ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาระดูแลของผู้ดูแลผู้สูงอายุติดเตียงในเขตอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยติดเตียง, ภาระดูแลบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาระดูแลของผู้ดูแลผู้สูงอายุติดเตียง
รูปแบบและวิธีวิจัย : การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง ในผู้ดูแลผู้สูงอายุติดเตียงในเขตอําเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 40 คน จากการคํานวณ ขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการศึกษาโดยใช้สูตร Estimating a proportion คํานวณขนาดตัวอย่างได้อย่างน้อย 35 คน เพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูล ผู้วิจัยได้เพิ่มขนาดของกลุ่มตัวอย่างเป็น 40 คน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างตามสะดวก เริ่มการศึกษาระหว่างวันที่ 26 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 26 กันยายน 2563 เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถามมีทั้งหมด 3 ส่วน ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและปัจจัยที่มีผลต่อภาระดูแล แบบประเมินกิจวัตรประจำวัน ดัชนีบาร์เธลเอดีแอลและ แบบสอบถามภาระดูแลของผู้ดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง วิเคราะห์ปัจจัยที่คาดว่าจะมีผลต่อภาระดูแล โดยใช้ Chi-square และ Mann-Whitney U test โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่น้อยกว่า 0.05 (p-value <0.05)
ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุแบ่งเป็นกลุ่มไม่เป็นภาระดูแล ร้อยละ 72.5 กลุ่มที่เป็นภาระดูแล ร้อยละ 27.5 ในส่วนของผู้ดูแลหลักของผู้สูงอายุติดเตียง มีความสัมพันธ์เป็นบุตร ร้อยละ 42.5 สามีภรรยาร้อยละ 17.5 อื่นๆ ร้อยละ 40 เมื่อเปรียบเทียบปัจจัยด้านผู้ดูแลสูงอายุติดเตียง แยกตามกลุ่มไม่เป็นภาระดูแลกับเป็นภาระดูแลพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อภาระดูแลของผู้ดูแลคือความสัมพันธ์กับผู้ป่วย (p-value=0.003)
สรุปผลการศึกษา : ผู้ดูแลส่วนใหญ่ไม่มีภาระดูแล และปัจจัยที่มีผลต่อภาระดูแลคือ ความสัมพันธ์แบบอื่นๆที่ไม่ใช่บุตรหรือสามีภรรยา ดังนั้นการจะช่วยลดปัญหาผู้สูงอายุติดเตียงเป็นภาระดูแลของผู้ดูแล คือการมุ่งเน้นการเฝ้าระวังและให้ความสำคัญมากขึ้นในกลุ่มผู้ดูแล ที่มีความสัมพันธ์กับผู้ป่วย แบบอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ บุตรหรือสามี ภรรยา
References
สุภาดา คำสุชาติ. ปัญหาและความต้องการดูแลทางสุขภาพของผู้สูงอายุในประเทศไทย:ข้อเสนอทางนโยบาย. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2560; 6: 1156-1164.
จำนวนผู้สูงอายุจังหวัดมหาสารคาม [Internet]. [cite 2020 Oct 9]. Available from: http://mkho.moph.go.th/ltc -advanced/frontend/web/index.php/module/person/ person/report1.
ศูนย์อนามัยที่ 6 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. องค์ประกอบการดำเนินงานตำบลดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว (long term caer).ม.ป.ท.:2557.
ชนัญชิ ดาดุษฎี ทูลศิริ, รัชนี สรรเสริญ, วรรณรัตน์ ลาวัง. การพัฒนาแบบวัดภาระในการดูแลของผู้ ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง. การพยาบาลและการศึกษา 2555; 1: 62-75.
Hanh PT, Jullamateand P, Piphatvanitcha N. Factors related to caregiver burden among family caregivers of older adults with stroke in hai duong,vietnam. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2560; 3: 45-62.
สุรีย์ ธรรมิกบวร. วัฒนธรรมอีสานกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอาย. 1. อุบลราชธานี:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี; 2561.
สาสินี เทพสุวรรณ์, ณัฐจีรา ทองเจริญชูพงศ์, รศรินทร์ เกรย์. ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดและความสุขของการดูแลผู้สูงอายุ. วารสารประชากร 2556; 4(1). 75-92.
สาริกข์ พรหมมารัตน์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาระดูแลของผู้ดูแลผู้สูงอายุติดเตียง อําเภอบ้านโฮ่ง จังหวัด ลําพูน. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2562; 1: 57-64.
เชิดชาย ชยวัฑโฒ. การศึกษาภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลผู้ป่วยโรคอัมพาตหลอดเลือดสมอง. วารสารแพทย์เขต 4-5 2559; 1: 14-27.
วาสนา นามเหลา. ปัจจัยที่มีผลต่อภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มารับบริการในโรงพยาบาลจิตเวชสระแก้วราชนครินทร์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2561; 29: 23-35.
Schoenmakers B, Buntinx F, Delepeleire J. Factors determining the impact of care-giving on caregivers of elderly patients with dementia. Maturitas 2010; 66: 191-200.
Tosun ZK, Temel M. Burden of caregiving for stroke patients and the role of social support among family members: International Journal of Caring Sciences 2017; 10: 1969-1704.
ศิราณี ศรีหาภาค, โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์, คณิศร เต็งรัง. ผลกระทบและภาระการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวภายใต้วัฒนธรรมไทย. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข 2556; 1: 1-197.
ดวงกมล หน่อแก้ว, ชนุกร แก้วมณี. ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาระในการดูแลของผู้ดูแลบุคคลที่ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง 2559; 1: 187-197.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม