การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและดูแลผู้มีภาวะซึมเศร้าและเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย กรณีศึกษาบ้านตับเต่า ตำบลน้ำคำใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร

ผู้แต่ง

  • จินตนา พลมีศักดิ์
  • วิรัติ ปานศิลา
  • ปริญญา ผกานนท์

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วม, ผู้มีภาวะซึมเศร้า, ผู้เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย

บทคัดย่อ

                  จำนวนผู้มีภาวะซึมเศร้าและป่วยเป็นโรคซึมเศร้าในประเทศไทยมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั้งในปัจจุบันและอนาคต การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบในการเฝ้าระวังและดูแลผู้มีภาวะซึมเศร้าและเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ทำการศึกษาในพื้นที่บ้านตับเต่า ตำบลน้ำคำใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร        กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยแกนนำชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 40 คน และผู้มีภาวะซึมเศร้าและเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายจำนวน 144 คน ดำเนินการวิจัยโดยประยุกต์แนวคิดการวิจัยเชิงปฏิบัติการและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการมีส่วนร่วม ร่วมกับทฤษฎีการเสริมสร้างพลังอำนาจ การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

                ผลการวิจัย พบว่ากระบวนการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและดูแลผู้มีภาวะซึมเศร้าและเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ในครั้งนี้ มี 11 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาบริบท และการมีส่วนร่วมของชุมชน 2) ประชุมถกปัญหา 3) สำรวจปัญหา 4) คืนข้อมูลให้ชุมชนรับรู้ปัญหา 5)การอบรมเชิงปฏิบัติการการมีส่วนร่วมของชุมชน 6) มอบหมายภารกิจให้ผู้เกี่ยวข้องรับผิดชอบ 7) ชุมชนร่วมตัดสินใจ 8) ดำเนิน การตามแผนที่กำหนด 9) ตรวจสอบติดตาม 10) จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 11) ถอดบทเรียน   ทำให้ได้รูปแบบการดำเนินงานที่มีองค์ประกอบสำคัญ 6 ประการคือ ประกอบด้วย 1) ร่วมกันตระหนักถึงปัญหาในชุมชน (Together awareness) 2) มีการวางแผนร่วมกัน (Action planning) 3) มีความรับผิดชอบร่วมกัน (Built a sense of responsibility) 4) การลงมือปฏิบัติร่วมกัน (Take action) 5) การสังเกตตรวจสอบร่วมกัน (Observation) 6) ถอดบทเรียนร่วมกัน (After action review) หรือเรียกว่า TABTOA Model ซึ่งรูปแบบดังกล่าวส่งผลให้แกนนำมีความรู้และมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและดูแลผู้มีภาวะซึมเศร้าและเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายดีขึ้น ผู้มีภาวะซึมเศร้าและเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น

                 โดยสรุป ปัจจัยแห่งความสำเร็จคือพัฒนาแกนนำชุมชนให้มีศักยภาพที่เข้มแข็ง และชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานทุกขั้นตอน ประกอบกับการจัดระบบเฝ้าระวังที่ใกล้ชิดและมีประสิทธิภาพส่งผลให้การดำเนินงานครั้งนี้ประสบความสำเร็จ

References

World report on Violence and Health; World Health Organization: Geneva, Switcerland;2001.

ธรณินทร์ กองสุขและคณะ.โรคซึมเศร้าองค์ความรู้จากการทบทวนหลักฐานทางวิชาการ. อุบลราชธานี:โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์; 2550.

อภิชัย มงคลและคณะ.รายงานการประเมินผลเรื่องโครงการป้องกันและช่วยเหลือผู้มีภาวะซึมเศร้าและเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย.โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์,กรมสุขภาพจิต
กระทรวงสาธารณสุข;2546.

อภิชัย มงคลและคณะ.รายงานผลการศึกษาพฤติกรรมการทำร้ายตนเองที่ไม่เสียชีวิต พ.ศ.2548.โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์,กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข;2551.

กรมสุขภาพจิต.รายงานประจำปีกรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2553. นนทบุรี:กองแผนงาน.กรมสุขภาพจิต;2553.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร.สรุปรายงานสุขภาพจิตจังหวัดยโสธร.เอกสารการรายงานสุขภาพจิตจังหวัดยโสธร ปีงบประมาณ 2555.ยโสธร; 2555.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-13