การพยาบาลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน : กรณีศึกษา 3 ราย
คำสำคัญ:
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน, ยาสเตรปโตไครเนสบทคัดย่อ
การศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute Myocardial Infarctionที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด ชนิดสเตรปโตไครเนส(Streptokinase) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินอาการเปลี่ยนแปลงก่อนและหลังให้ยาละลายลิ่มเลือดภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง เป็นการศึกษาผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม โรงพยาบาลมหาสารคามโดยการเลือกแบบจำเพาะเจาะจงจำนวน 3 รายเก็บรวบรวมข้อมูล การซักประวัติ การตรวจร่างกาย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การรักษาทางการแพทย์จากเวชระเบียน การสังเกตและสอบถามพยาบาลวิชาชีพ ผู้ป่วยและญาติเพื่อประกอบการดูแลผู้ป่วย ในการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาได้นำทฤษฏีการพยาบาลของโอเรมมาประยุกต์ใช้ร่วมกับแนวคิดการประเมินแบบแผนสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน พร้อมทั้งให้การพยาบาลตามกระบวนการพยาบาลทั้ง 5 ขั้นตอนครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและให้ผู้ป่วยและญาติได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการวางแผนการดูแลเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ ผลการศึกษา
กรณีผู้ป่วยรายที่ 1 อาการสำคัญ เจ็บแน่นหน้าอกร้าวไปบริเวณท้ายทอยและแขนซ้ายใจสั่น เป็นก่อนมาโรงพยาบาล 30 นาที แพทย์ให้ การวินิจฉัย ST- Elevation Myocardial infarction หลังให้ยาละลายลิ่มเลือดStreptokinase ตามแผนการรักษาของแพทย์ ผู้ป่วยไม่พบภาวะแทรกซ้อนใด จากการยาละลายลิ่มเลือด จำหน่าย refer ศูนย์ หัวใจสิริกิติ์เนื่องจากผู้ป่วยมีความดันโลหิตต่ำและ ไม่สม่ำเสมอ
กรณีผู้ป่วยรายที่ 2 อาการสำคัญ เจ็บแน่นหน้าอก หายใจลำบาก เป็นก่อนมาโรงพยาบาล 2 ชั่วโมง แพทย์วินิจฉัยโรคเป็น ST– Elevation–Myocardial infarction หลังให้ยาละลายลิ่มเลือด Streptokinase ตามแผนการรักษาของแพทย์ ผู้ป่วยไม่พบภาวะแทรกซ้อนใดๆ EKG พบคลื่นฟ้าหัวใจ เป็น Atrial fibrillation แพทย์ได้พิจารณาปรึกษาส่งต่อศูนย์หัวใจสิริกิติ์ เนื่องจากระหว่างและหลังให้พบว่าผู้ป่วยมีความดันโลหิตต่ำเป็นระยะและพบ Atrial fibrillation
กรณีผู้ป่วยรายที่ 3 อาการสำคัญ เจ็บแน่นหน้าอก เหงื่อซึม ใจสั่น เป็นก่อนมาโรงพยาบาล 4 ชั่วโมง มีเหงื่อซึม ใจสั่น แพทย์วินิจฉัยโรคเป็น ST– Elevation–Myocardial infarction หลังให้ยาละลายลิ่มเลือด Streptokinase ผู้ป่วยอาการดีขึ้น แพทย์มีคำสั่งให้ย้ายไปสังเกตอาการต่อที่หอผู้ป่วยกึ่งวิกฤต และจำหน่ายกฃลับบ้านแพทย์นัดตรวจอีกครั้ง 2 สัปดาห์
จากการรายกรณีศึกษาทั้ง 3 ราย ผู้ศึกษาได้นำทฤษฏีการพยาบาลของโอเรมมาประยุกต์ใช้ร่วมกับแนวคิดการประเมินแบบแผนสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอนมาเป็นแนวทางในการวางแผนการพยาบาล การพยาบาลที่สำคัญคือ การดูแลไม่ให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยงมากขึ้นผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนหลังให้ยาละลายลิ่มเลือด ผู้ป่วยสามารถฟื้นฟูสภาพร่างกายได้อย่างเหมาะสม
References
ฐาปนีย์ นํ้าเพชร. (2549). “บทบาทพยาบาลในการคัดกรองและดูแลผู้ป่วยกลุ่มอาการโรคหัวใจขาดเลือด.”ในวารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก.17 (1).ผ่องพรรณ อรุณแสง. (2551). การพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด. ขอนแก่น : โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์. (2551). การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่โดยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ.ในอภิชาตสุคนธสรรพ์และศรัณย์ควรประเสริฐ, (บรรณาธิการ). Newguidelines in coronary arterydisease.กรุงเทพฯ : ไอแอมออเกไนเซอร์แอนด์แอ๊ดเวอร์ไทซิ่ง.
วารุณี มีเจริญ. (2550). แนวทางการวางแผนการพยาบาลผู้ป่วยทางอายุรกรรม เล่ม1.สระบุรี : โรงพิมพ์ปากเพรียวการช่าง 2.
สุพจน์ ศรีมหาโชตะ (2556). Acute ST-ElevationMyocardial Infarction ใน วีรพันธ์โขวิฑูรกิจและธานินทร์อินทรกำธรชัย(บรรณาธิการ) .เวชปฎิบัติผู้ป่วยใน.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
อภิชาต สุคนธสรรพ์. (2551). Electrocardiographyfor medical student third edition.เชียงใหม่ : ไอแอมออเกไนเซอร์แอนด์แอ็ดเวอร์ไทซิ่ง.
Chowdhury, M. A. R., Hossain, A. K. M. M., Dey,S. R., Akhtaruzzaman, A. K. M., & Islam, N.- A.-F.(2008). A comparati ve study on the effect of strep tokinase between diabetic and non-diabetic myocardial infarc tion patients. Bangladesh Journal of
Diercks, D. B., Kontos, M. C., Weber, J. E., & Amsterdam, E. A. (2008). Manage ment of ST - segment Elevation myocardial infarction in EDs.The American Journal of EmergencyMedicine, 26(1), 91–100.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม