การใช้สื่อวีดิทัศน์เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารของสตรีตั้งครรภ์ ที่มารับบริการฝากครรภ์ โรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ศิริพร พรแสน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ
  • สุภาพักตร์ หาญกล้า

คำสำคัญ:

สื่อวีดิทัศน์, พฤติกรรมการบริโภคอาหาร, สตรีตั้งครรภ์

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์ : 1. ผลิตสื่อวีดิทัศน์สำหรับใช้ในการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหาร 2. วัดระดับความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารก่อนและหลังชมสื่อวีดิทัศน์ และ 3. ประเมินความพึงพอใจต่อสื่อวีดิทัศน์

         รูปแบบและวิธีวิจัย : เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ สตรีตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์โรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี จำนวน 30 คน เป็นสตรีตั้งครรภ์ที่ยังไม่เคยรับชมสื่อวีดิทัศน์เกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารมาก่อน ไม่มีความพิการทางสายตา และไม่จำกัดอายุครรภ์

         ผลการศึกษา :  1. ได้สื่อวีดิทัศน์สำหรับใช้ในการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารของสตรีตั้งครรภ์ มีความยาว 9.48 นาที 2. ระดับความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของสตรีตั้งครรภ์ ก่อนรับชมสื่อ วีดิทัศน์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.90 และหลังชมสื่อวีดิทัศน์ มีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นเท่ากับ 9.80  และ 3. ความพึงพอใจต่อสื่อวีดิทัศน์ของสตรีตั้งครรภ์ อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในภาพรวมที่มีต่อบทเรียนสื่อวีดิทัศน์เท่ากับ 4.69

          สรุปผลการศึกษา : การใช้สื่อวีดิทัศน์เรื่อง “ทานตอนท้อง น้องแข็งแรง” ผลิตขึ้นตามกระบวนการอย่างเป็นระบบเหมาะสำหรับการนำไปใช้ในการสอนให้กับสตรีตั้งครรภ์ เพื่อส่งเสริมและปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

References

อรชร ศรีไทรล้วน และอภิสรา จังพานิช. ผลของการใช้วีดิทัศน์แบบแผนการดูแลผู้ป่วยประจำวันต่อความมั่นใจในการปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วยและความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. วารสาร เกื้อการุณย์ 2558; 22(1): 17-28.

กลุ่มรายงานมาตรฐานอนามัยแม่และเด็ก. ร้อยละของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย. อุดรธานี: สำนักงานสาธารณสุขอุดรธานี; 2562.

พวงน้อย สาครรัตนกุล. คู่มือตั้งครรภ์คุณภาพ. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน; 2550.

วิสิฐ จะวะสิต. องค์ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการสำหรับทุกช่วงวัย. กรุงเทพฯ: ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ สำนักงานอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา; 2559.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารสำหรับวัยทำงาน. กรุงเทพฯ: คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา; 2558.

จิราภรณ์ เรืองยิ่ง, สุจิตรา จรจิตร และกานดา จันทร์แย้ม. พฤติกรรมการบริโภคอาหารของวัยรุ่นในจังหวัดสงขลา; การสังเคราะห์องค์ความรู้และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร. วารสารศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ่ 2559; 8(1): 245-261.

มโนลี ศรีเปาเรยะ. พฤติกรรมการบริโภคอาหารของกลุ่มนักเรียนและนักศึกษาในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี 2559; 3(1): 115-126.

สิริไพศาล ยิ้มประเสริฐ. พฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาระดับปริญษาตรีชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานนครราชสีมา.นครราชสีมา:หลักสูตรเทคโนโลยีการสื่อมวลชน สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน;

ธารินันท์ ลีลาธิวานนท์, โสเพ็ญ ชูนวล,สุนันทา ยังวนิชเศรษฐ. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการผดุงครรภ์].สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2560.

สุภัสสร พรกลิ่น และคณะ. บริโภคนิสัย และภาวะโภชนาการของหญิงตั้งครรภ์ : กรณีศึกษาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร. วิจัยและนวัตกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม, ;2558.

พรรณี บัญชรหัตถกิจ, เฉลิมพร ถิตย์ผาด. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการรับประทานอาหารในสตรีตั้งครรภ์ต่อน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ขณะตั้งครรภ์ที่คลินิกฝากครรภ์โรงพยาบาลตติยภูมิจังหวัดขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร,2555; 27(4): 1- 6.

ณัฐนันท์ เกตุภาค และคณะ. ผลของการให้ข้อมูลโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ต่อความรู้และการปฏิบัติของผู้ป่วยในการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล. พยาบาลวารสาร 2554; 38(3): 98-109.

ทิวารัตน์ ประเสริฐสังข์. สื่อการเรียนการสอน. นครราชสีมา: หลักสูตรเทคโนโลยีการสื่อสารมวลชน สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน; 2560.

บุญธิดา ลิมาพงษ์ภาส และคณะ. ผลของการสอนก่อนผ่าตัดโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ต่อความรู้และการปฏิบัติตนในผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกด้วยการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2558; 9(1): 1-7.

ปิยะนันท์ สิมเรืองรอง. การพยาบาลสตรีระยะตั้งครรภ์. กรุงเทพฯ: โครงการตำราคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2560.

วรัตม์ เชิดเกียรติตระกูล. คิด/เห็น/เป็นภาพ. กรุงเทพฯ: บริษัทพิมพ์ดี จำกัด; 2563.

โสมรัศมี กล่ำกล่อมจิตร์. พฤติกรรมการบริโภคอาหารและการเพิ่มน้ำหนักร่างกายหญิงตั้งครรภ์แรก. [วิทยานิพนธ์คหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมังคลพระนคร; 2554.

เพ็ญศรี จะนู. ผลการใช้สื่อวีดิทัศน์เพื่อเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนผ่าตัดต่อระดับความรู้และความพึงพอใจในผู้ป่วยที่มารับบริการผ่าตัดแบบผู้ป่วยนอก ห้องผาตัด หู คอ จมูก โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. กรุงเทพฯ: โครงการวิจัยเพื่อพัฒนางานของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ; 2558.

ศิริพร พรแสน. การพัฒนาสื่อการสอนสตรีตั้งครรภ์เพื่อป้องกันการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดในโรงพยาบาลมหาสารคาม. [รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต

ชุติมา ปัญญาพินิจนุกูร, ณัฐธิดา สอนนาค และกาญจนา ศรีสวัสดิ์. พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2561; 38(2): 95 - 109.

ฝ่ายโภชนาการ โรงพยาบาลศิริราช. โภชนาการหญิงตั้งครรภ์. กรุงเทพฯ: เอกสารเผยแพร่ทางวิชาการ ฝ่ายโภชนาการหญิงตั้งครรภ์ โรงพยาบาลศิริราช; 2560.

วิสิฐ จะวะสิต. องค์ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการสำหรับทุกช่วงวัย. กรุงเทพฯ: ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ สำนักงานอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา; 2559.

มาลีวัล เลิศสาครศิริ. การพยาบาลสตรีในระยะตั้งครรภ์และระยะคลอด. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อัสสัมชัญ; 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31