neuropathy. Cochrane Database Syst Rev 2005; (4): CD005024.
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศการขนส่งและจราจร สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 20 เมษายน 2564]. เข้าถึงได้จาก http://mistran.otp.go.th/ReportService/VehicleRegistrationAll.aspx.
Wen-Guei Yang, Chien-Tzung Chen, Pei-Kwei Tsay. Outcome for Traumatic Optic Neuropathy - Surgical Versus Nonsurgical Treatment. Annals of Plastic Surgery 2004; 52: 36-42
Ulrich S, Helmut W, William H. Clinical Neuro-Ophthalmology A Practical Guide : chapter 3 Functional Anatomy of the Human Visual Pathway. Springer Berlin Heidelberg New York ,2007
A Carta, L Ferrigno, M Salvo, S Bianchi-Marzoli, A Boschi, F Carta. Visual prognosis after indirect traumatic optic neuropathy. J Neurol Neurosurg Psychiatry 2003; 74: 246–248
Hall ED. The neuroprotective pharmacology of methylprednisolone. Journal of Neurosurgery 1992; 76(1): 13-22.
Wanicha C., Niphon C. A prospective randomized trial of megadose methylprednisolone and high dose dexamethasone for traumatic optic neuropathy. J Med Assoc Thai 2002; 85(5): 597-603.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม