ความรู้สึกเป็นภาระในผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะกลาง ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลโกสุมพิสัย

ผู้แต่ง

  • ผ่องพักตร์ จันทร์ศิริ

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, ภาระดูแล

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความรู้สึกเป็นภาระในผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะกลางที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลโกสุมพิสัย

          รูปแบบและวิธีวิจัย : เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางกลุ่มตัวอย่างมาจากผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เข้าสู่ระบบดูแลต่อเนื่องในชุมชน (intermediate care) ที่โรงพยาบาลโกสุมพิสัย โดยทำการเก็บตัวอย่างตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2563 ในผู้ป่วยทุกรายที่ยินดีเข้าร่วม สุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบบังเอิญ(Accidental Sampling) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยและผู้ดูแลร่วมกับแบบวัดภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Zarit Burden Interview) แบบประเมิน ADL ร่วมกับประวัติจากเวชระเบียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา หาความชุกและระดับของภาวะซึมเศร้าด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ปัจจัยที่คาดว่าจะมีผลต่อภาระดูแล โดยใช้การทดสอบไคสแควร์(Chi-square) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่น้อยกว่า 0.05(p-value<0.05)

          ผลการศึกษา : ทำการศึกษาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด 45 ราย เป็นชาย 27 ราย (ร้อยละ60) เป็นหญิง 18 ราย (ร้อยละ40) อายุส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 61 ปีขึ้นไป ผู้ดูแลผู้ป่วยทั้งหมด 45 ราย เป็นชาย 3 ราย (ร้อยละ6.6) เป็นหญิง 42 ราย (ร้อยละ93.3) อายุส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 41-60 ปี พบค่าความชุกความรู้สึกเป็นภาระในผู้ดูแล 14 ราย ใน 45 ราย (ร้อยละ31.1) พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้สึกเป็นภาระในผู้ดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง ได้แก่ ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย (p-value=0.002) จำนวนชั่วโมงที่ใช้ในการดูแลผู้ป่วย               (p-value=0.001)  และผลของการดูแลผู้ป่วยต่อการประกอบอาชีพของผู้ดูแล (p-value=0.002)

         สรุปผลการศึกษา : ค่าความชุกของความรู้สึกเป็นภาระในผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ร้อยละ 31.11 ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย จำนวนชั่วโมงที่ใช้ในการดูแล

References

สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือโรคหลอดเลือดสมอง (อัมพาต อัมพฤกษ์) สำหรับประชาชน.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท ธนาเพรส จำกัด; 2556.

ณัฐธิวรรณ พันธ์มุง, อลิสรา อยู่เลิศลบ, และ อามีนะห เจะปอ. ประเด็นสารรณรงค์วันอัมพาตโลก ปี 2561. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค 2561; 1-4.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. รูปแบบการดูแลสุขภาพระยะกลางของผู้สูงอายุในประเทศไทย (ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท บียอนด์ พับลิสชิ่ง จำกัด; 2562.

ปิยะภัทร เดชพระธรรม, รัตนา มีนะพันธ์, ประเสริฐพร จันทร, สมลักษณ์ เพียรมานะกิจ, เสาวลักษณ์ จันทรเกษมจิต, และ อำไพ อยู่วัลย์. ความน่าเชื่อถือของแบบประเมินบาร์เธลฉบับภาษาไทยในผู้ป่วยโรคอัมพาตหลอดเลือดสมอง. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร 2006; 16: 1-9.

ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ, รัชนี สรรเสริญ, และ วรรณรัตน์ ลาวัง. การพัฒนาแบบวัดภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง. การพยาบาลและการศึกษา 2555; (4)1: 62-75.

ธนาสิทธิ์ จิตราพันธ์. ความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา 2559; 56-62.

ธารินทร์ คุณยศยิ่ง, ลินจง โปธิบาล, และ ทศพร คำผลศิริ. การพึ่งพาของผู้สูงอายุที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง ภาระการดูแล การสนับสนุนทางสังคม และคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลวัยสูงอายุ. พยาบาลสาร 2558; 42: 107-117.

นิรชา ภูวธนารักษ์, และ ภัควีร์ นาคะวิโร. ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกเป็นภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2563; 1-11.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31