การพัฒนารูปแบบกระบวนการบริการพยาบาลในการดูแลสุขภาพหญิงหลังคลอด โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • นภาภรณ์ เพลียสันเทียะ โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย
  • สุทธิรัตน์ บุษดี

คำสำคัญ:

คุณภาพการพยาบาล, โปรแกรมเพิ่มสมรรถนะหญิงหลังคลอด

บทคัดย่อ

                วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษากระบวนการ พัฒนารูปแบบการ ประเมินและขยายผลการบริการพยาบาลในการดูแลสุขภาพหญิงหลังคลอด

                วิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ระหว่างเดือน มกราคม – กันยายน 2557

                ผลการศึกษา : พบว่ากระบวนการบริการพยาบาลที ่ทําให้การดูแลสุขภาพหญิงหลังคลอดมีคุณภาพระดับดีมากถึงดีมากที่สุดคือ การวางแผนร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่กับหญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่มีอายุครรภ์ 36 สัปดาห์ การทํางานเป็นทีมระหว่างคลินิกฝากครรภ์ งานห็องคลอด งานหลังคลอดและงานแพทย์แผนไทย มีการดูแลต่อเนื่องควรเริ่มเมื่ออายุครรภ์ 36 สัปดาห์ ถึงหลังคลอดไม่เกิน 45 วัน และต้องมีส่วนร่วมจากหญิงหลังคลอดในการเตรียมวัสดุ อุปกรณ์รูปแบบกระบวนการบริการพยาบาลในการดูแลสุขภาพหญิงหลังคลอดที่ตอบสนองความต้องการสูงสุด และมีคุณภาพการดูแลอยู่ในระดับ    ดีมาก – ดีมากที่สุด มี 4 องค์ประกอบ คือ โปรแกรมเพิ่มสมรรถนะหญิงฃตั้งครรภ์“โรงเรียนพ่อ-แม่ class 2” โปรแกรมเพิ่มสมรรถนะหญิงหลังคลอด (การให้ข้อมูลและความรู้การบริการพยาบาลด้วยแนวคิดการแพทย์แผนปัจจุบันและแนวคิดการแพทย์แผนไทย การสร้างคุณภาพการพยาบาลในชุมชน) และนวัตกรรมที่สามารถใช้แก้ปัญหาได้

                การปฎิบัติกระบวนการบริการพยาบาลหญิงหลังคลอดเริ่มตั้งแต่อายุครรภ์ 36 สัปดาห์มาเข้าโปรแกรมเพิ่มสมรรถนะหญิงตั้งครรภ์ “โรงเรียนพ่อ-แม่ class 2” มีคุณภาพการดูแล ระดับดีมาก-ดีมากที่สุด ร้อยละ 87.5และหลังคลอดเข้าโปรแกรมเพิ่มสมรรถนะหญิงหลังคลอด (ด้านการให้ข้อมูลและความรู้ ด้านการบริการพยาบาลด้วยแนวคิดการแพทย์แผนปัจจุบัน และแนวคิดการแพทย์แผนไทย ด้านคุณภาพการพยาบาลในชุมชน) มีคุณภาพการดูแลระดับดีมาก–ดีมากที่สุด ตามลําดับ ร้อยละ 81.3, 84.4, 100 และ92.7 เกิดนวัตกรรมใหม่“ผลการทับหม้อเกลือต่อระดับมดลูกในหญิงหลังคลอดโรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย” ลดระดับมดลูกได้ ร้อยละ 77.3มีการขยายผลแก่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลเครือข่ายโดยใช้โปรแกรมเพิ่มสมรรถนะหญิงหลังคลอด “โรงเรียนพ่อ-แม่ class 2” เป็นแนวคิดการสร้างคุณภาพการพยาบาลในชุมชนและนวัตกรรมการทับหม้อเกลือ

                สรุปผล : การบริการพยาบาลในการดูแลสุขภาพหญิงหลังคลอดเป็นกระบวนการที่ต้องตอบสนองความต้องการสามารถแก้ไขปัญหา มีรูปแบบการดูแลที่ชัดเจน เชื่อมโยงการดูแลต่อเนื่อง ผู้ใช้บริการมีส่วนร่วมและผสมผสานแนวคิดการดูแลด้วยการแพทย์แผนไทยจะสามารถสร้างคุณภาพการพยาบาลเพิ่มขึ้น

References

งานบริการฝากครรภ์. ข้อมูลการฝากครรภ์ : โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม; 2557.

นงลักษณ์ กุลวรรัตต์, ประกาย เพชรบุญ.“ผลของการนวดเต้านมต่อการไหลของนํ้านมในมารดาหลังคลอด”. รายงานการวิจัย.สงขลา ; 2552.

ยุราห์ทิพย์ วงษ์ตา. “การดูแลหลังคลอดแบบบูรณาการด้วยแพทย์แผนไทยรว่ มกบัการอยู่ไฟแบบดังเดิม”. รายงานการวิจัย.โรงพยาบาลกุดชุม : ยโสธร ; 2557.

อมรรัตน์ โพธิ์คำ,บุหลัน สุขเกษม. “การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพมารดาหลังคลอดด้วยการแพทย์แผนไทย”.รายงานการวิจัย. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกุดโง้ง. ศรีสะเกษ ; 2555.

วารสารสภาการพยาบาล “ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพจิตของหญิงหลังคลอด”. รายงานการวิจัย.กรุงเทพมหานคร ; 2553, 25(1)-99

กุหลาบ แสงเพ็ง. 2553. “พฤติกรรมการบริโภคอาหารในระยะให้นมบุตรของมารดา ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตาคง”.รายงานการวิจัย. สุรินทร์

ฮามีดะ เปาะอาแซ. 2551. “พฤติกรรมการรับประทานอาหารของหญิงตั้งครรภ์และเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการรับประทานอาหารของหญิงตั้งครรภ์”.รายงานการวิจัย. ยะลา ; 2551.

ปาณฐภรณ์ บุญขวาง. “ความเชื่อเกี่ยวกับการบริโภคอาหารของหญิงตั้งครรภ์”.รายงานการวิจัย. กรุงเทมหานคร ; 2555.

ยุทธนา ทองบุญเกื้อ. “ความหลากหลาย และการใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรในวนอุทยานถํ้าเพชร–ถํ้าทอง อำเภอ ตาคลี”. รายงานการวิจัย. นครสวรรค์ ; 2551

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-15