ความสัมพันธ์ของความมั่นใจตนเองในการปฏิเสธการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ปีการศึกษา 2563

ผู้แต่ง

  • แพรวพรรณ พรมยศ

คำสำคัญ:

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์, การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, นักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏ

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และศึกษาความสัมพันธ์ของความมั่นใจตนเองในการปฏิเสธการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ปีการศึกษา 2563

          รูปแบบและการวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) ในนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามปี2563โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้การสุ่มแบบSnowball คำนวณโดยใช้ Estimating a proportion ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง187คน มีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 255 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์  Pearson Chi-square and Fisher exact

           ผลการศึกษา : 1. มีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 255 คน เป็นเพศหญิง 174 คน (ร้อยละ 68.2), อายุ 19 ปี 102 คน (ร้อยละ 40.0) ส่วนใหญ่ศึกษาอยู่คณะครุศาสตร์ 65 คน (ร้อยละ 25.5) 2. เครื่องดื่มที่นิยมมากที่สุดคือ เบียร์ 178 คน (ร้อยละ69.8) เริ่มดื่มเมื่ออายุ 18 ปีคือ 74 คน (ร้อยละ 29.0) สาเหตุหลักที่ดื่มเครื่องดื่มคือ เพื่อการสังสรรค์และเพื่อเข้าสังคม 132 คน (ร้อยละ51.8) บุคคลที่ดื่มด้วยคือ เพื่อน 205 คน (ร้อยละ80.5) และสถานที่นิยมดื่มคือ สถานบันเทิง 99 คน (ร้อยละ 38.8) 3. เพื่อนชวนไปดื่มไปเที่ยว และเมื่อเพื่อนชวนไปร้องคาราโอเกะสถานบันเทิงเพื่อดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีความสัมพันธ์ต่อความมั่นใจในการปฏิเสธการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏอย่างมีนัยสำคัญ P-value 0.002 และ 0.004 ตามลำดับ

          สรุปผลการศึกษา : จากการศึกษาพบว่าเมื่อเพื่อนชวนไปดื่มไปเที่ยวและเมื่อไปร้องคาราโอเกะสถานบันเทิงเพื่อดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีความสัมพันธ์ต่อความมั่นใจในการปฏิเสธการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาระดับ ปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏปีการศึกษา2563ดังนั้นการให้ความรู้ให้เห็นข้อดีข้อเสียส่งเสริมค่านิยมที่ถูกต้องและเสริมสร้างทักษะความมั่นใจในการปฏิเสธการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้แก่นักศึกษาอันจะช่วยลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามได้

References

World Health Organization(WHO). Global status report on alcohol and health 2018. Geneva ; 2018.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ.ผลสำรวจพฤติกรรมการดื่มสุราของประชากรไทย พ.ศ. 2560. [อินเทอร์เน็ต]. 2560. [เข้าถึงเมื่อ 5 พฤษภาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://nso.go.th.

ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (Center for Alcohol Studies). ทำไมจึงต้องมีพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 27 พฤษภาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://cas.or.th.

วัลภา กุณฑียะ, พรนภา หอมสินธุ์ และรุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในนักเรียนอาชีวศึกษาชาย จังหวัดชัยนาท.วารสารการพยาบาลและการศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา 2558; 8(1): 11-26.

โครงการเปลี่ยนชีวิตคนติดเหล้า. Alcohol Rhythm. [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 15 พฤษภาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://alchoholrhytn.com./

สุทธิพงษ์ กรานเขียว. พฤติกรรมการดื่มสุราของนิสิตภาคพิเศษมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิต (การบริหารทั่วไป) วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2558.

อัมมันดา ไชยกาญจน์ และ อมรา ไชยกาญจน์. พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ 2554; 7(2): 107-113.

ไชยวัฒน์ ไชพาทรัพย์, สุรเจต ไชยพันธ์พงษ์, อรทัย ปานคำ และ อิศรา กองคำ. พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตอำเภอเมืองจังหวัดพระเยา. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาบริหารธุรกิจ.พะเยา :สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค; 2562.

สุทธิรักษ์ ไชยรักษ์,สมชาย รักกลาง,พงศ์มิตร โพธิ์กลาง,สุปรีชา เคลือบคนโท,รัชตา อนงค์เวช,สอบศักดิ์ มีพวงพินธุ์,เอนก ทองไทย. รายงานพฤติกรรมการดื่มสุราของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.คลังปัญญามหาวิทยาลัยสุรนารี. 2553; 52(2): 45-60.

รัตติยา บัวสอน. พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานคร. รามาธิบดีพยาบาลวารสาร 2555; 18(2): 259-271.

ธีรภัทร ณุวงษ์ศรี, กรรณิการ์ นามวงศ์, กัญญารัตน์ น้ำนิล และ พิชญาพร โตโพธิ์กลาง. พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมแอลกอฮอล์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต.นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา; 2561.

ณกร ลูกสยาม, นันทิยา วัฒายุ และดวงใจ รัตนธัญญา. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ในนักเรียนวัยรุ่นในเขตเทศบาลจังหวัดสุรินทร์. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2560; 37(4) :28-39.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31